Kosmo
Robotics Palletizing

Robotics Palletizing ตัวช่วยในระบบการผลิตและผลกำไรของบริษัท

Date Post
26.04.2024
Post Views

Robot Palletizing เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่เติบโตอย่างรวดเร็วในสายงานระบบอัตโนมัติซึ่งมีส่วนช่วยในการเพิ่มขีดความสามารถในการผลิตและช่วยลดรายจ่ายของพนักงาน

Palletizing คืออะไร? 

Palletizing คือกระบวนการในการหยิบจับ หรือ ขนส่งสินค้า Packaging จากสถานที่ใดสถานที่หนึ่งไปสู่อีกสถานที่หนึ่ง หรือ สามารถจับซ้อนสินค้า Packaging เป็นชั้น ๆ บน Pallet ได้ ซึ่งโดยปกติแล้วจะเป็นขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการผลิตในโรงงานก่อนที่จะขนส่งสินค้าไปยังผู้บริโภค ซึ่ง ณ ปัจจุบันเราสามารถประยุกต์ใช้หุ่นยนต์ในการทำงานได้อย่างเป็นอัตโนมัติ

อุตสาหกรรมที่เหมาะสมในการใช้งาน Robotics Palletizing 

การประยุกต์ใช้งานมีหลากหลายแต่ที่นิยมนำ Robotics Palletizing มาใช้ส่วนใหญ่จะอยู่ในอุตสาหกรรม ดังนี้ 

  • อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม
  • อุตสาหกรรมปิโตรเคมี
  • อุตสาหกรรมยา
  • อุตสาหกรรมค้าปลีก 
  • ระบบคลังจัดเก็บสินค้าและขนส่ง

โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากสินค้ามีจำนวนมากและเคลื่อนย้ายบ่อย การประยุกต์ใช้งาน Robotics Palletizing สามารถช่วยลดภาระงานของพนักงานในการนำสินค้าเข้าสู่บรรจุภัณฑ์และจัดเรียงสินค้าบน Pallet ได้ และยังสามารถทำงานได้ตลอด 24 ชั่วโมง

ประเภทของระบบ Robotic Palletizer

Robotic Palletizer แบ่งเป็น 4 ประเภทหลัก ๆ ด้วยกัน คือ

1. Cartesian

Cartesian Robot เป็นหุ่นยนต์ที่พบเห็นได้ทั่วไปและมีความเรียบง่าย ไม่ซับซ้อน ลักษณะการทำงานจะเคลื่อนที่เป็นเส้นตรงตามแนวแกนทั้ง 3 คือ ขึ้น ลง ซ้าย ขวา มีข้อเสีย คือ ต้องใช้พื้นที่ในการติดตั้งมาก และไม่สามารถใช้กับงานที่มีความละเอียดอ่อนได้

Cartesian

2. SCARA

SCARA หรือ Selective Compliant Articulated Robot Arm เป็นหุ่นยนต์จัดเรียงสินค้าที่ใช้งานทั่วไปในสายการผลิต มีขนาดเล็ก มีความเร็วและความแม่นยำสูงกว่า Cartesian Robot เหมาะสำหรับงานที่ใช้ความละเอียดอ่อนสูง หรือสายการผลิตตั้งแต่ 1-3 ไลน์ ที่อัตราเร็วในการจัดวางสินค้า 20 ครั้งต่อนาที ลักษณะการทำงานของ SCARA Robot จะเคลื่อนที่ด้วยการหมุนแขนหุ่นยนต์ไปมารอบแกนหมุน และมีข้อเสีย คือ ระยะการทำงานที่ค่อนข้างจำกัด

SCARA

3. Articulated

Articulated Robot เป็นหุ่นยนต์ที่ออกแบบมาเพื่อเลียนแบบการเคลื่อนไหวของแขนมนุษย์ มีการหมุนหลายจุด ทำให้สามารถเคลื่อนที่ได้อย่างยืดหยุ่น จัดเป็นหุ่นยนต์จัดเรียงสินค้าที่มีประโยชน์หลากหลายในกระบวนการผลิต ไม่ว่าจะเป็นหยิบจับ ยกของ งานเชื่อม งานตัด และจัดเรียงสินค้า เนื่องจากสามารถทำงานได้รวดเร็วและสามารถปรับเปลี่ยนปลายอุปกรณ์หยิบจับสินค้าได้ จึงสามารถใช้งานได้กับสินค้าหลากหลายประเภท นอกจากนั้น Articulated Robot ยังสามารถรองรับน้ำหนักบรรทุกได้สูงถึงเกือบ 1,000 กิโลกรัมเลยทีเดียว (น้ำหนักรวมปลายอุปกรณ์หยิบจับ)

ความสามารถในการจัดเรียงสินค้าของหุ่นยนต์ประเภท Articulated Robot นั้น สามารถทำได้สูงสุดถึง 4 สายการผลิตในเวลาเดียวกัน ทำให้ได้รับความนิยมมาก แต่หากเป็นกรณีที่มีแค่เพียง 1 สายการผลิต Articulated Robot จะสามารถทำงานที่น้ำหนัก 22-27 กิโลกรัม ด้วยอัตราเร็วในการจัดเรียงสูงถึง 25 ครั้งต่อนาที (ปฏิบัติงานแบบยก 1 ครั้ง วาง 1 ครั้ง) โดยลักษณะการทำงานของ Articulated Robot จะเป็นการเคลื่อนที่แบบหมุนของทั้งตัวแท่น และแขนอุปกรณ์หยิบจับสินค้าได้พร้อม ๆ กันตั้งแต่ 3 จุดขึ้นไป

4. Gantry

Gantry Robot เป็นอุปกรณ์จัดเรียงสินค้าที่หากเทียบกับทั้ง 3 ประเภทด้านบนแล้ว จะทำงานช้าที่สุด แต่จะมีประโยชน์ในแง่ของการจัดเรียงสินค้า หรือยกสินค้าที่มีปริมาณมาก ๆ ในคราวเดียว หรือผลิตภัณฑ์ที่มีน้ำหนักสูงมาก เนื่องจากโครงสร้างเป็นแบบเสา 2 ข้าง และมีคานตรงกลาง หุ่นยนต์จัดเรียงสินค้าประเภทนี้จะได้รับความนิยมน้อยกว่าประเภทอื่น ๆ เนื่องจากมีราคาสูง

ผลประโยชน์ที่ได้จากการประยุกต์ใช้ Robotics Palletizing

  • ความรวดเร็วและต่อเนื่อง – สามารถรับปริมาณงานจำนวนมากได้อย่างต่อเนื่องโดยไม่มีการหยุดพัก ซึ่งใช้เวลาต่อ Package คงที่ สามารถนำไปวางแผนและกำหนดกลยุทธ์ทางธุรกิจได้
  • ลดความเสี่ยงจากการบาดเจ็บของพนักงาน – การทำงานซ้ำ ๆ หรือเคลื่อนไหวด้วยท่าทางซ้ำ ๆ อาจเกิดการบาดเจ็บของพนักงานได้ หรือ การลื่นล้มสะดุดจากการเคลื่อนที่ของพนักงาน ซึ่ง Robotics Palletizing ช่วยลดการบาดเจ็บของพนักงานได้
  • คุณภาพของงานมีความสม่ำเสมอ – Robotics Palletizing ไม่มีความล้าจากการทำงาน ส่งผลให้คุณภาพสินค้าที่จะส่งมอบมีความคงที่
Logo-Company
Logo-Company
Logo-Company
logo-company
Naichangmashare
กลุ่มวิศวกรที่มีประสบการณ์ในอุตสาหกรรมหลายสาขา รวมตัวกันสร้างชุมชนแบ่งปันความรู้ด้านอุตสาหกรรม เพื่อให้งานช่างและวิศวกรรมเป็นเรื่องง่ายสำหรับทุกคน ติดตามได้ทาง FB นายช่างมาแชร์
Automation Expo