San IE Tech
SIEMENS
no code smart factory

เร่งประสิทธิภาพงานอุตสาหกรรมด้วย No Code Programming

Date Post
11.04.2025
Post Views

เดี๋ยวนี้อะไร ๆ ก็ต้องเร็ว ต้องง่าย โรงงานอุตสาหกรรมเองก็ไม่ต่างกัน ถ้าอยากพัฒนาให้ทันสมัยแบบไม่ต้องรอทีมไอทีเป็นเดือน ๆ ซึ่ง “No-Code Programming” คือทางออก มันคือการสร้างแอปหรือระบบต่าง ๆ ได้โดยไม่ต้องเขียนโค้ดเอง เหมาะกับคนที่ไม่ใช่โปรแกรมเมอร์ แต่ต้องการปรับปรุงงานให้ดีขึ้นแบบรวดเร็ว

เราใช้ No-Code มาประยุกต์ใช้ในโรงงานอย่างไร?

  1. ดูแลการผลิตแบบเรียลไทม์ ในโรงงานอุตสาหกรรมนิยมสร้าง Dashboard หรือ Visualization board เพื่อสรุปผลอย่างง่ายและสามารถแสดงผลเป็นกราฟ โดยอาศัยการนำข้อมูลมาใช้งาน ซึ่งสามารถ มองเห็นและระบุปัญหาได้เร็ว
  2. ระบบซ่อมบำรุงเครื่องจักรเชิงทำนาย ในโรงงานอุตสาหกรรมนิยมนำ IoT มาเชื่อมต่อและวัดสุขภาพของเครื่องจักร เพื่อตรวจสอบถึงแนวโน้มของความผิดปกติที่อาจส่งผลต่อเครื่องจักร เช่น Vibration , Temperature ของ Bearing , Gas ที่เจอปนในน้ำมันหม้อแปลงเป็นต้น
  3. เช็คสินค้าคงคลังแบบไม่ต้องเดา สร้างระบบการเบิกจ่าย , วัสดุคงคลัง , หรือสามารถติดตามสถานะการซื้อของเติมคลังสินค้าได้ บางระบบสามารถเชื่อมต่อกับ ERP ซึ่งไม่ต้องทำงานเอกสารซ้ำซ้อน
  4. ควบคุมคุณภาพสินค้าให้ได้มาตรฐาน สร้างระบบแจ้งเตือนหากมีค่า parameter ที่เกี่ยวกับคุณภาพของสินค้าเกินค่ากำหนด 
  5. ลดกระดาษด้วยระบบเอกสารดิจิทัล สามารถใช้ระบบ Digital มาจัดเก็บ ซึ่งง่ายต่อการต่อยอดการนำเอา data มาประยุกต์ใช้ หรือ วิเคราะห์หาสิ่งผิดปกติ หรือสิ่งที่สามารถปรับปรุงได้

ข้อดีของ No-Code สำหรับโรงงาน

1 . ทำงานเร็วขึ้น ไม่ต้องรอทีมไอทีพัฒนาโปรแกรมให้เสียเวลา

2. ลดต้นทุน ไม่ต้องจ้างโปรแกรมเมอร์เพิ่ม

3. ยืดหยุ่น ปรับเปลี่ยนง่าย ถ้ากระบวนการเปลี่ยน ก็แก้ไขระบบเองได้

ข้อจำกัด

1. ระบบที่ซับซ้อนมาก ๆ อาจต้องเขียนโค้ดเอง ต้องยอมรับว่าบางลักษณะงาน เครื่องมือที่มีอยู่อาจไม่ครอบคลุมเพียงพอต่อลักษณะงาน ซึ่งในขั้นตอนนี้เราคงไม่สามารถหลีกหนีการเขียน Code เพื่อรองรับการใช้งานของเราได้ 

2. ต้องจัดการเรื่องความปลอดภัยให้ดี ข้อมูลสำคัญต้องมีการควบคุมสิทธิ์เข้าถึงตามชั้นความลับ ซึ่งอาจต้องขอสิทธิ์เข้าถึงหลายรอบสำหรับขั้นตอนนี้อาจเชื่อมต่อกับระบบ Authentication ที่มีอยู่ได้ไม่หมด หรือ ทำได้โดยยาก

แนะนำแพลตฟอร์ม No-Code ที่นิยมใช้

  1. Microsoft Power Apps – เชื่อม ERP ได้ดี ใช้งานกับ Microsoft ได้ง่าย
  2. Tulip – ออกแบบมาสำหรับโรงงานโดยเฉพาะ เชื่อม IoT ได้ง่าย
  3. Mendix – รองรับระบบที่ซับซ้อนและ IoT
  4. OutSystems – ขยายระบบได้ดี เหมาะกับองค์กรใหญ่
  5. AppSheet (Google) – ใช้งานง่าย เชื่อม Google Sheets ได้สะดวก

สรุป: ทำไมโรงงานควรใช้ No-Code?

ถ้าอยากทำงานเร็วขึ้น ลดต้นทุน และทำให้โรงงานเป็น Smart Factory แบบไม่ต้องเขียนโค้ดเอง No-Codeอาจเป็นทางเลือกที่ใช่ เพียงแค่เลือกแพลตฟอร์มที่เหมาะสม วางแผนให้ดี โรงงานของคุณก็พร้อมเข้าสู่ยุคดิจิทัลได้แบบง่าย ๆ แล้ว

Logo-Company
Logo-Company
Logo-Company
logo-company
Pisit Poocharoen
Former field engineer seeking to break free from traditional learning frameworks. อดีตวิศวกรภาคสนามที่ต้องการหลุดออกจากกรอบการเรียนรู้แบบเดิม ๆ
element14