Store Master - Kardex
SHARGE กางโรดแมป Scale Up EV Future รับนโยบาย EV 1 ล้านคัน
SHARGE กางโรดแมป Scale Up EV Future รับนโยบาย EV 1 ล้านคัน

SHARGE กางโรดแมป Scale Up EV Future รับนโยบาย EV 1 ล้านคัน

Date Post
24.03.2022
Post Views

SHARGE โชว์โรดแมป Scale Up EV Future เพิ่มจำนวนพันธมิตร 50 รายในปี 2568  หวังมีสถานีชาร์จแตะ 600 แห่ง 2,400  หัวชาร์จภายในปี 2565 ตั้งเป้าขึ้นแท่นผู้นำการให้บริการ EV Charging Solution ครบวงจร พร้อมกวาดยอดขายสะสม 5 ปี 3,000 ล้าน

นายพีระภัทร ศิริจันทโรภาส กรรมการผู้จัดการ บริษัท ชาร์จ แมเนจเม้นท์ จำกัด (SHARGE) ผู้นำด้านการสร้าง EV Charging Ecosystem เพื่อตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตอย่างยั่งยืน เปิดเผยว่า สถานการณ์การใช้งานรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ทั่วโลก มีอัตราการเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยภาพรวมจำนวนรถ EV ทั่วโลกระหว่างปี 2553-2563 มีอัตราการเติบโตเฉลี่ยอยู่ที่ราว 76% ต่อปี สู่จำนวน 10.2 ล้านคัน และยังคงมีแนวโน้มเติบโตขึ้นอย่างก้าวกระโดด เนื่องจากประเทศมหาอำนาจทั่วโลกต่างออกมาตรการสนับสนุนและนโยบายที่ให้สิทธิประโยชน์แก่ผู้ผลิตรถ EV อย่างต่อเนื่อง เช่น จีนที่มีการใช้รถ EV มากกว่า 4.5 ล้านคัน จากการยกเว้นภาษีและสนับสนุนเงินทุนแก่ผู้ผลิต ขณะที่โครงสร้างพื้นฐานสำคัญของ EV อย่างสถานีชาร์จและจำนวนหัวชาร์จ ก็มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทั่วโลกเช่นเดียวกัน เฉพาะในเยอรมนี คาดว่าจะมีสถานีชาร์จสาธารณะเพิ่มขึ้นเป็น 300,000 จุดในปี 2568 และทะลุ 700,000 จุดในปี 2573

ขณะที่ประเทศไทยเอง มีเป้าหมายที่ชัดเจนในการขับเคลื่อนให้เกิดการใช้งานรถ EV อย่างเป็นรูปธรรม โดยคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ (บอร์ด EV) ตั้งเป้าให้มีการใช้รถยนต์ไฟฟ้าทุกประเภท รวมกว่า 1.05 ล้านคันภายในปี 2568

หุ่นยนต์อุตสาหกรรมสุดคุ้มค่าเพื่อการผลิตยุคใหม่ที่ยั่งยืนยิ่งขึ้น

จากเป้าหมายดังกล่าว บริษัทคาดการณ์ว่า ประเทศไทยจะมีความต้องการชาร์จพลังงาน EV ไม่น้อยกว่า 1 ล้านหน่วยต่อสัปดาห์ในปี 2568 และมีความจำเป็นต้องมีโครงสร้างพื้นฐานด้าน EV รวมถึงสถานีชาร์จ EV ที่เพียงพอ บริษัทจึงจะเดินหน้าแผน Scale Up EV Future พร้อม 4 กลยุทธ์หลัก ได้แก่ Stronger Ecosystem – More Station – New Solution – More Innovation เพื่อช่วยพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านสถานีชาร์จ EV ให้เพียงพอต่อความต้องการของประเทศไทยในอนาคต และสอดคล้องกับเมกะเทรนด์การเติบโตของ EV ที่กำลังเกิดขึ้นทั่วโลก

เริ่มจากด้าน Stronger Ecosystem เดินหน้าจับมือพันธมิตรใหม่ๆ ในระบบนิเวศการชาร์จ EV ทั้งกลุ่มผู้พัฒนาโครงการที่อยู่อาศัย กลุ่มผู้พัฒนาศูนย์การค้า กลุ่มผู้พัฒนาอาคารสำนักงาน กลุ่มผู้ประกอบการโรงแรม กลุ่มผู้ประกอบธุรกิจบริหารจัดการนิติบุคคลโครงการ กลุ่มผู้ผลิตและผู้ค้าปลีกพลังงาน กลุ่มผู้ประกอบการรถยนต์ สถานศึกษา โรงพยาบาล ไปจนถึงกลุ่มผู้ประกอบการด้านการขนส่งและโลจิสติกส์ เพื่อร่วมกันส่งเสริมให้มีสถานีชาร์จรถ EV รองรับความต้องการของผู้ใช้ในอนาคตอย่างครบวงจร คาดว่าจะมีจำนวนพันธมิตรเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 27 รายภายในปี 2565 และเพิ่มเป็น 50 รายภายในปี 2568

“การสร้างความร่วมมือกับพันธมิตรในทุกเซ็กเตอร์ นับเป็นเรื่องจำเป็นและจะเป็นฟันเฟืองสำคัญในการขับเคลื่อนให้ประเทศไทยมีจำนวนสถานีชาร์จและหัวชาร์จที่เพียงพอรองรับความต้องการมหาศาลในอนาคต SHARGE จึงเปิดกว้างที่จะเข้าไปพูดคุยกับผู้ประกอบการในหลากหลายเซ็กเตอร์ ตลอดจนผู้ใช้งานทั่วไปที่ต้องการมี EV Charger อยู่ในที่พักอาศัยของตัวเอง เพื่อร่วม Scale Up EV Future ขับเคลื่อนประเทศไทยให้มีความพร้อมด้าน EV ทัดเทียมระดับโลก ร่วมสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่จะช่วยให้ประเทศไทยมีมลภาวะลดลงและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น” นายพีระภัทร กล่าว

ด้าน More Station เพิ่มจำนวนสถานีชาร์จและหัวชาร์จทั้งแบบกระแสสลับ (AC) ตามที่อยู่อาศัย สู่การบริการครอบคลุมทุกจังหวัดทั่วประเทศ และแบบกระแสตรง (DC) ที่เป็น Super Fast Charge ตามจุดพักรถและสถานที่สำคัญต่างๆ กระจายไปตามจุดพักรถในทั้ง 4 ภูมิภาค นำร่องในปี 2565 ด้วยจำนวนสถานีชาร์จทุกประเภทสะสมไม่น้อยกว่า 600 สถานี และจำนวนหัวชาร์จ 2,000-2,400 หัวชาร์จ ตอกย้ำและยืนหยัดการเติบโตในฐานะผู้นำอันดับ 1 ของตลาด EV Charging Station ในที่อยู่อาศัย ขณะเดียวกัน ในปีนี้จะมีการสร้างสถานีชาร์จแลนด์มาร์คที่ใหญ่ที่สุดในรัศมี 200 กิโลเมตรจากกรุงเทพฯ มีจุดเด่นสำคัญ 3 ด้าน ได้แก่ 1.มีจำนวนหัวชาร์จมากกว่าสถานีปกติ 2.เป็นสถานีที่มีหัวชาร์จ DC แบบ Super Fast Charge ที่จ่ายไฟได้เร็วที่สุดในประเทศไทย เพื่อให้ไลฟ์สไตล์การชาร์จไฟฟ้าใช้เวลาใกล้เคียงกับการเติมพลังงานแบบดั้งเดิม โดยไม่ต้องเปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภค และ 3.มีอาหารและบริการที่ตอบโจทย์ทั้งคนและรถยนต์

ด้าน New Solution จากเดิมบริษัทมุ่งเน้นเจาะตลาด 3 กลุ่ม โดยแบ่งตามไลฟ์สไตล์การชาร์จของผู้ใช้งานทั่วไป (Lifestyle Charging Ecosystem) อันประกอบด้วย 1.NIGHT กลุ่มผู้ใช้บริการชาร์จที่เน้นการชาร์จที่บ้านในช่วงกลางคืน 2.DAY กลุ่มผู้ใช้บริการชาร์จระหว่างวัน เน้นการชาร์จที่จุดหมายปลายทาง เช่น ศูนย์การค้า แหล่งไลฟ์สไตล์ อาคารสำนักงาน 3.ON-THE-GO กลุ่มผู้ใช้บริการชาร์จที่เน้นการชาร์จตามสถานีชาร์จระหว่างเดินทางระหว่างจังหวัด หรือสถานที่อื่นๆ แต่หลังจากนี้ บริษัทจะขยายขอบเขตการให้บริการให้ครอบคลุมรถยนต์และยานยนต์ทุกประเภท ผ่านการเจาะตลาดกลุ่มผู้มียานพาหนะให้บริการจำนวนมาก (Fleet Operator) เช่น บริษัทโลจิสติกส์ บริษัทที่ให้บริการด้านการขนส่งคนและสิ่งของ เนื่องจากเป็นกลุ่มที่มีความต้องการลดต้นทุนด้านพลังงานเชื้อเพลิงจากการใช้พลังงานเดินทางมหาศาลทุกวัน หลายบริษัทเริ่มมีวิสัยทัศน์ชัดเจนที่ต้องการปรับเปลี่ยนมาใช้พลังงานสะอาด บริษัทจะเดินหน้าเจรจากับกลุ่ม Fleet Operator อย่างต่อเนื่องอย่างน้อย 5 รายในปีนี้ เพื่อร่วมเปลี่ยนผ่านเครื่องยนต์สันดาปสู่เครื่องยนต์ไฟฟ้า และเป็นรากฐานสร้างรายได้ประจำระยะยาว (Recurring Income) คาดว่าจะเปิดเผยความร่วมมือได้อย่างน้อย 1 ราย ซึ่งจะเป็นการพลิกโฉมวงการ EV เร็วๆ นี้

สำหรับด้าน More Innovation บริษัทได้พัฒนาแอปพลิเคชัน SHARGE โดยมีหลากหลายฟีเจอร์ใหม่ที่พร้อมตอบโจทย์ผู้ใช้บริการรถ EV ที่ต้องการเข้ามาใช้บริการสถานีชาร์จ EV เช่น Queuing System ระบบที่รองรับความต้องการการใช้ไฟฟ้าที่มากขึ้น ทำให้สามารถจองการใช้งานล่วงหน้าได้ Admin Dashboard อำนวยความสะดวกให้เจ้าของสถานีสามารถดูสถานการณ์ดำเนินงานของสถานีนั้นๆ ได้แบบ Realtime และ Privilege ตอบโจทย์องค์กรที่ต้องการโซลูชั่นสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าแบบฟลีท มีให้พร้อมดาวน์โหลดทั้งใน App Store และ Play Store

นายพีระภัทร กล่าวอีกว่า ปัจจุบัน บริษัทถือเป็นผู้นำอันดับ 1 ในการให้บริการ EV Charger ในโครงการที่อยู่อาศัยอยู่แล้ว เมื่อเดินหน้าแผน Scale Up EV Ecosystem บริษัทจึงตั้งเป้าขึ้นเป็นผู้นำการให้บริการ EV Charging Solution ครบวงจร มียอดขายสะสม 5 ปีนับจากนี้อยู่ที่ 3,000 ล้านบาท และเป็นส่วนสำคัญที่ขับเคลื่อน EV Charging Ecosystem ของไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืน ช่วยให้คนไทยสามารถเข้าถึงพลังงานในราคาที่ถูกลง ลดมลภาวะทางอากาศ ร่วมสร้างอนาคตที่สะอาดขึ้น เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้นให้แก่คนไทย

Logo-Company
Logo-Company
Logo-Company
logo-company
Nichaphan W.
การตลาดและประชาสัมพันธ์