Sigma Econ ซอฟต์แวร์คำนวณต้นทุน

Sigma Econ ซอฟต์แวร์คำนวณต้นทุนในกระบวนการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต

Date Post
30.05.2024
Post Views

ในปัจจุบันเราสามารถใช้ซอฟต์แวร์จำลองการผลิต (Simulation) เพื่อหาพารามิเตอร์ที่เหมาะสมกับการผลิต ไม่ว่าจะเป็นอุณหภูมิ ความดัน และรอบเวลา ซึ่งกระบวนการผลิตที่ใช้พารามิเตอร์ต่างกันอาจส่งผลต่อต้นทุนการผลิตที่แตกต่างกันได้ บทความนี้จะมาเล่าถึงซอฟต์แวร์ที่ช่วยหาพารามิเตอร์ในการฉีดขึ้นรูปได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ยังสามารถประเมินต้นทุนที่เกิดขึ้นตามจริงได้อีกด้วย

Sigmasoft ผู้ผลิตซอฟต์แวร์จำลองการฉีดขึ้นรูปด้วยพอลิเมอร์และเรซิ่น ได้ออกเวอร์ชันใหม่ คือ 6.1 โดยเพิ่ม ‘Sigma Econ’ เพื่อคำนวณต้นทุนที่เกิดขึ้นตามกระบวนการ ผู้ใช้จึงสามารถเลือกจุดสมดุลระหว่างคุณภาพ กระบวนการที่เหมาะสม และต้นทุนที่ต่ำที่สุดได้

Sigma Econ enables process-dependent cost calculation, thereby providing the opportunity to determine the best compromise between quality, optimal process, and minimal costs.

Sigma Econ ที่เพิ่มมาใน Sigmasoft เวอร์ชัน 6.1 ล่าสุด ช่วยในการคำนวณต้นทุนตามจริง

(ที่มา: Sigmasoft)

Sigmasoft Virtual Molding (การฉีดขึ้นรูปเสมือน) ใช้คำนวณรายละเอียดในกระบวนการฉีดขึ้นรูปพอลิเมอร์อย่างถูกต้องแม่นยำและเชื่อถือได้มานานกว่า 25 ปี นอกจากผลลัพธ์ทางกายภาพอย่างความดัน อุณหภูมิ หรือเวลา ปัจจุบันมีการเพิ่มเครื่องมือใหม่ Sigma Econ เพื่อเพิ่มผลลัพธ์ทางการเงินเข้ามาด้วย

ความรู้ความเข้าใจในรายละเอียดเกี่ยวกับกระบวนการผลิตของตัวเองและความเป็นไปได้ในการเพิ่มประสิทธิภาพเป็นสิ่งที่มีความสำคัญในสภาพแวดล้อมที่การแข่งขันที่สูงขึ้น แต่สิ่งที่สำคัญยิ่งกว่า คือ การรู้ถึงต้นทุนการผลิตที่แท้จริง ตัวอย่างเช่น การเพิ่มประสิทธิภาพจะต้องเกี่ยวข้องกับต้นทุนที่ลดลงเนื่องจากรอบเวลาลดลง? หรือ ต้นทุนสูงขึ้นจากการใช้พลังงานที่เพิ่มขึ้น?

การประสบความสำเร็จจากการผลิตอย่างยั่งยืนนั้นต้องอาศัยความรู้เกี่ยวกับต้นทุนของตนเองล่วงหน้าอย่างถูกต้องและแม่นยำ Sigmasoft สามารถตรวจสอบและเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว ตลอดจนสามารถคาดการณ์เกี่ยวกับเวลา วัสดุ ความดันที่ต้องใช้ แผนผังการไหล และอื่น ๆ ได้อย่างแม่นยำ นอกจากนี้ยังใช้ในการคำนวณราคาเพื่อเป็นข้อมูลอ้างอิงที่สมเหตุสมผล

Sigma Econ สามารถให้ผู้ใช้กำหนดต้นทุนส่วนประกอบของกระบวนการที่จะจำลอง ตลอดจนตัวแปรเพื่อปรับให้เหมาะสมมากที่สุด รวมถึงการปรับอุณหภูมิ เช่น การใช้ทางวิ่งร้อน ทางวิ่งเย็น หรือการเพิ่มฉนวนความร้อน เป็นต้น โดยไม่ได้พิจารณาแต่เพียงต้นทุนวัสดุที่เพิ่มขึ้นหรือลดลง แต่พิจารณาถึงปริมาณพลังงานที่ใช้ด้วย

ในการเปรียบเทียบสถานการณ์จำลองที่แตกต่างกัน สามารถใช้ Sigmasoft ประเมินโดยออกแบบการทดลอง (Design of Experiment – DOE) ได้โดยตรง สิ่งนี้ทำให้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพต้นทุนการผลิตตั้งแต่แรกเริ่มได้

บทความเกี่ยวกับ การออกแบบการทดลองคืออะไร? (ที่มา: สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ)

https://piu.ftpi.or.th/productivity-tools/doe/

บทความอ้างอิง: https://www.etmm-online.com

Logo-Company
Logo-Company
Logo-Company
logo-company
Nichaphan W.
การตลาดและประชาสัมพันธ์