พร้อมแล้ว! EEC หนุนแพลตฟอร์ม 4.0 เพื่ออุตสาหกรรมไทย นำโดย Mitsubishi จับมือ JETRO และพันธมิตรกว่า 58 บริษัทสร้างสรรค์แนวคิด e-F@ctory และพัฒนาคนผ่าน EEC Automation Park
วันที่ 29 กันยายน 2564
Mitsubishi Electric Factory Automation (ประเทศไทย) ร่วมกับ EEC และพันธมิตรเครือข่าย ผสานพลังความร่วมมือองค์การการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น หรือ JETRO จัดงาน EEC Connecting Thailand and Japan Collaboration Event 2021 ‘Digital Manufacturing Platform’ แถลงการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) เดินหน้าใช้ Ecosystem สนับสนุนการสร้างสรรค์โซลูชั่นโดยใช้แนวคิด e-F@ctory และการเติมเต็มความรู้ของบุคลากรผ่าน EEC Automation Park พร้อมเชื่อมโยงกลุ่ม e-F@ctory Alliance ในประเทศไทยและต่างประเทศเพื่อตอบโจทย์ในการพัฒนากระบวนการผลิตของภาคอุตสาหกรรมที่จะลดต้นทุน เพิ่มมูลค่า และเพิ่มทักษะแรงงานเพื่อนำไปสู่ Industry 4.0 อย่างเหมาะสมและคุ้มค่าต่อการลงทุน ซึ่งปัจจุบันมีพันธมิตรกว่า 58 บริษัท กระจายครอบคลุมไปในทุกๆ อุตสาหกรรม
ดร. คณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบาย เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) หรือ EEC กล่าวโดยสรุปว่า
“ความร่วมมือระหว่างประเทศไทยกับประเทศญี่ปุ่นในการผลักดันการใช้ Automation เพื่อพัฒนา Smart Factory ในไทยเป็นไปอย่างเข้มแข็ง นำโดย Mitsubishi Electric Factory Automation ที่ริเริ่มแนวคิด e-F@ctory Alliance พร้อมพันธมิตรเครือข่ายร่วมพัฒนา EEC Automation Park บนพื้นที่มหาวิทยาลัยบูรพาให้เป็นฐานหลักขับเคลื่อนการประยุกต์ใช้ Robotics & Automation
สร้างความเชี่ยมโยง Ecosystem เอื้อให้ภาคอุตสาหกรรมพัฒนาและปรับตัวไปสู่โรงงานอัจฉริยะที่ใช้นวัตกรรมนำการผลิตจนเกิด Industry 4.0 ขึ้นจริงในพื้นที่ EEC และเป็นเครื่องมือสำคัญให้ภาคอุตสาหกรรมเพิ่มประสิทธิภาพ ลดต้นทุนการผลิต และดึงดูดการลงทุนใหม่ ๆ ในอุตสาหกรรมเป้าหมาย New S-Curve อาทิ 5G, Digital, Smart Factory, Data Center, Cloud Services, Digital Platforms
คาดว่าในอีก 3 ปีข้างหน้าจะเกิดลงทุนสูงถึง 500,000 ล้านบาท เป็นการลงทุนในพื้นที่ EEC ไม่ต่ำกว่า 50,000 ล้านบาท/ปี โดยปี 2565 ตั้งเป้าหมายให้โรงงานใน EEC จัดเตรียมความพร้อมสำรวจการออกแบบระบบ และเชื่อมหาแหล่งทุนได้ไม่น้อยกว่า 200 แห่ง และตั้งเป้าภายใน 5 ปีจะสามารถปรับสู่โรงงานอัจฉริยะที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง Digital Manufacturing ไม่น้อยกว่า 10,000 โรงงาน ยกระดับภาคอุตสาหกรรมไทย เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันในตลาดโลก ยกระดับรายได้แรงงานไทย ทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้นอย่างสมดุลและยั่งยืน”
การสนับสนุนจากรัฐบาลญี่ปุ่น
ด้านนายอัทสึชิ ทาเคทานิ ประธานองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น หรือ JETRO เผยถึงความร่วมมือระหว่างภาครัฐของไทยและภาคเอกชนของญี่ปุ่นว่า
“ในส่วนของ JETRO มีการดำเนินโครงการ “JETRO Robot Automation Project” ซึ่งได้มีการจัดตั้งเว็บไซต์พิเศษเพื่อแนะนำบริษัทญี่ปุ่นที่เป็นผู้นำด้านอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติซึ่งได้นำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้คู่ไปกับการพัฒนาบุคลากร การสัมมนาออนไลน์ และการประชุมทางธุรกิจ ส่วนทางด้านความร่วมมือระหว่างรัฐบาลญี่ปุ่นและไทยได้มีการเปิดตัวโครงการ “LIPE (Lean IoT Plant management & Execution)” ตั้งแต่ปีที่แล้ว
และนอกจากนี้ก็ยังมีการสนับสนุนเกี่ยวกับภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทยผ่านทางภาครัฐและเอกชน ผ่านความร่วมมือระหว่าง JETRO และ EEC ในด้านระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ โดยมี EEC Automation Park ที่อยู่ในพื้นที่ EEC เป็นฐานความร่วมมือที่สำคัญ ซึ่ง Mitsubishi Electric เป็นบริษัทญี่ปุ่นที่มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย มีความรู้ความชำนาญและประสบการณ์ที่ยาวนานในระบบอัตโนมัติในโรงงาน ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งสำหรับอนาคตของเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศ โดยเทคโนโลยีและความรู้ของญี่ปุ่นจะเผยแพร่สู่ประเทศไทย
เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่า EEC Automation Park จะสามารถส่งเสริมและผลักดันเกี่ยวกับการปรับใช้ระบบอัตโนมัติของโรงงานและการเพิ่มผลผลิตในประเทศไทยได้เป็นอย่างดี”
สร้าง Ecosystem ผลักดัน 3 ฟันเฟืองหลัก
สำหรับ บริษัท มิตซูบิชิ อีเล็คทริค แฟคทอรี่ ออโตเมชั่น (ประเทศไทย) จำกัด นายวิเชียร งามสุขเกษมศรี กรรมการผู้จัดการ เผยว่า “บริษัทฯ ได้นำระบบสายการผลิตอัจฉริยะ หรือ e-F@ctory เข้ามาใช้ในการสนับสนุนและผลักดันการพัฒนาอุตสาหกรรม โดยใช้นวัตกรรมขั้นสูงในประเทศไทยด้วยเชื่อว่า Key Success สำหรับการยกระดับอุตสาหกรรมไทยให้เป็นอุตสาหกรรม 4.0 นั้น ประกอบด้วย 3 ฟันเฟืองหลัก ได้แก่
- Machine Automation
- Digital Engineering และ
- Human Knowledge
การได้ร่วมมือกับหน่วยงานทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน รวมถึงภาคการศึกษาทำให้เป้าหมายสำเร็จลุล่วงไปได้ระดับหนึ่งแล้วที่ EEC Automation Park และพร้อมจะต่อยอดความสำเร็จต่อไปด้วยการสร้าง Ecosystem เพื่อให้เกิดการนำเทคโนโลยีต่างๆ มาใช้จริงในภาคอุตสาหกรรมไทย และจะเป็นก้าวแรกที่มั่นคงสำหรับการนำพาอุตสาหกรรมไทยให้สามารถเข้าสู่การพัฒนา Digital Manufacturing Platform อย่างเต็มรูปแบบ เพื่อตอบสนองความเปลี่ยนแปลงในยุค Digital และยังเป็นแรงเสริมให้กับนโยบายภาครัฐ โดยเฉพาะ EEC ในการสร้างบุคลากรเพื่อรองรับ 10 S-Curve บวกอีก 2 S-Curve สำหรับประเทศไทยต่อไป”
อย่างไรก็ต้องพัฒนา “คน”
ดร. อภิชาติ ทองอยู่ ประธานคณะทำงานประสานงานด้านการพัฒนาบุคลากรในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC-HDC) กล่าวถึงการพัฒนาบุคลากรว่า “EEC-HDC ได้ดำเนินงานร่วมกับ 8 มหาวิทยาลัย 40 วิทยาลัยอาชีวศึกษาในพื้นที่ EEC และมหาวิทยาลัยนอกเขต EEC อีก 20 มหาวิทยาลัย โดยพุ่งเป้าผลิตบุคลากรด้านออโตเมชั่นตามโครงสร้างที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมอื่นๆ ได้แก่ ดิจิทัล โรโบติกส์ สมาร์ทอิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์สมัยใหม่ และโลจิสติกส์ ซึ่งเป็นที่ต้องการตามแผนการลงทุนใน EEC ใน 5 ปีนี้
โดยตลอด 2 ปีที่ผ่านมาได้ร่วมมือกับ Mitsubishi Electric และเครือข่ายพันธมิตร ร่วมกันสร้างฐานความรู้ ความเข้าใจ และทักษะในการปรับสร้างศักยภาพบุคลากรด้านนี้ขึ้น ผ่านความร่วมมือกับศูนย์ EEC Automation Park มหาวิทยาลัยบูรพา และศูนย์ปฏิบัติการเรียนด้านออโตเมชั่นในวิทยาลัยระดับอาชีวะทั้งภาครัฐและเอกชนควบคู่กันไป และดำเนินการผลิตบุคลากรไปแล้วรวมทั้งสิ้นกว่า 40,000 คน มีหลักสูตรที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาบุคลากรในการอบรมระยะสั้นที่ได้รับการขึ้นทะเบียนทั้งสิ้น 133 หลักสูตร เชื่อมโยงกับผู้ประกอบการ และกลุ่มอุตสาหกรรมต่างๆ ใน EEC มากกว่า 130 บริษัท”
นอกจากนี้ EEC Automation Park ยังมีส่วนร่วมในการพัฒนาบุคลากรให้มีทักษะด้าน Robotics, Automation ผ่านกลไกการขับเคลื่อนโดย EEC-HDC ศูนย์เครือข่าย EEC Net และการส่งเสริมให้มีการรับรองทักษะตามมาตรฐานสากล (Skill Qualification) เพื่อให้มีทักษะและผลิตภาพแรงงาน หรือ Labor Productivity สูงขึ้นด้วยมาตรฐานสากล ก่อให้เกิดรายได้เพิ่มขึ้น ซึ่งจะเป็นกุญแจสำคัญให้เกิดการลงทุนจากนักลงทุนทั่วโลก โดยตั้งเป้าอย่างน้อย 2,000 คน/ปี หรือ 15,000 คนภายใน 5 ปี
Industrial Sandbox เพื่อสร้างความร่วมมือและนวัตกรรมต้นแบบ
ด้าน ดร. ไพบูลย์ ลิ้มปิติพานิชย์ ผู้อำนวยการ EEC Automation Park กล่าวสรุปความคืบหน้าในการดำเนินโครงการในส่วนต่างๆ ว่า “EEC Automation Park เป็นศูนย์เครือข่ายความร่วมมือด้านระบบอัตโนมัติ หุ่นยนต์ และดิจิทัล เพื่อผลักดันการพัฒนาอุตสาหกรรมสู่โรงงานอัจฉริยะ (Smart Factory) และยังจะเป็นศูนย์ฝึกอบรมเพื่อพัฒนาทักษะความชำนาญให้แก่บุคลากรที่จะเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรมมากกว่า 25 หลักสูตร
รวมถึงการให้บริการข้อมูลฮาร์ดแวร์และซอฟท์แวร์ในรูปแบบ Business Matching โดยใช้ผลิตภัณฑ์จากบริษัทในกลุ่มพันธมิตรเพื่อให้เกิดการนำไปใช้พัฒนาอุตสาหกรรมได้จริง รวมถึงบริการด้านการให้คำปรึกษาการปรับปรุงการผลิตแก่ภาคอุตสาหกรรม การจัดหาแหล่งทุน และบริการพื้นที่ Industrial Sandbox เพื่อพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์ผ่านความร่วมมือกับกลุ่มพันธมิตรโครงการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ EEC โดยเฉพาะ Thailand Digital Valley ของทาง DEPA และ EECi/SMC ของทาง NECTEC เพื่อสนับสนุนกิจกรรมกับภาคอุตสาหกรรมในการทดลองก่อนผลิตเชิงพาณิชย์
โดยในวันที่ 15 พฤศจิกายน 2564 นี้ จะเปิดให้ภาคอุตสาหกรรมต่างๆ และรวมถึงประชาชนทั่วไปที่สนใจเริ่มเข้ามาเยี่ยมชมได้ โดยหวังว่า EEC Automation Park แห่งนี้จะเป็นตัวช่วยในการขับเคลื่อนประเทศไปข้างหน้าเพื่อการเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมตามนโยบายและวัตถุประสงค์ของภาครัฐ”
4.0 เกิดได้จริงด้วย e-F@ctory Alliance
สุดท้ายนี้ นายบวร เทียนสวัสดิ์ หัวหน้ากลุ่มพัฒนาโครงการและกลุ่มพันธมิตร กล่าวถึงภาพรวมในการสนับสนุนภาคอุตสาหกรรมในการปรับใช้เทคโนโลยีเพื่อปรับปรุงกระบวนการผลิตตามแนวทาง e-F@ctory และหลักการ SMKL – Smart Manufacturing Kaizen Level ผ่านความร่วมมือกับพันธมิตรทั้งในและต่างประเทศในรูปแบบ Ecosystem ว่า “Mitsubishi Electric และกลุ่ม e-F@ctory Alliance ได้ร่วมกัน เป็นที่ปรึกษาในการนำโซลูชั่นต่างๆ มาปรับใช้ให้เหมาะสมและคุ้มค่าต่อการลงทุน
ปัจจุบันมีพันธมิตรเข้าร่วมกลุ่ม e-F@ctory Alliance เพื่อพัฒนาสินค้าและโซลูชั่นกว่า 900 บริษัท มีการนำโซลูชั่นไปใช้จริงแล้วมากกว่า 140 ประเทศทั่วโลก ส่วนในประเทศไทยนั้นเราริเริ่มโครงการ e-F@ctory Alliance ในปี 2019 โดยในปัจจุบันมีพันธมิตรกว่า 58 บริษัท ครอบคลุมในทุกอุตสาหกรรม เพื่อให้สามารถตอบโจทย์ของผู้ประกอบการในความต้องการพัฒนากระบวนการผลิต ไปสู่ Industry 4.0
โดยโครงการ e-F@ctory Alliance นั้น เราได้แบ่งกลุ่มพันธมิตรออกเป็น 3 กลุ่มหลัก ได้แก่ Software Partner, Device Partner และ System Integration Partner เรามีการทำงานร่วมกัน แบ่งปันเทคโนโลยี ความรู้ และพัฒนาโซลูชั่นเพื่อนำเสนอให้กับภาคอุตสาหกรรม ทั้งนี้เรายังมีพันธมิตรส่วนเสริมอื่นๆ อีก เช่น Education Partners ทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อร่วมพัฒนาบุคลากรของผู้ประกอบการ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับความรู้ความเข้าใจในการนำเทคโนโลยีไปประยุกต์ใช้ ซึ่งเป็นหัวใจหลักตามแนวทางของ e-F@ctory + SMKL (Smart Manufacturing Kaizen Level)”
ปัจจุบัน Mitsubishi Electric ร่วมกับพันธมิตร (e-F@ctory’s alliance) ในการพัฒนาโซลูชั่นต่างๆ ซึ่งมีหลายส่วนพร้อมแล้วที่จะให้ผู้ประกอบการสามารถนำไปปรับใช้งานได้จริง ตัวอย่างเช่น 5G Remote Solution, Automated Mobile Robot (AMR), Automated Storage and Retrieval System (AS/RS) หรือ การเชื่อมต่อระบบ IT กับ OT โดยมี Cyber Security นอกจากนี้ยังมีโรงงานพันธมิตรที่พัฒนาการผลิตตามแนวทาง e-F@ctory และ SMKL (Smart Manufacturing Kaizen Level) โดยปรับใช้โซลูชั่นจากกลุ่มพันธมิตร (e-F@ctory Alliance) ในประเทศไทย อาทิ บริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) บริษัท สยามคอมเพรสเซอร์ อุตสาหกรรม จำกัด และบริษัท ยาวาต้า (ประเทศไทย) จำกัด เป็นต้น ซึ่งโรงงานพันธมิตรพร้อมที่จะต้อนรับผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมต่าง ๆ เพื่อเข้าเยี่ยมชมโรงงานและแชร์ประสบการณ์ในการนำไปปรับใช้
เกี่ยวกับ MITSUBISHI ELECTRIC FACTORY AUTOMATION
Source: MITSUBISHI