MPI เดือน ก.ย. ปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.49
MPI เดือน ก.ย. ปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.49

MPI เดือน ก.ย. ปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.49

Date Post
27.10.2021
Post Views

สศอ. เผย ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเดือนกันยายน 2564 ขยายตัวดีขึ้น อยู่ที่ระดับ 93.72 เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.49 เมื่อเทียบกันกับเดือนก่อน โดย 9 เดือนแรกขยายตัวร้อยละ 6.10 

MPI เดือน ก.ย. ปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.49

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เปิดเผยว่า สถานการณ์ภาคการผลิตอุตสาหกรรมปรับตัวดีขึ้น โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม หรือ MPI เดือนกันยายน 2564 กลับมาขยายตัวได้อีกครั้ง เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เริ่มคลี่คลาย เห็นได้จากจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ลดลง ประกอบกับการเร่งฉีดวัคซีนให้ประชาชนและแรงงานในภาคอุตสาหกรรม โดยสะท้อนได้จากดัชนีแรงงานอุตสาหกรรม และดัชนีการส่งสินค้าในเดือนกันยายน 2564 เพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะอุตสาหกรรมสำคัญที่ดัชนีแรงงานขยายตัว เช่น อุตสาหกรรมชิ้นส่วนและอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องปรับอากาศ และอุตสาหกรรมแปรรูปผักและผลไม้ เป็นต้น ส่งผลให้ภาครัฐสามารถผ่อนคลายกิจกรรมเศรษฐกิจได้มากขึ้น ประกอบกับภาครัฐยังได้ออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุน ขณะเดียวกันนโยบายการเปิดประเทศในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 นี้ เชื่อมั่นว่าจะเป็นปัจจัยหนุนสำคัญที่จะทำให้ดัชนี MPI ขยายตัวต่อไปได้ นอกจากนี้กระทรวงอุตสาหกรรมโดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม หรือ สศอ. จะมีการปรับประมาณการณ์ตัวเลขดัชนี MPI ปี 2564 ใหม่อีกครั้งในเดือนพฤศจิกายนนี้ แต่ทั้งนี้ ยังคงต้องจับตาราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น รวมถึงค่าเงินบาทที่มีความผันผวนด้วยเช่นกัน

เลือกใบเลื่อยอย่างไร? ให้เหมาะกับการใช้งานในอุตสาหกรรมของคุณ | Pacific Mercury [Super Source]

นายทองชัย ชวลิตพิเชฐ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กล่าวว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือนกันยายน อยู่ที่ระดับ 93.72 หดตัวลงเล็กน้อยร้อยละ 1.28 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน แต่เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าขยายตัวร้อยละ 7.49 โดย 9 เดือนแรกขยายตัวร้อยละ 6.10 โดยภาพรวมของอุตสาหกรรมหลักของประเทศขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง สำหรับไตรมาส 3/2564 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 90.43 จากสถานการณ์การติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ของแรงงานในสถานประกอบการมีทิศทางที่ดีขึ้น สะท้อนจากดัชนีแรงงานอุตสาหกรรมเดือนกันยายนที่ปรับตัวดีขึ้น โดยดัชนีแรงงานในอุตสาหกรรมสำคัญหลายกลุ่มยังคงขยายตัว อาทิ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ขยายตัวร้อยละ 10.85 แปรรูปผักผลไม้ขยายตัวร้อยละ 5.86 เครื่องปรับอากาศขยายตัวร้อยละ 9.76 และยางล้อขยายตัวร้อยละ 3.42  แต่

อย่างไรก็ตาม การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ยังส่งผลต่อการขาดแคลนชิปและชิ้นส่วนรถยนต์บางรายการ แต่ในเดือนกันยายนสถานการณ์เริ่มคลี่คลายในทิศทางที่ดีขึ้น โดยโรงงานผลิตรถยนต์ได้รับส่งมอบชิปและชิ้นส่วนรถยนต์ได้มากขึ้น ด้านสถาบันการเงินเริ่มผ่อนคลายความเข้มงวดในการอนุมัติ ทำให้คาดว่ายอดขายรถยนต์ในประเทศน่าจะเป็นไปตามเป้าที่ตั้งไว้ตั้งแต่ต้นปีที่ 750,000 คัน ซึ่งจะส่งผลให้การผลิตขยายตัวต่อเนื่องตามกัน ขณะที่สถานการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้นในหลายจังหวัดของประเทศ ไม่ส่งผลกระทบต่อการผลิตในภาคอุตสาหกรรมอย่างมีนัยสำคัญ แต่ทั้งนี้อาจส่งผลกระทบบ้างในด้านโลจิสติกส์ รวมถึงอุตสาหกรรมที่ต้องพึ่งพิงวัตถุดิบทางการเกษตรอาจจะได้รับผลกระทบบ้างในระยะถัดไป

สำหรับการส่งออกของไทยยังมีแนวโน้มของการขยายตัวที่ดี โดยการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมเดือนกันยายน 2564 ขยายตัวร้อยละ 15.75 มูลค่า 18,424.90 ล้านเหรียญ การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม (ไม่รวมทองคำ อาวุธ รถถังและอากาศยาน) ขยายตัวร้อยละ 17.90 มูลค่า 18,093.70 ล้านเหรียญ โดยการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมที่สำคัญ ได้แก่ เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ เคมีภัณฑ์ เม็ดพลาสติก รถยนต์อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น ในส่วนการนำเข้าสินค้าทุนขยายตัวร้อยละ 16.06 ได้แก่ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ รวมถึงการนำเข้าสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป (ไม่รวมทองคำ) ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 43.56 ได้แก่ เคมีภัณฑ์ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เป็นต้น 

อุตสาหกรรมหลักที่ดัชนีผลผลิตที่ส่งผลบวกขยายตัวในเดือนกันยายน 2564

ชิ้นส่วนและแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 13.12  ตามความต้องการชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ในตลาดโลกที่ยังขยายตัวต่อเนื่องตั้งแต่การแพร่ระบาดของโควิด-19 ทั่วโลกในปีก่อน รวมถึงสินค้าเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่ผลิตออกมามีการใช้ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์เป็นส่วนประกอบเพิ่มขึ้นมาก

เหล็กและเหล็กกล้าขั้นมูลฐาน การผลิตขยายตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 13.61 จากเหล็กแผ่นรีดเย็น เหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี และเหล็กแผ่นรีดร้อน เป็นหลัก ตามความต้องการใช้ ในอุตสาหกรรมต่อเนื่องที่ยังคงเติบโต และเป็นไปตามกลไกตลาดที่ราคาเหล็กปรับตัวสูง ลูกค้าจึงเพิ่มคำสั่งซื้อเพื่อเก็บเป็นสต๊อกมากขึ้น

เครื่องปรับอากาศ และชิ้นส่วน ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 20.24 เนื่องจากปีก่อนผู้ผลิตประสบปัญหาการขาดชิ้นส่วนเพื่อผลิตจากการระบาดของโควิด-19 ประกอบกับปีนี้ผู้ผลิตได้ปรับแผนการผลิตเพิ่มขึ้น เพื่อชดเชยการผลิตที่ลดลงมากจากการติดเชื้อภายในโรงงานในเดือนที่ผ่านมา

ผลิตภัณฑ์ยางอื่นๆ การผลิตขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.32 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน จากยางแท่งและยางแผ่นเป็นหลัก เนื่องจากความต้องการของตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะจีน และอเมริกา รวมถึงได้รับคำสั่งซื้อจากลูกค้าใหม่ในแถบยุโรป สหรัฐอเมริกาและอินเดีย เพิ่มขึ้น

บุหรี่ ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 71.29 จากการเร่งผลิตเพื่อรองรับคำสั่งซื้อจากตัวแทนจำหน่ายที่เพิ่มขึ้นมาก หลังรับข่าวการปรับโครงสร้างภาษียาสูบใหม่ที่จะบังคับใช้ตั้งแต่วันที่   1 ตุลาคม 2564

Logo-Company
Logo-Company
Logo-Company
logo-company
Nichaphan W.
การตลาดและประชาสัมพันธ์
Digitech2024