NIA จับมือ ส.อ.ท. เปิดเวทีโชว์ผลงาน 10 ดีพเทคสตาร์ทอัพ ทดสอบการใช้งานกับภาคอุตสาหกรรม ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนได้จริง พร้อมสร้างความร่วมมือต่อยอดธุรกิจ ขยายตลาดและเปิดรับเงินลงทุน
ดร. กริชผกา บุญเฟื่อง ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA กล่าวว่า “สตาร์ทอัพเทคโนโลยีเชิงลึกมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนานวัตกรรมเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศในอนาคต เนื่องจากสตาร์ทอัพไทยกลุ่มนี้มีความพร้อมและมีโอกาสเติบโตในตลาดโลก แต่ยังขาดประสบการณ์ในการเชื่อมโยงกับกลุ่มผู้ใช้งานในภาคธุรกิจและองค์กรต่างๆ รวมทั้งขาดกลยุทธ์ด้านการสร้างตลาดที่นำไปประยุกต์ใช้งานกับอุตสาหกรรม ดังนั้น สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สนช. จึงเร่งพัฒนาการเติบโตของสตาร์ทอัพเชิงลึกให้มีการใช้งานที่ตอบโจทย์ในภาคอุตสาหกรรมต่างๆ โดยร่วมมือกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ดำเนิน “โครงการส่งเสริมและเชื่อมโยงสตาร์ทอัพเทคโนโลยีเชิงลึกสู่ธุรกิจภาคอุตสาหกรรมไทย” หรือ FTI DeepTech Startup Connext เพื่อสร้างโอกาสให้สตาร์ทอัพเทคโนโลยีเชิงลึกได้รับการต่อยอดทางธุรกิจและสามารถขยายตลาดได้เพิ่มมากขึ้น ซึ่งเมื่อมีผู้ใช้งานเพิ่มมากขึ้น ก็จะสามารถสร้างความมั่นใจให้กับกลุ่มนักลงทุนและมีโอกาสได้รับเงินลงทุนขยายธุรกิจได้มากขึ้นด้วย จากการวิเคราะห์ของบอสตันคอลซัลติ้งกรุ๊ป พบว่าในปี 2565 มีการลงทุนในสตาร์ทอัพเทคโนโลยีเชิงลึกมูลค่ารวม 3,400 พันล้านบาท และเกิดการระดมทุนของแต่ละครั้งสูงถึง 33,000 ล้านบาท”
Joby Aviation โชว์ทดสอบการบินแท๊กซี่อากาศสำเร็จในนิวยอร์ก
ภก. ดร.เชิญพร เต็งอำนวย รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และประธานสถาบันนวัตกรรมเพื่ออุตสาหกรรม กล่าวเพิ่มเติมว่า “เราได้คัดเลือก 10 สตาร์ทอัพเทคโนโลยีเชิงลึกที่มีเทคโนโลยีและนวัตกรรมพร้อมใช้งานและต่อยอดกับภาคอุตสาหกรรม โดยเริ่มจากพัฒนาศักยภาพของสตาร์ทอัพ ให้สามารถปรับกลยุทธ์ด้านการสร้างตลาด การเตรียมข้อมูลเสนอลูกค้า การเจรจาต่อรอง รวมถึงเทคนิคการทดสอบการใช้งานลูกค้า เพื่อปิดการขายให้ประสบความสำเร็จ ไปพร้อมๆ กับการสร้างโอกาสให้สตาร์ทอัพได้จับคู่และทำงานจริงร่วมกับบริษัทหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิดความเข้าใจในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเชิงลึกมากขึ้น ทั้งนี้ สตาร์ทอัพเทคโนโลยีเชิงลึกที่พร้อมขยายการใช้งานกับภาคอุตสาหกรรมทั้ง 10 ทีม มีดังนี้
– ด้านระบบตรวจวิเคราะห์คุณภาพของสินค้าเกษตรด้วยความแม่นยำ ได้แก่ 1) Egg-E-Egg : เครื่องตรวจสอบและวิเคราะห์คุณภาพไข่ด้วยปัญญาประดิษฐ์
– ด้านระบบบริหารจัดการกระบวนการผลิต ได้แก่ 2) BeaRiOt : เซ็นเซอร์ตรวจสอบวิเคราะห์ขั้นสูงในเครื่องจักรและการปฏิบัติงานของกระบวนการผลิตแบบเรียลไทม์ ด้วยเทคโนโลยี Industrial Internet of Things (IIoT) 3) Fuyuutech OEE PAQ Up : ระบบชี้วัดค่าประสิทธิภาพโดยรวมของเครื่องจักร (OEE-Overall Equipment Effectiveness)
– ด้านระบบบำรุงรักษาเครื่องจักรเชิงคาดการณ์เพื่อลดความเสียหายของเครื่องจักร ได้แก่ 4) Factorium : ระบบบริหารจัดการงานซ่อมบำรุงเครื่องจักรด้วยฐานข้อมูลขนาดใหญ่ของโรงงานและเทคโนโลยี Machine Learning/AI 5) Merlinium : ระบบคาดการณ์ในด้านการบำรุงรักษาเครื่องจักรด้วยเซ็นเซอร์และปัญญาประดิษฐ์ AIoT (Predictive Maintenance from AIoT sensor) 6) Qonnect : ระบบแจ้งเตือน Breakdown ก่อนเครื่องจักรเสีย ด้วยการใช้ Machine learning และ IoT
– ด้านระบบบำบัดน้ำเสียประสิทธิภาพสูง ได้แก่ 7) BioCircuit : ระบบบำบัดน้ำเสียวงจรไฟฟ้าชีวภาพ (BioCircuit) สำหรับน้ำเสียชนิดรุนแรง 8) Dialute : ระบบบำบัดน้ำเสียประสิทธิภาพสูงและใช้ระยะเวลาสั้นด้วยกระบวนการออกซิเดชันที่กระตุ้นด้วยกระแสไฟฟ้า (Electro-activated Oxidation Processes)
– การเปลี่ยนกลิ่นเป็นดิจิทัลที่ตรวจวัดได้ ได้แก่ 9) MUI Robotics : จมูกอิเล็กทรอนิกส์แปลงกลิ่นเป็นข้อมูลนำไปใช้งานได้หลากหลาย เช่น อุตสาหกรรมอาหาร สัญญาณเตือนภัยจากกลิ่น
– การลดภาระงานบัญชีด้วยเทคโนโลยี ได้แก่ 10) ZTRUS : เทคโนโลยี AI-OCR ที่สามารถแปลงข้อมูลจากเอกสารรูปภาพ เข้าไปอยู่ในรูปแบบดิจิทัล สำหรับจัดการเอกสารทางบัญชี เพื่อลดต้นทุน
- ส.อ.ท. ผนึก IRPC ใช้นวัตกรรมยกระดับการแข่งขันภาคอุตสาหกรรม
- กรอ. – ส.อ.ท. จับมือ ภาคเอกชน ใช้ประโยชน์จากกากอุตสาหกรรม ลดปล่อย GHG
- ส.อ.ท. หวั่นปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำกระทบต้นทุนผลิต
- ส.อ.ท. เผย ยอดผลิตรถยนต์ เดือนตุลาคม 2566 มีทั้งสิ้น 158,734 คัน ลดลงร้อยละ 7.02
- ส.อ.ท. จับมือ บพข. ดันธุรกิจนวัตกรรม ยกระดับการแข่งขันภาคอุตสาหกรรม