Kosmo

หุ่นยนต์ยุคใหม่กับศักยภาพด้านสังคมที่ช่วยตอบสนองภาระหน้าที่ได้ดียิ่งขึ้น

Date Post
29.11.2021
Post Views

นักวิจัยจาก MIT พัฒนา Framework สำหรับการควบคุมที่ทำให้หุ่นยนต์นั้นสามารถเข้าใจได้ว่าตัวเองจะช่วย หรือสนับสนุนผู้อื่นด้วยการใช้ทักษะการเข้าสังคมได้อย่างไรเพื่อให้บรรลุความสำเร็จในเป้าหมายที่ตั้งเอาไว้ของตัวเอง

เราอาจจะเห็นหุ่นยนต์ส่งของกันมากขึ้นในทุกวันนี้ และหุ่นยนต์ยังทำอะไรได้อีกมากมาย แต่ไม่ว่าหุ่นยนต์จะยอดเยี่ยมแค่ไหนแต่ก็ไม่สามารถมีส่วนร่วมหรือแสดงออกในด้านสังคมระดับพื้นฐานซึ่งเป็นสิ่งสำคัญของชีวิตมนุษย์ได้

นักวิจัยจาก MIT จึงได้ออกแบบ Framework เพื่อให้หุ่นยนต์ใช้ความสามารถในการเข้าสังคมสนับสนุนการทำงานของตัวเองร่วมกับหุ่นยนต์หรือสิ่งอื่นเพื่อบรรลุเป้าหมายหน้าที่ของตัวเอง โดยจำลองสภาพแวดล้อม หุ่นยนต์จะเฝ้ามองเพื่อนร่วมทีมและคาดเดาว่าตัวเองจะต้องทำหน้าที่อะไรจากนั้นจะช่วยกันกับหุ่นยนต์ตัวอื่นเพื่อบรรลุเป้าประสงค์ของตัวเอง

โมเดลที่เกิดขึ้นนั้นทำให้เห็นว่าสามารถคาดการณ์ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมล่วงหน้าได้อย่างสมจริง เมื่อมีการแสดงวิดีโอการที่หุ่นยนต์ปฏิสัมพันธ์กันเองให้มนุษย์ดู มนุษย์ที่ดูนั้นส่วนมากจะเห็นด้วยกับโมเดลว่าการตอบสนองที่เกิดขึ้นสมเหตุสมผล

ทักษะเหล่านี้ทางสังคมของหุ่นยนต์จะนำไปสู่การปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และหุ่นยนต์ที่ราบรื่นทั้งยังเป็นไปในเชิงบวกมากยิ่งขึ้น เช่น การใช้หุ่นยนต์เหล่านี้ในการสนับสนุนภายใต้พื้นที่อยู่อาศัยจะทำให้เกิดสภาพแวดล้อมที่มีความปลอดภัยและใส่ใจมากยิ่งขึ้นสำหรับผู้สูงอายุแต่ละคน โมเดลรูปแบบใหม่นี้ยังช่วยให้นักวิทยาศาสตร์สามารถตรวจวัดปฏิกริยาทางสังคมในเชิงปริมาณได้ ซึ่งจะช่วยให้นักจิตวิทยาเรียนรู้เกี่ยวกับภาวะออทิสติกหรือวิเคราะห์ผลกระทบของยากล่อมประสาทได้

เพื่อการศึกษาการปฏิสัมพันธ์กันทางสังคม นักวิจัยได้จำลองสภาพแวดล้อมที่หุ่นยนต์สามารถไล่ตามเป้าทางกายภาพและทางสังคมได้โดยการเคลื่อนที่ไปตามกริดแบบ 2 มิติ โดยเป้าทางกายภาพจะเกี่ยวข้องกับสิ่งที่อยู่ในสภาพแวดล้อม เช่น การเคลื่อนที่ไปยังตำแหน่งของต้นไม้ที่อยู่บนกริด ในขณะที่เป้าหมายทางสังคมก็ต้องคาดการณ์ว่าหุ่นยนต์ตัวอื่นทำอะไรและดำเนินการจากการคาดการณ์เหล่านั้น เช่น ช่วยหุ่นยนต์ตัวอื่นรดน้ำต้นไม้เป็นต้น

โมเดลที่นักวิจัยใช้นั้นจะช่วยระบุว่าเป้าหมายทางกายภาพของหุ่นยนต์คืออะไร และเป้าหมายทางสังคมคืออะไร และจะต้องช่วยกันมากแค่ไหนอย่างไร โดยหุ่นยนต์จะได้รางวัลสำหรับการปฏิบัติที่เข้ากับความสำเร็จของเป้าหมาย หากหุ่นยนต์พยายามจะช่วยเพื่อน รางวัลจะถูกปรับระดับให้เท่ากับหุ่นยนต์ตัวอื่น แต่หากเลือกที่จะขัดขวางรางวัลจะเป็นอะไรที่ตรงกันข้าม

การผสมผสานเป้าหมายทางกายภาพและสังคมของหุ่นยต์ให้กลมกลืนกันนั้นเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้เกิดการปฏิสัมพันธ์ที่สมจริง เพราะมนุษย์ที่จะช่วยผู้อื่นนั้นก็มีขอบเขตจำกัดว่าจะช่วยมากเท่าไหร่เช่นกัน

ที่มา:
News.mit.edu

เนื้อหาที่น่าสนใจ:
ถอดความสำเร็จผู้ผลิตทั่วโลกในการใช้หุ่นยนต์กับ KUKA!
Logo-Company
Logo-Company
Logo-Company
logo-company
Thossathip Soonsarthorn
"Judge a man by his questions rather than his answers" Voltaire
Automation Expo