สศอ. เยือน เมียนมา จัดเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ ขับเคลื่อนกลไกและเครื่องมือการใช้ประโยชน์ พร้อมส่งเสริมเครือข่ายสมรรถนะห่วงโซ่อุปทาน อุตฯ เกษตรแปรรูปภูมิภาคแม่โขง-ล้านช้าง เตรียมเดินทางเก็บข้อมูลที่ประเทศกัมพูชา ลาว เวียดนาม และจีน ต่อไป
นางวรวรรณ ชิตอรุณ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมร่วมกับสถาบันอาหาร เดินทางเยือนสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ณ เมืองมัณฑะเลย์และนครย่างกุ้ง เพื่อดำเนินกิจกรรมการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ ขับเคลื่อนกลไกและเครื่องมือการใช้ประโยชน์การจัดทำข้อเสนอโครงการความร่วมมือด้านเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เสริมสร้างสมรรถนะทรัพยากรมนุษย์ขยายเครือข่ายกับหน่วยงานด้านอุตสาหกรรมระหว่างอนุภูมิภาคแม่โขง-ล้านช้าง และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันภาคอุตสาหกรรมไทยกับต่างประเทศ
Dronamics ทดสอบ ‘Black Swan’ โดรนขนส่งระหว่างประเทศสำเร็จ | FactoryNews ep.60 / 09 Jun 2023
การเดินทางไปยังเมียนมาเพื่อเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพในครั้งนี้ ทำให้ สศอ. ได้รับทราบข้อมูลในเชิงลึกที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงทางด้านอาหารในห่วงโซ่อุปทานสาขาอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปของเมียนมา ซึ่งเป็นสมาชิกอนุภูมิภาคแม่โขง-ล้านช้าง และได้แลกเปลี่ยนความเห็นด้านนโยบายการพัฒนาอุตสาหกรรมและความต้องการในการส่งเสริมการพัฒนาองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีการแปรรูปอุตสาหกรรมสินค้าเกษตรของเมียนมา เพื่อนำไปสู่การจัดทำนโยบายอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปและการสร้างปัจจัยแวดล้อม (Ecosystem) ภายในอนุภูมิภาค
นอกจากนี้ ข้อมูลเชิงคุณภาพที่ได้รับจะนำไปประมวลผลกับข้อมูลเชิงคุณภาพของทุกประเทศสมาชิกแม่โขง-ล้านช้าง จะถูกนำไปสู่การออกแบบหลักสูตรการฝึกอบรมนานาชาติ ซึ่งเป็นกิจกรรมหลักของโครงการเสริมสร้างสมรรถนะ Capacity Building on Food Security in Agro-Processing Industry among Mekong Countries and People’s Republic of China กำหนดจะจัดในช่วงต้นปี พ.ศ. 2567 ณ ประเทศไทย เป็นการสร้างภาพลักษณ์ในการแสดงบทบาทผู้นำของภาคอุตสาหกรรมไทย และสร้างความเชื่อมั่นกับหน่วยงานแหล่งทุนต่าง ๆ ตลอดจนสร้างโอกาสในการขยายเครือข่ายและเชื่อมโยงการพัฒนาอุตสาหกรรมไทยไปสู่สากล
“เมียนมายังคงเป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ มีภูมิประเทศเหมาะสมกับการเพาะปลูกพืชผลทางการเกษตร โดยเฉพาะข้าว และพืชเมืองร้อน อาทิ ธัญพืช ถั่ว อ้อย และผลไม้ ซึ่งสามารถเพาะปลูกได้เพียงพอต่อความต้องการในการบริโภคภายในประเทศและส่งออกได้ จึงถือได้ว่ามีสถานะความมั่นคงทางด้านอาหารค่อนข้างมากในห่วงโซ่อุปทานสาขาอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป
อย่างไรก็ดี สินค้าที่ส่งออกส่วนใหญ่จะเป็นวัตถุดิบและของสด หรือมีการแปรรูปขั้นพื้นฐานและยังมีมูลค่าเพิ่มไม่มากนัก จึงจำเป็นต้องแสวงหาโอกาสในการพัฒนาด้านองค์ความรู้ เครื่องมือ และเทคโนโลยีในการแปรรูป การเก็บรักษาเพื่อยืดอายุของสินค้าและบรรจุภัณฑ์ที่มีคุณภาพรวมถึงการทำตลาดร่วมกับต่างประเทศ โดยเฉพาะกับประเทศไทย และสมาชิกประเทศลุ่มน้ำโขง-ล้านช้าง ทั้งนี้ สศอ. มีแผนการเดินทางไปเก็บข้อมูลที่ประเทศกัมพูชา ลาว เวียดนาม และจีน ต่อไป” นางวรวรรณ กล่าว
- สศอ. เผย EU เตรียมดีเดย์มาตรการภาษีคาร์บอนก่อนเข้าพรมแดน 1 ต.ค. 66 แนะผู้ประกอบการไทยปรับตัว
- สศอ. เผย สงครามรัสเซีย-ยูเครนยืดเยื้อ แนะผู้ประกอบการขยายช่องทางการตลาด
- สศอ.เตรียมชงแผนพัฒนาอุตฯ เครื่องมือแพทย์ เข้าที่ประชุม กอช.
- สศอ. เปิดอุตสาหกรรมเด่นสุดปัง ปี 2566
- สศอ. ชู แนวคิด BCG Economy ขับเคลื่อนฮับยานยนต์ไฟฟ้า