รู้จักศัตรูตัวร้ายสำหรับอุปกรณ์ดิจิทัลในโรงงานอุตสาหกรรม

Date Post
25.05.2020
Post Views

เทคโนโลยีดิจิทัลกลายเป็นหัวใจหลักของโลกสมัยใหม่ ซึ่งจะเห็นได้ชัดยิ่งขึ้นในสถานการณ์วิกฤตอย่าง COVID-19 ที่เกิดขึ้น ธุรกิจต่าง ๆ ถูกดำเนินการผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ การทำงานในโรงงานก็อาศัยระบบดิจิทัลในการทำงานมากขึ้นและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทำให้การดูแลรักษา และป้องกันความปลอดภัยสำหรับเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องเป็นสิ่งจำเป็น

การใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัลสำหรับสถานการณ์โลกปัจจุบันเป็นสิ่งที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ โดยเฉพาะท่ามกลางคลื่นความเปลี่ยนแปลงในปัจจุบันที่โลกดิจิทัลแทบจะกลายเป็นสถานที่ทำงานหลักของธุรกิจหลากหลายกลุ่ม และสำหรับภาคอุตสาหกรรมเองก็ถูกกระแสของการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ถาโถมเข้ามาก่อให้เกิด Disruption ในทุกมิติ ไม่ว่าจะด้านต้นทุน แรงงาน การปฏิบัติการณ์ โลจิสติกส์ การตลาด ไปจนถึงการสื่อสารกับผู้บริโภค ทำให้อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีดิจิทัลมีการใช้งานเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วไม่ว่าจะเป็นเครื่องเซิร์ฟเวอร์ คอมพิวเตอร์ หน่วยความจำต่าง ๆ แต่ในขณะที่มีการใช้งานเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาลแต่กลับมีคนที่เข้าใจในการดูแลรักษาอุปกรณ์เหล่านี้อยู่น้อยมาก ส่งผลให้การใช้งานอุปกรณ์มีอายุสั้น ไม่สามารถใช้ศักยภาพได้อย่างเต็มที่ ส่งผลกระทบต่อต้นทุน Productivity และภาพรวมของธุรกิจ

สำหรับสภาพแวดล้อมของกิจกรรมอุตสาหกรรม การใช้งานอุปกรณ์ดิจิทัลหรือเทคโนโลยีต่าง ๆ นั้นต้องการเทคโนโลยีที่มีศักยภาพสูง สามารถทำงานได้อย่างแม่นยำและต่อเนื่อง รวมถึงทนทานต่อลักษณะเฉพาะของพื้นที่ในโรงงานได้เป็นอย่างดี แต่ไม่ว่าจะถูกออกแบบมาให้รองรับมาตรฐานใด ๆ ก็ตามหากไม่ได้รับการดูแลและจัดการอย่างเหมาะสมก็ส่งผลให้เกิดความเสียหายได้ ลองจินตนาการถึงการผลิตที่ใช้เครื่องจักรอัตโนมัติสื่อสารกันผ่านเครือข่ายภายในโรงงงาน มีการตรวจสอบการทำงาน ส่งต่อข้อมูลกันระหว่างฐานการผลิตตลอดเวลา รวมถึงการส่งต่อเอกสารเพื่ออนุมัติยืนยันต่าง ๆ จะเกิดอะไรขึ้นหากเซิร์ฟเวอร์เกิดความเสียหายหรือทำงานผิดปรกติ? กิจกรรมทั้งหมดจะตกอยู่ในความโกลาหล เมื่อเครื่องจักรไม่สามารถส่งต่อข้อมูลให้แก่กันได้จำเป็นต้องป้อนค่าด้วยมือทั้งหมดในแต่ละชุดการผลิต ทำให้เกิดความล่าช้า หรือกรณีที่เลวร้ายที่สุด คือ การหยุดสายการผลิตเพราะไม่มีใครสามารถทำงานผ่านเครือข่ายได้ ดังนั้นเรามาทำความรู้จักกับศัตรูที่สร้างความเสี่ยงให้กับอุปกรณ์ดิจิทัลเหล่านี้กันเถอะครับ

อุณหภูมิที่ไม่เหมาะสม

เรื่องของอุณหภูมินั้นเป็นเรื่องอ่อนไหวสำหรับอุปกรณ์ดิจิทัลอย่างมาก โดยเฉพาะเครื่องไม้เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์ Data Center หรืออุปกรณ์ประมวลผลต่าง ๆ เราอาจจะเห็นว่าเครื่อง CNC ทำงานในพื้นที่ที่ร้อนอบอ้าวได้แต่นั่นเป็นเพราะมันถูกออกแบบมาเป็นพิเศษเพื่อให้รับมือกับสภาพแวดล้อมที่สุดแสนทรหดของโรงงาน แต่กับอุปกรณ์เครือข่าย อุปกรณ์เซิร์ฟเวอร์ สิ่งเหล่านี้ถูกออกแบบมาเพื่อทำงานที่แตกต่างออกไปจึงไม่สามารถทนทานต่ออุณหภูมิที่สูงอย่างเมืองไทยได้ 

อุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับการใช้งานอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หรือเครื่องไม้เครื่องมือดิจิทัลโดยทั่วไปจะอยู่ระหว่าง 18 – 27 องศาเซลเซียส แต่ถ้าจะให้ดีสำหรับ Data Center ต่าง ๆ ควรจะมีอุณหภูมิไม่เกิน 25 องศาเซลเซียส เราอาจจะรู้กันดีอยู่แล้วว่าถ้าอุณหภูมิสูงเกินไปอุปกรณ์เหล่านี้สามารถลัดวงจร หรือเกิดความเสียหายได้ และลดอายุการใช้งานของอุปกรณ์ ดังนั้นเมื่อมีการใช้งานอุปกรณ์เหล่านี้อุณภูมิในพื้นที่ควรจะต้องอยู่ในช่วงที่เหมาะสมเพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัยนั่นเอง

การระบายอากาศที่ไร้ประสิทธิภาพ

ปัจจุบันอุปกรณ์ดิจิทัล ทั้งอุปกรณ์เครือข่าย อุปกรณ์เซิร์ฟเวอร์ รวมถึงอุปกรณ์ไอทีอื่น ๆ มีขนาดที่เล็กลง แต่มีประสิทธิภาพที่สูงขึ้น มีการใช้พลังงานที่สูงขึ้น ภายในตู้จัดเก็บอุปกรณ์จึงเกิดความร้อนสะสมได้ง่ายขึ้น การติดตั้งเพียงแค่พัดลมดูดอากาศจึงไม่สามารถระบายอากาศได้เพียงพอ การติดตั้งระบบปรับอากาศให้กับอุปกรณ์จึงเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด ในการระบายความร้อนออกจากตัวอุปกรณ์ 

ฝุ่นผงสะสม

หลายคนอาจคิดว่าฝุ่นเป็นเรื่องขี้ผง ๆ ก็คงไม่ผิดไปจากที่คิดสักเท่าใดนัก แต่มันเป็นเรื่องของขี้ผงเหล่านั้นที่สามารถสร้างความน่าเหนื่อยหน่ายใจในการใช้งานได้ แม้ว่าเครื่องไม้เครื่องมือสำหรับดิจิทัลจะไม่ค่อยได้รับผลกระทบจากฝุ่นผงโดยตรงสักเท่าไหร่ แต่หากมีการสะสมกันของฝุ่นเกิดขึ้นเมื่อนั้นปัญหาจะตามมา

ฝุ่นสะสมนั้นสามารถลดทอนความสามารถในการระบายอากาศได้ รวมถึงทำให้พัดลมระบายอากาศทำงานได้ช้าลงอย่างเห็นได้ชัด และไม่เพียงแต่เป็นปัญหาเกี่ยวกับการระบายอากาศเท่านั้นฝุ่นผงปริมาณมากยังเพิ่มปริมาณสะสมของความร้อนได้อีกด้วยแม้ไม่ได้บดบังทางระบายอากาศก็ตามที ในบางกรณีฝุ่นผงก็สามารถจับตัวกับความชื้นและทำให้เกิดการลัดวงจรได้อีกเช่นกัน

ความชื้นในอากาศ

อีกหนึ่งศัตรูสำคัญสำหรับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หรือเครื่องมือดิจิทัล คือ ความชื้น อย่างที่รู้กันดีว่าอุปกรณ์ดิจิทัลนั้นไม่ถูกกับน้ำหรือความชื้นเท่าไหร่เนื่องจากน้ำหรือความชื้นสามารถทำให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจรได้ ลดอายุการใช้งานของอุปกรณ์ลง การที่มีความชื้นในสภาพแวดล้อมสูงมากทำให้เกิดการกลั่นตัวเป็นน้ำได้ นอกจากนี้ความชื้นนั้นยังก่อให้เกิดการกัดกร่อนบนแผงวงจรต่าง ๆ ได้อีกด้วย สำหรับพื้นที่ซึ่งมีการใช้งานอุปกรณ์ดิจิทัลที่ไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้อย่างเซิฟเวอร์ควรจะมีค่าความชื้นอยู่ระหว่าง 40 – 60% rH 

การจัดเรียงสายเคเบิลและสายไฟฟ้าที่ไร้ระเบียบ

องค์กรและโรงงานปัจจุบันทำงานภายใต้การเชื่อมต่อที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ไม่ว่าจะเป็นการแชร์ไฟล์ระหว่างแผนกย่อย การคุยกันระหว่างเครื่องจักร การประชุม การจัดทำเอกสารต่าง ๆ โดยการเชื่อมต่อที่แน่นอนที่สุดหนีไม่พ้นการใช้สายข้อมูล เช่น Lan หรือ Ethernet ซึ่งการส่งข้อมูลต่าง ๆ คือ การส่งข้อมูลสัญญาณไฟฟ้าทั้งสิ้น และข้อมูลทั้งหมดเหล่านี้ก็ต้องถูกเชื่อมต่อเข้ากับระบบที่เป็นสะพานเชื่อมต่อแหล่งข้อมูลเข้าด้วยกัน ซึ่งตัว Hub, Switch, Firewall หรือเซิร์ฟเวอร์ ที่ใช้ต่าง ๆ ต้องมีการเดินสายไฟและสายข้อมูลจำนวนมาก ซึ่งสายเหล่านี้หากไม่ได้รับการจัดเรียงให้ดีนอกจากจะทำให้ยากต่อการซ่อมบำรุงแล้วยังเป็นที่สะสมของฝุ่น ในกรณีที่เลวร้ายที่สุดไม่ใช่การเดินเตะสายหลุดแต่เป็นการเก็บสายที่พับงอและมัดรวมกันซึ่งนอกจากจะเกิดความร้อนสะสมแล้วอายุการใช้งานก็ยังสั้นลง ทั้งยังส่งผลต่อคุณภาพในการส่งข้อมูลอีกด้วย

คลื่นแม่เหล็ก

การทำงานในพื้นที่โรงงานต้องเผชิญกับเครื่องจักรมากมาย รวมทั้งคลื่นแม่เหล็กที่เกิดจากการใช้งานอุปกรณ์ต่าง ๆ ซึ่งแม่เหล็กนั้นสามารถก่อนกวนการทำงานของเครื่องมือดิจิทัลหรือชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ได้ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด คือ การใช้งานเครือข่ายสัญญาณไร้สาย เช่น Wifi หรือ 4G ที่มีคุณภาพสัญญาณลดลงซึ่งเป็นผลมาจากการดูดซับสัญญาณของวัตถุและคลื่นแม่เหล็กโดยรอบ

ผู้เกี่ยวข้องที่ขาดความรู้

สิ่งที่อันตรายที่สุดสำหรับเทคโนโลยีหรืออุปกรณ์ดิจิทัล คือ ผู้ใช้ที่ขาดความรู้ เรามักจะพบว่าคนไทยจำนวนไม่น้อยที่ขาดความรู้เรื่องการใช้งานและดูแลอุปกรณ์ดิจิทัลอย่างถูกต้อง หลายครั้งจะเป็นการดำเนินการตามความเชื่อส่วนบุคคล ความสะดวก หรือคำแนะนำจากผู้ที่เชื่อใจเสียมากกว่า เช่น การจัดวางตำแหน่งต่าง ๆ ตามหลักไสยศาสตร์โดยไม่คำนึงถึงข้อควรระวังและการใช้งานจริง ผลลัพธ์ที่ออกมาจึงหนีไม่พ้นความสูญเสียหรือความเสียหายที่เกิดขึ้นกับอุปกรณ์หรือธุรกิจ

การดูแลรักษาระบบอิเล็กทรอนิกส์หรืออุปกรณ์ดิจิทัลสำหรับโรงงาน เช่น Data Center ตู้เครือข่าย หรือตู้เซิร์ฟเวอร์ อาจดูเหมือนเรื่องง่าย ๆ แต่ที่จริงแล้วกลับมีรายละเอียดที่ต้องระวังอยู่มากมาย ยิ่งในยุคปัจจุบันที่เทคโนโลยีดิจิทัลเป็นเสมือนหัวใจหลักในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ด้วยแล้วจำเป็นจะต้องมีการดูแลที่ถูกต้องเหมาะสม อาทิ ตู้จัดเก็บอุปกรณ์ไอที (Rack) ที่ถูกออกแบบมาให้สามารถจัดเก็บเซิร์ฟเวอร์หรืออุปกรณ์เครือข่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีการจัดการกับการระบายความร้อนที่ดี สามารถเข้าถึง มีการแจ้งเตือนสภาวะการทำงานต่าง ๆ และสามารถซ่อมบำรุงได้ง่าย

หากการดูแล รักษา จัดเก็บอุปกรณ์เหล่านี้ดูเป็นเรื่องยุ่งยาก วุ่นวาย และไม่ใกล้เคียงกับความถนัดของคนในองค์กรการว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญมาดำเนินการถือเป็นสิ่งที่คุ้มค่าไม่ว่าจะในมิติใดก็ตาม ในปัจจุบันมีผู้จัดจำหน่ายและให้บริการที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีดิจิทัลมากมายหลากหลาย แต่มีไม่กี่บริษัทเท่านั้นที่มีศักยภาพในฐานะผู้ออกแบบ ผู้ผลิต และผู้ให้บริการ ซึ่ง Rittal ถือเป็นหนึ่งในแบรนด์สากลที่มีความครบเครื่องในด้านนี้ ไม่ว่าจะเป็น ตู้ควบคุม ตู้จัดเก็บอุปกรณ์ไอที (Rack) ระบบปรับอากาศสำหรับห้อง Data Center Cooling อุปกรณ์จ่ายพลังงาน ซอฟต์แวร์ อุปกรณ์ควบคุมสภาพแวดล้อม (Monitoring System) การบริการ และโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ของเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT Infrastructure) เรียกว่าครบเครื่องด้านระบบ IT ที่ต้องการ และสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมที่ทุกวินาทีมีให้เลือกเพียงกำไรและการขาดทุน การเลือกใช้บริการจากผู้จัดจำหน่ายที่มีความเชี่ยวชาญและสามารถตอบสนองความต้องการด้านโครงสร้างพื้นฐานของโลกดิจิทัลอย่าง Rittal จะสามารถสร้างความยั่งยืนให้กับทั้งกระบวนการทำงานและภาพรวมของธุรกิจได้เป็นอย่างดี 

สอบถามสินค้าและบริการจาก Rittal ติดต่อ: คุณสุภัคชญา
โทรศัพท์: 084-7000-160
Website: www.rittal.co.th

Logo-Company
logo-company
Thossathip Soonsarthorn
"Judge a man by his questions rather than his answers" Voltaire