SAF Renewable Energy

ปฏิวัติอุตสาหกรรมการบิน SAF เชื้อเพลิงใหม่เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน

Date Post
22.07.2024
Post Views

ทุกท่านทราบกันไหมครับว่าในปัจจุบันอุตสาหกรรมการบินต้องใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลปริมาณมาก ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่สูงเป็นอันดับต้น ๆ โดยในปีหนึ่งการบินพาณิชย์ทั่วโลกใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลปริมาณหลายพันล้านแกลลอน ซึ่งส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างมาก ด้วยปัญหานี้ การพัฒนาเชื้อเพลิงอากาศยานที่ยั่งยืน (Sustainable Aviation Fuel: SAF) จึงเป็นทางเลือกที่สำคัญในการลดการพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิลและช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในอุตสาหกรรมการบิน SAF เป็นเชื้อเพลิงที่สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ถึง 80% เมื่อเทียบกับเชื้อเพลิงฟอสซิล จึงมีศักยภาพในการสร้างอนาคตที่ยั่งยืนให้กับอุตสาหกรรมการบินของประเทศไทยได้

เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2567 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ดร.เสกสรรค์ พรหมนิช รองประธานกลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานหมุนเวียนด้าน Biofuel ของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ได้นำเสนอเรื่อง “อุปสรรคและความท้าทายในการพัฒนาการผลิตและการใช้ SAF” ภายในงานสัมมนา Beyond Carbon Neutrality โดยเน้นถึงความสำคัญของ SAF และวิธีการที่ประเทศไทยสามารถบรรลุเป้าหมาย Carbon Neutrality และ Net Zero ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เป้าหมายและความสำคัญของ SAF

ดร.เสกสรรค์ ได้กล่าวถึงความสำคัญของ SAF ในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสำหรับอุตสาหกรรมการบิน ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการบรรลุเป้าหมาย Carbon Neutrality ภายในปี 2050 และ Net Zero ภายในปี 2065 ของประเทศไทย โดย SAF โดยมีเป้าหมายเพื่อช่วยให้การบินเป็นอุตสาหกรรมที่มีความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น

 ความท้าทายในการพัฒนา SAF

  • ด้านมาตรฐานความยั่งยืน  การผลิตเชื้อเพลิง SAF ต้องเป็นไปตามเกณฑ์ของ ICAO ซึ่งรวมถึงการลดก๊าซเรือนกระจก การรักษาพื้นที่สีเขียว และความยั่งยืนของทรัพยากรน้ำ ดิน และอากาศ
  • ด้านการลงทุน โครงการสำหรับการผลิตและจัดการเชื้อเพลิง SAF ต้องใช้เงินลงทุนสูง จึงต้องการผู้ร่วมลงทุนเพื่อลดความเสี่ยง การสนับสนุนจากภาครัฐและเอกชนเป็นสิ่งสำคัญ
  • ด้านราคาของ SAF และสิ่งจูงใจ ราคาของเชื้อเพลิง SAF สูงกว่าน้ำมันเชื้อเพลิงทั่วไปมาก จึงต้องการสิ่งจูงใจจากรัฐบาล เช่น การให้เครดิตภาษีการผลิตเชื้อเพลิง SAF เพื่อสนับสนุนการผลิต
  • ด้านนโยบายและความชัดเจนของนโยบาย การมีนโยบายที่ชัดเจนและสอดคล้องจะช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขันและความต่อเนื่องของการพัฒนาเชื้อเพลิง SAF

สามารถดูรายละเอียดเชิงตัวเลขในความท้าทายหัวข้อต่าง ๆ ได้ที่ลิงก์ท้ายบทความเพื่อเห็นภาพเปรียบเทียบอย่างชัดเจนของหัวข้อการนำเสนอของ “ดร.เสกสรรค์ พรหมนิช” ภายในหน้าเว็บไซต์

แนวทางการดำเนินการและการส่งเสริมเพื่อนำไปสู่เป้าหมายของประเทศไทย

การส่งเสริมการใช้เอทานอลและไบโอดีเซลในอุตสาหกรรมการบิน การวิจัยและพัฒนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพ การสร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนในการลงทุนและพัฒนา SAF โดยส่งเสริมถึงเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง20-25% จากระดับปกติภายในปี 2563-2573 และจะเพิ่มการลดลงถึง 30-40% ภายในปี 2573 เพื่อสนับสนุนเป้าหมายการเป็นกลางทางคาร์บอนและการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์

การนำเสนอของ ดร.เสกสรรค์ พรหมนิช ทำให้ทุกท่านได้เห็นถึงความสำคัญและความจำเป็นของการพัฒนา SAF ในประเทศไทย ซึ่งไม่เพียงแต่จะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในอุตสาหกรรมการบิน แต่ยังช่วยเสริมสร้างความยั่งยืนในด้านพลังงานของประเทศอีกด้วย ความท้าทายที่ระบุในการนำเสนอครั้งนี้ชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นของการร่วมมือและการสนับสนุนจากทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อให้ประเทศไทยสามารถบรรลุเป้าหมาย Carbon Neutrality และ Net Zero ได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืนในอนาคต

อ้างอิง : RE100

Logo-Company
Logo-Company
Logo-Company
logo-company
Pisit Poocharoen
Former field engineer seeking to break free from traditional learning frameworks. อดีตวิศวกรภาคสนามที่ต้องการหลุดออกจากกรอบการเรียนรู้แบบเดิม ๆ