ซอฟต์แวร์ที่มีการพัฒนาช่วยให้การทำงานนั้นง่ายขึ้น หากยังพอจำกันได้ตั้งแต่ Windows 95 มาจนถึง Windows 11 หรือ เฟซบุ๊กในช่วงแรก เปรียบเทียบกับปัจจุบัน ดังนั้น การออกซอฟต์แวร์รุ่นใหม่จึงเอาฟีดแบคของผู้ใช้งานมาพัฒนาในการออกแบบเพื่อให้สะดวกต่อผู้ใช้งานมากขึ้น
Creo เป็นซอฟต์แวร์ CAD (Computer Aided Design) จาก PTC ซึ่งมีเวอร์ชันใหม่ออกมาทุกปี ซึ่งซอฟต์แวร์เวอร์ชันล่าสุด คือ Creo 11 มาพร้อมกับเวอร์ชันอัปเดตของโซลูชัน Creo+ SaaS CAD ซึ่ง Creo มีซอฟต์แวร์ทั้งแบบติดตั้งในเครื่องคอมพิวเตอร์ และแบบบริการซอฟต์แวร์ผ่านทางคลาวด์ ซึ่งแบบหลังง่ายกว่าหากมีผู้ใช้จำนวนมาก ไม่ต้องลงทุนเครื่อง แต่ต้อง Log In ในคลาวด์แบบเดียวกับที่เราใช้ Facebook หรือ Google ซึ่งไม่ต้องลงโปรแกรมในเครื่อง สำหรับซอฟต์แวร์เวอร์ชันใหม่นี้ออกแบบมาเพื่อยกระดับผลิตภาพและนวัตกรรม ช่วยให้วิศวกรสามารถออกแบบได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
Creo 11 ช่วยให้สร้างโครงสร้างตาข่ายดีขึ้น และการทำงานอย่างการกัดแบบหมุน 4 แกน และการกลึงพื้นผิวราบรื่นยิ่งขึ้น
(ที่มา: PTC)
จากข้อมูลของ PTC ซอฟต์แวร์เวอร์ชัน Creo 11 มีการเพิ่มประสิทธิภาพให้การใช้งานนั้นง่ายขึ้นในด้านต่าง ๆ ได้แก่
- การออกแบบวงจรไฟฟ้าในผลิตภัณฑ์ (Electrification)
- วัสดุคอมโพสิต (Composites)
- การบันทึกข้อมูลในแบบจำลอง 3 มิติ (Model-based definition หรือ MBD)
- การออกแบบที่ขับเคลื่อนด้วยการจำลอง (Simulation-Driven Design)
- การผลิต (Manufacturing)
Brian Thompson, General Manager ของ Creo บริษัท PTC เน้นย้ำว่าวิศวกรออกแบบมีการอัปเกรดอยู่เสมอ เช่น การใช้ Generative Design ที่ขับเคลื่อนด้วย AI และการใช้ซอฟแวร์จำลอง Ansys* ที่ฝังอยู่ใน Creo ทำให้ลดเวลาในการนำผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาด ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพมากขึ้น และต้นทุนการผลิตลดลง
* Ansys คือ โปรแกรมจำลองทางวิศวกรรม สำหรับดูแรงทางฟิสิกส์ต่าง ๆ รวมถึงการไหลและอุณหภูมิ เป็นการดูประสิทธิภาพของชิ้นงาน เพื่อปรับเปลี่ยนแบบหรือหลีกเลี่ยงการทดลองจากชิ้นงานจริงซึ่งต้นทุนค่อนข้างแพง
วิดีโอ การจำลอง Creo Ansys
ชุดอัปเกรด Creo 11 เน้นในเรื่องของการใช้งานและประสิทธิภาพการทำงาน รวมถึงรองรับแนวคิดแบบ Multibody อย่างเช่น การปรับปรุงประสิทธิภาพการออกแบบชิ้นส่วน (การออกแบบชิ้นส่วนหลายชิ้นแล้วนำมาประกอบกันเป็นชิ้นใหญ่ โดยเน้นการประหยัดต้นทุนการผลิต) Shrinkwrap ฟีเจอร์จัดการชุดประกอบให้ง่ายขึ้น (ความสามารถในการเลือกชิ้นส่วนให้รวมกันเป็นชิ้นเดียวเพื่อเคลื่อนย้ายไปมาได้สะดวก) และฟีเจอร์การวัดปริมาตรที่อัปเกรดสำหรับโซลูชันบรรจุภัณฑ์ที่ดีที่สุด (ซอฟต์แวร์จะบอกขนาดบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมที่สุดสำหรับใส่ชิ้นงานได้) นอกจากนี้ ซอฟต์แวร์ยังจัดการความสามารถในการใช้พลังงานไฟฟ้า เช่น เครื่องมือเคเบิ้ลขั้นสูงและการทำงานร่วมกันของ ECAD-MCAD (Electrical CAD และ Mechanical CAD) ให้การใช้พลังงานไฟฟ้าในอุตสาหกรรมต่าง ๆ เป็นไปในทิศทางเดียวกันมากขึ้น
คลิปวิดีโอเปิดตัว Creo 11
ซอฟต์แวร์ยังแสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าในการออกแบบและการผลิตวัสดุคอมโพสิต ด้วยเครื่องมือกำหนดรูปแบบตามแบบจำลองที่แข็งแกร่งยิ่งขึ้น และความสามารถในการออกแบบที่ขับเคลื่อนด้วยการจำลองใหม่ ๆ ที่ช่วยในการออกแบบแนวคิด คำแนะนำ และการตรวจสอบความถูกต้องของการออกแบบ นอกจากนี้ ฟังก์ชัน Generative Design ยังมีการปรับปรุงฟีเจอร์ใหม่ ๆ เช่น การกำหนดขนาดคุณสมบัติขั้นต่ำเพื่อไม่ให้บางเกินไปจนยากต่อการผลิตหรือเป็นจุดอ่อนที่แตกหักได้ง่าย การรองรับน้ำหนักของแบริ่ง (Bearing Load) และข้อจำกัดสำหรับสมมาตรระนาบ (Planar Symmetry)
วิดีโอ การจำลอง Bearling Load
Creo 11 ยังปรับปรุงเครื่องมือการผลิต โดยปรับกระบวนการแบบเติมวัสดุ (Additive) และแบบหักล้าง (Subtractive) ให้เหมาะสม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความสามารถในการผลิต สิ่งที่ได้รับปรับปรุงอย่างเด่นชัด ได้แก่ การสร้างโครงสร้างตาข่ายและการทำงานที่ราบรื่นขึ้น เช่น การกัดแบบหมุนรอบ 4 แกน และการกลึงพื้นผิว
PTC ยังได้เปิดตัว Creo+ เวอร์ชันล่าสุดควบคู่ไปกับ Creo 11 ซึ่งเป็นการทำงานร่วมกันบนคลาวด์ และเข้าถึงเทคโนโลยีหลักแบบเดียวกันกับเวอร์ชันที่ติดตั้งในเครื่อง ไม่จำเป็นต้องแปลข้อมูล ช่วยให้มั่นใจได้ว่าจะสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างสมบูรณ์ อีกทั้งยังยกระดับประสบการณ์ของผู้ใช้จากประโยชน์ของระบบคลาวด์ได้อีกด้วย
บทความเกี่ยวกับ On Cloud และ On-Premises
Cloud vs On-Premises แบบไหนคุ้มกว่า? (ที่มา: monsterconnect.co.th)
https://monsterconnect.co.th/cloud-vs-on-premises/
บทความอ้างอิง: https://www.etmm-online.com/