Intelligent Asia Thailand 2025

ไร้กังวล! ใช้อุปกรณ์ Automation ต่างแบรนด์ร่วมกันได้เต็มประสิทธิภาพด้วยมาตรฐาน Open Platform

Date Post
28.05.2020
Post Views

ตั้งแต่การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 3 เป็นต้นมา คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามามีบทบาทในกิจการอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่องและได้เบ่งบานเป็นการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ซึ่งเป็นการใช้ศักยภาพจากโลกดิจิทัลให้เกิดประโยชน์สูงสุด อาทิ IIoT, Big Data, Cloud หรือ AR เป็นต้น ซึ่งการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีที่มีความโดดเด่นเหล่านี้ต้องการสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมเพื่อให้สามารถแสดงศักยภาพสูงสุดได้ ซึ่งการทำงานผ่าน Open Platform ที่มีมาตรฐานจะเป็นการนำเอาจุดเด่นของแต่ละอุปกรณ์มาทำงานร่วมกันได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ โดยไม่ต้องกังวลเรื่องแบรนด์ของชิ้นส่วนที่แตกต่างกัน

แรกเริ่มเดิมทีตั้งแต่การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 3 เป็นต้นมา ผู้ผลิตอุปกรณ์และเครื่องจักรสำหรับงานอุตสาหกรรมแต่ละแบรนด์มุ่งมั่นสร้าง Ecosystem ภายใต้แบรนด์ของตัวเองเพื่อขึ้นเป็นอันดับ 1 ในสายเทคโนโลยีของตัวเอง ทำให้เกิด Platform ยิบย่อยขึ้นมากมาย เช่น การใช้งานกล้องในงานอุตสาหกรรม การควบคุมสายพานอัจฉริยะ ระบบรักษาความปลอดภัยโรงงาน ERP หรือ Digital Twins เป็นต้น ซึ่งภายใต้รายละเอียดเชิงลึกในแต่ละกลุ่มเทคโนโลยีแต่ละแบรนด์ต่างก็พบว่ามีจุดเด่นที่แตกต่างกันออกไป การพัฒนาเทคโนโลยีขึ้นภายใต้ Ecosystem ที่ถูกควบคุมหรือสภาพแวดล้อมแบบปิดทำให้สามารถควบคุมคุณภาพได้ง่ายและสามารถรีดเร้นเอาศักยภาพออกมาได้เต็มเม็ดเต็มหน่วย แต่ในขณะเดียวกันด้วยการเป็นสภาพแวดล้อมปิดนั้นทำให้ไม่อาจทำงานร่วมกับแบรนด์อื่น ๆ ได้อย่างสะดวกเท่าใดนัก ทำให้เมื่อเกิดความต้องการในการใช้งานเทคโนโลยีที่หลากหลายร่วมกันต้องใช้เวลาและต้นทุนจำนวนมากในการออกแบบระบบไปจนกระทั่งใช้งานได้จริง แต่ปัญหายังไม่ได้จบแค่นั้น ด้วยความแตกต่างของแต่ละ Platform แม้ว่าจะมีการทดสอบระบบแล้วก็ตามความเปราะบางที่เกิดจากความพยายามหาทางให้ระบบทำงานด้วยกันก็ยังทำให้เกิดความล้มเหลวได้อย่างง่ายดายเวลาใช้งานจริงอยู่ดี

Open Platform ปลดขีดจำกัดสู่ภาษาสากล

การที่แต่ละ Platform ไม่สามารถทำงานด้วยกันได้กลายเป็นข้อจำกัดที่ทำให้ผู้ผลิตต้องพิจารณาเลือกใช้ระบบที่คิดว่าสำคัญที่สุดเป็นแกนหลักและเฟ้นหาระบบที่มีความต้องการรองลงมาโดยต้องสามารถทำงานควบคู่กับความต้องการหลักได้เป็นอย่างดี ทำให้หลายครั้งการบูรณาการระบบร่วมกันเกิดขึ้นเพียงเพราะว่าสามารถทำงานร่วมกันได้ไม่ใช่เกิดขึ้นจากการที่ตัวเลือกที่ดีที่สุดมาเจอกัน ทำให้แนวคิดเรื่อง Open Platform ถือกำเนิดขึ้นมาเพื่อเป็นสะพานเชื่อมต่อให้กับความต้องการเหล่านี้

สิ่งที่ผลักดันให้เกิด Open Platform นั้นมาจากกำแพงสำคัญที่สร้างปัญหาในการบูรณาการแต่ละระบบเข้าด้วยกัน โดยสามารถจัดกลุ่มออกมา 3 ประเด็น ได้แก่

  • ภาษาการสื่อสารที่ใช้ ภาษาพื้นฐานของแต่ระ Ecosystem มีความแตกต่างกันทำให้ไม่สามารถส่งข้อมูลให้กันได้
  • มาตรฐานที่รองรับ ด้วยมาตรฐานการเชื่อมต่อและมาตรฐานด้านการใช้งานที่ต่างกันระบบจะทำการปกป้องตัวเองจากอุปกรณ์อื่น ๆ ที่มีแนวโน้มจะทำให้เกิดปัญหาใน Ecosystem ที่มีอยู่
  • คุณลักษณะข้อจำกัดทางด้านฮาร์ดแวร์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สมัยใหม่มักจะมีรายละเอียดปลีกย่อยเชิงลึกอีกมากมายให้พิจารณา โดยมีฮาร์ดแวร์เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้อง เช่น การเข้ารหัสความปลอดภัยที่ต้องการชิปเฉพาะทางในการเข้าและถอดรหัสเป็นต้น

Open Platform จึงกลายเป็นแนวคิดและเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาจากกำแพงที่ทำให้ไม่สามารถใช้อุปกรณ์ต่างแบรนด์หรือ Ecosystem ที่ต่างกันได้ โดยปลดล็อคข้อจำกัดผ่านมาตรฐานต่าง ๆ ที่มีร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นภาษาที่ใช้สื่อสาร อฟต์แวร์หรือการใช้งานไมโครชิป โดยความต้องการสำหรับ Open Platform ในปัจจุบันนั้นมีความแตกต่างจากในอดีตอยู่ไม่น้อย เนื่องจากการมาถึงของระบบเครือข่ายไร้พรมแดนอย่างอินเทอร์เน็ตทำให้เกิดมาตรฐานการเชื่อมต่อที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น ต้องรองรับการทำงานที่มีปริมาณข้อมูลมากขึ้นในขณะที่ทำการเชื่อมต่อกับฐานข้อมูลออนไลน์ อาทิ Cloud หรือการใช้งาน IIoT เป็นต้น ทำให้การเลือกใช้ Open Platform ที่ตอบสนองได้กับการทำงานระยะยาวเป็นสิ่งสำคัญ โดยสาระสำคัญสำหรับการใช้งาน Open Platform ในปัจจุบัน ได้แก่

  • เป็น Platform ที่สามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์จากแบรนด์ต่าง ๆ เข้าด้วยกันได้อย่างเสถียร
  • มีมาตรสำหรับการเชื่อมต่อที่รองรับการผลิตในยุคใหม่
  • มีอุปกรณ์ที่เข้าร่วม Open Platform ในปริมาณที่เพียงพอต่อการใช้งานในกิจการอุตสาหกรรม
  • มีความสามารถและฟังก์ชัน ในการควบคุม สื่อสารระหว่างอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้ครอบคลุมความต้องการของระบบสื่อสารสำหรับอุตสาหกรรม

ในปัจจุบันมีบริษัทที่พยายามพัฒนา Open Platform ขึ้นมาไม่น้อยแต่กลับมีจำนวนไม่มากที่ได้รับการยอมรับในระดับสากลเนื่องจากมาตรฐานที่อาจครอบคลุมได้ไม่เพียงพอต่อการใช้งานจริง รวมไปถึงการมีแบรนด์ที่เข้าร่วมการทดสอบมาตรฐานจำนวนไม่มากนัก ทำให้ตัวเลือกสำหรับ Open Platform ที่มีความน่าเชื่อถือ ซึ่ง CC-Link เป็นหนึ่งใน Open Platform ที่คนไทยและผู้ใช้งานระดับสากลมีความคุ้นเคยเป็นอย่างดี มีแบรนด์ดังระดับสากลกว่า 200 รายที่เป็นสมาชิก อาทิ Mitsubishi, ABB, Balluf, CISCO, IAI, OMRON และ METTLER TOLEDO ซึ่งยังไม่นับรวมรายย่อยอีกกว่า 3,000 ราย ทำให้ CC-Link เป็น Open Platform ที่ครอบคลุมการใช้งานในโรงงานอย่างกว้างขวาง

หลายคนอาจเคยได้ยินชื่อ CC-Link หรือ CLPA กันมาบ้างแล้วแต่อาจยังไม่แน่ใจว่าเป็น Platform สำหรับอะไร ใช้งานกับอะไร หรือทำไม Open Platform จาก CC-Link จึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการทำอุตสาหกรรมสมัยใหม่โดยมีสมาคม CLPA (CC-Link Partner Association) เป็นผู้ดูแล แล้ว CC-Link คืออะไร?

CC-Link คือ เครือข่ายเขตข้อมูลความเร็วสูงที่สามารถจัดการกับข้อมูลควบคุมและข้อมูลทั่วไปได้ในเวลาเดียวกัน ถูกออกแบบมาเพื่อการตอบสนอง Input และ Output ความเร็วสูงภายใต้สภาพแวดล้อมการทำงานของกิจการอุตสาหกรรม ลดความซับซ้อนยุ่งยากในการเดินสายเคเบิลเพื่อควบคุมการทำงานต่าง ๆ ลดต้นทุนการติดตั้งและการบำรุงรักษา สะดวกต่อการขยายระยะทางสำหรับส่งข้อมูล โดยจุดเด่นที่สำคัญที่สุด คือ ‘การทำหน้าที่ประสานงานการใช้งานอุปกรณ์ด้านอุตสาหกรรมจากหลากหลายแบรนด์เข้าด้วยกัน’ ด้วย Memory Mapped Profile ที่ช่วยให้การเปลี่ยนอุปกรณ์ระหว่างแบรนด์เกิดขึ้นได้โดยไม่ต้องเปลี่ยนการเชื่อมต่อหรือเขียนโปรแกรมตั้งค่าขึ้นมาใหม่ 

แต่เดิมนั้น CC-Link ถูกออกแบบมาให้สอดคล้องกับความต้องการใช้งานเครื่องจักรอัตโนมัติเป็นพื้นฐาน เหมาะสำหรับการใช้งานในสภาพแวดล้อมแบบปิด หรือการใช้งานเฉพาะเครือข่ายภายในโรงงานเป็นหลัก แต่ด้วยรูปแบบการทำอุตสาหกรรมในปัจจุบันที่มีการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและระบบอินเทอร์เน็ตเป็นส่วนสำคัญ CC-Link จึงได้พัฒนา CC-Link IE ขึ้นมาเพื่อตอบสนองต่อการทำงานรูปแบบใหม่นี้ด้วยการเพิ่มเทคโนโลยีที่มีพื้นฐานมาจาก Ethernet และ IT ด้วยความเร็วสูง รองรับการทำงานและประมวลผลแบบ Real-time ด้วย Time Sensitive Networking ซึ่งสามารถรองรับมาตรฐานการทำงานยุค 4.0 ที่ใช้ข้อมูลจำนวนมหาศาลได้เป็นอย่างดี

มาตรฐาน CC-Link IE เป็นมาตรฐานที่สอดคล้องกับมาตรฐานสากล อาทิ ISO, IEC, IEEE 802 และ SEMI ทุกผลิตภัณฑ์ที่ได้รับใบรับรอง (Certificate) จำเป็นต้องผ่านการทดสอบมาตรฐานอย่างละเอียดซึ่งใบรับรองนี้สามารถใช้ได้ทั่วโลก สำหรับสมาชิก CLPA จะมีการสนับสนุนในการพัฒนามาตรฐานและเทคโนโลยีสนับสนุนต่าง ๆ เช่น ไมโครชิป ซอฟต์แวร์สำหรับทดลองใช้งาน ทำให้การพัฒนาผลิตภัณฑ์เกิดขึ้นได้อย่างเป็นระบบและมีการรองรับการใช้งานในวงกว้าง ทำให้การใช้งานอุปกรณ์ภายใต้การรับรอง CC-Link สามารถวางใจได้ในการใช้งานบูรณาการร่วมกับอุปกรณ์จากแบรนด์อื่น ๆ ไม่ว่าจะแบรนด์ชั้นนำหรือแบรนด์ Startup

การใช้งาน Open Platform ที่มีมาตรฐานแบบ CC-Link นั้นมีจุดแข็งอยู่ที่ความสามารถในการบูรณาการอุปกรณ์จากหลากหลายแบรนด์เข้าด้วยกันได้อย่างมั่นใจ ไร้ปัญหาที่เกิดจากการเชื่อมต่อหรือไม่สามารถสื่อสารกันได้ซึ่งเป็นปัญหาหลักที่มักพบเจอเมื่อนำอุปกรณ์ต่างแบรนด์มาใช้งานร่วมกัน ความสามารถที่เปิดให้สามารถใช้งานได้ในรูปแบบนี้ทำให้อุตสาหกรรมทุกขนาดสามารถเข้าถึงและใช้งานเทคโนโลยีที่มีมาตรฐานกำกับได้อย่างลงตัวไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมขนาดเล็ก ขนาดกลาง หรือขนาดใหญ่ เช่นเดียวกับช่างตัดเสื้อที่ออกแบบเสื้อผ้าได้เหมาะสมและส่งเสริมบุคลิกให้กับผู้สวมใส่ สามารถเลือกลงทุนและใช้งานได้ตามความจำเป็นทั้งยังรองรับการขยายการผลิตในอนาคตได้โดยไม่จำเป็นต้องใช้ทั้งระบบใหญ่พร้อมกันในครั้งเดียว

ปลดล็อคกำแพงในการเลือกใช้งานเทคโนโลยีจากแบรนด์ชั้นนำด้วย Open Platform ที่เป็นมาตรฐานระดับสากลจาก CC-Link วันนี้ เพิ่ม Productivity ให้กับโรงงานยุคใหม่อย่างยั่งยืน พลิกโฉมการทำงานให้เป็นเรื่องง่าย สามารถติดตามข้อมูลได้อย่างแม่นยำและ Real-time โดยไม่ต้องเสียอย่างเปล่าประโยชน์อีกต่อไป

สนใจรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ CC-Link โปรดติดต่อ

Website: www.cc-link.org (th.cc-link.org)
Facebook: CC-Link Thailand
Line: @cclinkthailand

บทความที่เกี่ยวข้อง:
SME รับมือความท้าทายใหม่ด้วยการเลือกใช้ Ecosystem ที่คุ้มค่า
Logo-Company
logo-company
Thossathip Soonsarthorn
"Judge a man by his questions rather than his answers" Voltaire
Store Master - Kardex