MIT วิจัยเครื่องพิมพ์ 3 มิติขนาดเล็กกว่าเหรียญ

MIT พัฒนาเครื่องพิมพ์ 3 มิติตัวแรกของโลกที่มีขนาดเล็กกว่าเหรียญ

21.06.2024

หากลองจินตนาการว่าเราสามารถสร้างวัตถุ 3 มิติได้ภายในอุ้งมือเพียงไม่กี่วินาทีโดยใช้ชิป Photonic เพียงตัวเดียวจะเป็นเช่นไร? นักวิทยาศาสตร์จาก MIT ได้ร่วมมือกับนักวิทยาศาสตร์จาก University of Texas ที่ตั้งอยู่ ณ เมือง Austin สร้างเครื่องพิมพ์ 3 มิติต้นแบบซึ่งมีขนาดเล็กกว่าเหรียญ

mmthailand Sustainability

เครื่องพิมพ์ที่ถูกพัฒนามาจากแนวคิดของชิปที่ถูกสร้างขึ้นมานั้นมีขนาดเล็กกว่าเหรียญซึ่งได้รับประโยชน์จากการที่ไม่ต้องมีส่วนที่ขยับเคลื่อนไหวได้เลย โดยเครื่องพิมพ์ 3 มิติ ที่มีลักษณะเหมือนชิปนี้ใช้การรวมแสงเข้าไปยังเรซินและทำให้เกิดการจับตัวเมื่อสัมผัสกับช่วงความยาวคลื่นของแสงที่ปล่อยออกมาจากชิป ซึ่งอุปกรณ์ตัวนี้มีขนาดเล็กเท่าฝ่ามือและใช้การเปลี่ยนตำแหน่งรวมแสงแทนการใช้แขนและมอเตอร์แบบเครื่องพิมพ์ 3 มิติทั่วไป ซึ่งตัวต้นแบบนี้สามารถสร้างรูปร่างที่ต้องการได้แล้ว

เครื่องพิมพ์ 3 มิติจิ๋วนี้นอกจากมีพื้นฐานมาจากการออกแบบชิปแล้ว ยังประกอบไปด้วยชิป Silicon-Photonics ที่มีขนาดสัดส่วนในระดับมิลลิเมตรรูปแบบ Flat-Form-Factor แบบเดี่ยวที่ทำหน้าที่รวมแสงให้เรซินเหลวเกาะติดแแข็งตัว ซึ่งการสร้างอุปกรณ์ขนาดเล็กเหล่านี้ขึ้นมาจำเป็นต้องนำเอาการสร้างที่มีแนวคิดด้านกลไกอื่น ๆ ออกไปซึ่งรวมถึงระบบเส้นทางเลเซอร์ด้วย ดังนั้นการมาถึงของนวัตกรรมใหม่นี้จะเปลี่ยนแปลงมาตรฐานของการพิมพ์ 3 มิติ ตั้งแต่เรื่องของขนาด การติดตั้ง รูปแบบการใช้งานต่าง ๆ รวมถึงการประเมินความสำคัญของส่วนประกอบดั้งเดิมที่มีใหม่ รวมถึงผลลัพธ์และบริบทการใช้งานที่เปิดกว้างต่ออนาคตมากยิ่งขึ้น เช่น การนำเครื่องพิมพ์ 3 มิติขึ้นไปบนอวกาศสำหรับโปรแกรมศึกษาอวกาศที่มีเครื่องมือได้มากขึ้น

หากใครสนใจอ่านงานวิจัยฉบับเต็มสามารถอ่านได้ที่ Nature.com

ที่มา:
news.mit.edu

Thossathip Soonsarthorn
"Judge a man by his questions rather than his answers" Voltaire