Automation Expo
SMART LOGISTICS กลยุทธ์บริหารจัดการโลจิสติกส์...อย่างชาญฉลาด

SMART LOGISTICS กลยุทธ์บริหารการจัดการโลจิสติกส์อย่างชาญฉลาด

Date Post
05.08.2024
Post Views

การจัดการโลจิสติกส์เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการ Supply Chain Management ซึ่งรวมถึงเรื่องการวางแผนการดำเนินการ การควบคุม การไหลเวียน การจัดเก็บวัสดุสินค้า การบริการ และสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล จากแหล่งจุดกำเนิดของวัตถุดิบ จนถึงจุดบริโภคหรือจุดการใช้งาน เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า เป็นกิจกรรมที่มีความเกี่ยวเนื่องกับธุรกิจเกือบทุกประเภท อีกทั้งเป็นต้นทุนพื้นฐานที่สำคัญซึ่งกระทบต่อต้นทุนรวมของผลิตภัณฑ์และบริการ

SMART LOGISTICS กลยุทธ์บริหารจัดการโลจิสติกส์...อย่างชาญฉลาด

บริหารการจัดการโลจิสติกส์อย่างชาญฉลาดทั้งด้านกลยุทธ์และระดับปฏิบัติการ ส่งผลบวกต่อประสิทธิภาพโดยรวมขององค์กรและต้นทุนที่ลดลง การที่จะมุ่งหน้าสู่การบริการจัดการยุคใหม่นั้นยังมีความต้องการใช้ประโยชน์จาก ‘ข้อมูล’ ที่เกิดขึ้นในแต่ละขั้นตอนอย่างละเอียด ครบถ้วน โปร่งใส และทันต่อเวลา ซึ่งจะเกิดขึ้นได้จำเป็นต้องมีเครื่องมือสำหรับการบริหารจัดการที่ตอบสนองต่อความต้องการเบื้องต้น ไม่ว่าจะเป็นวิธีการ องค์ความรู้ หรือเทคโนโลยีสมัยใหม่ โดยจำเป็นคำนึงถึงองค์ประกอบสำคัญ ดังนี้

การบริหารจัดการระบบโลจิสติกส์อย่างชาญฉลาด

บริหารจัดการโลจิสติกส์สำหรับคลังสินค้าสมัยใหม่ทำอย่างไร?

วัตถุประสงค์

  • เพื่อลดต้นทุนด้านการผลิตและขนส่ง: ผลิตและขนส่งในปริมาณมาก
  • เพื่อถ่วงดุลอุปสงค์และอุปทาน: สินค้าตามฤดูกาล สินค้าที่มีราคาไม่แน่นอน
  • เพื่อช่วยกระบวนการผลิต: ช่วยผลิตได้ต่อเนื่อง สินค้าที่ต้องการการเพาะหรือบ่ม
  • เพื่อช่วยลดกระบวนการตลาด: ลดเวลาการส่งมอบ ลดการเสียโอกาส ตอบสนองความต้องการของลูกค้า

การคำนวณความต้องการเนื้อที่เก็บสินค้า

การออกแบบคลังให้ได้ผลต้องคำนวณความต้องการเนื้อที่เก็บสินค้าให้เหมาะกับความต้องการในปัจจุบัน และยังต้องมีความยืดหยุ่นพอที่จะปรับเปลี่ยนต่อแนวโน้มในอนาคตบนพื้นฐานของแนวคิด LEAN โดยจัดสรรเนื้อที่อย่างรอบคอบและเกิดประโยชน์มากที่สุด ไม่ให้เนื้อที่เสียเปล่า โดยมีปัจจัยที่ใช้ในการคำนวณความต้องการเนื้อที่เก็บสินค้า ดังนี้

  • ปริมาณของสินค้าที่จะเก็บ พิจารณาปริมาณของยอดขายที่จะเกิดขึ้นในช่วงเวลาหนึ่ง ๆ ว่ามีความคงที่สม่ำเสมอหรือเกิดการเปลี่ยนแปลงบ่อยครั้ง
  • ลักษณะเฉพาะของสินค้าที่จะเก็บ เช่น ความบอบบางและความทนทานของสินค้า
  • อุปกรณ์สำหรับการลำเลียงขนถ่าย ภายในคลังสินค้าที่มีความสม่ำเสมอสูงและมีการทำซ้ำอาจใช้ระบบสายพานลำเลียง หากเป็นของมีน้ำหนักสูงอาจเลือกใช้ฟอล์คลิฟต์ แต่ถ้าสินค้ามีขนาดเล็กแต่มีจำนวนมากและมีการเปลี่ยนแปลงบ่อย การเลือกใช้ AMR จะเป็นคำตอบที่มีความยืดหยุ่นลงตัวสูงกว่า
  • ลักษณะของการเก็บรักษาสินค้า ต้องมีความเข้าใจถึงสภาพแวดล้อมที่สินค้าต้องการ เช่น การจัดเก็บอาหารสดต้องอยู่ในพื้นที่ที่มความเย็นตลอดเวลา ในขณะที่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อาจต้องการการควบคุมความชื้น หรือในกรณีของปั๊มขนาดใหญ่จะต้องมีพื้นที่ในการเข้าถึงสินค้าที่สะดวกปลอดภัยเป็นต้น

การบริหารบุคลากรในคลังสินค้า

การทำงานในคลังสินค้าที่พึ่งพาแรงงานนั้นต้องยอมรับว่ามีโอกาสเกิด Human Error ขึ้นได้เป็นปกติ เพื่อป้องกันความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นได้ และเพิ่มประสิทธิภาพไปในเวลาเดียวกัน การดำเนินการบนพื้นฐานแนวคิดต่อไปนี้สามารถสนับสนุนให้แรงงานในคลังสินค้าเกิด Productivity ที่มากขึ้นได้

  • กำหนดเป้าหมาย
  • วิธีการดำเนินการ
  • พิจารณาให้คำแนะนำ
  • เลือกวิธีการสื่อสาร เบา หรือ หนัก
  • ติดตามความคืบหน้า ประเมินผล
  • แนะนำ หากต้องมีการแก้ไข
  • พิจารณาเหตุของความล้มเหลว
  • ติดตามความคืบหน้า ประเมินผล

Warehouse Management System: WMS

เป็นระบบโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อช่วยบริหารการจัดการโลจิสติกส์ระบบคลังสินค้ ที่ครอบคลุมกระบวนการต่างๆ ในคลังสินค้า ได้แก่ การรับสินค้า (Receiving) การจัดเก็บ (Putaway) และการจัดและการเติมสินค้า (Picking & Replenishment)

Warehouse Management System: WMS

การใช้งาน WMS จะช่วยให้ผู้ที่มีหน้าที่บริหารจัดการสามารถมองเห็นภาพรวมของสินค้า และกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยหัวใจหลักอยู่ที่การใช้ประโยชน์จากข้อมูลที่เกิดขึ้นในคลังสินค้า ไม่ว่าจะเป็น Shelf Life, การบริหารจัดการพื้นที่, และการลดระยะเวลาในการเข้าถึงสินค้าก็สามารถเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เทคนิคการบริหารสินค้าคงคลัง

ระยะเวลา สินค้าที่สั่งมาจะมีความสามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้รวดเร็วเพียงใด

ต้นทุน จะต้องใช้เงินเท่าไรที่จะซื้อสินค้ามาเพื่อเป็นการเพิ่มรายได้ให้มากขึ้น

  • ต้นทุนที่ใช้ซื้อสินค้าเพื่อขาย (Costs of Acquiring)
  • ค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษา (Costs of Holding)

การบริการ สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ดีขึ้น

การบริหารคลังสินค้าและสินค้าคงคลังด้วยหลักการ ABC Analysis (Always Better Control)

ส่งผลให้มีประสิทธิภาพในการจัดวางสินค้า ช่วยลดต้นทุนการขนถ่ายสินค้าด้านแรงงานและเวลาที่ใช้ มีหลักการดังนี้

  • สินค้าที่ขายดี – ไม่ดี จะมีตำแหน่งการวางต่างกัน
  • สินค้าที่ขายดี อยู่ใกล้ประตูเข้าออก เพื่อสะดวกในการขนถ่าย
  • สินค้าที่ขายไม่ดี จะเก็บด้านใน เพราะไม่ค่อยมีการขนถ่ายสินค้า
  • สินค้าที่มีขนาดใหญ่ ขนถ่ายลำบาก จะเก็บใกล้ประตู

กลยุทธ์ลดต้นทุนการขนส่ง

การบริหารการขนส่งให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

การขนส่งแต่ละรูปแบบมีลักษณะที่แตกต่างกัน ลักษณะเด่นและด้อย จะมีอยู่ในทุกรูปแบบการขนส่ง ดังนั้น การขนส่งแต่ละรูปแบบจึงพยายามที่จะพัฒนาตัวเองให้เจริญก้าวหน้าอยู่เสมอ เพื่อให้การขนส่งมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล กล่าวคือ

ตัวอย่างการจัดสรรพื้นที่เก็บสินค้า

Fixed Storage

  • สถานที่จัดเก็บถูกกำหนดชัดเจน
  • ขนาดของที่จัดเก็บจะต้องเพียงพอเพื่อรองรับปริมาณสินค้าคงคลังของสินค้านั้นๆ
  • ต้นทุนการเคลื่อนย้ายสินค้าต่ำ
  • ต้นทุนของสถานที่จัดเก็บสูง

Randomized Storage

  • สามารถจัดเก็บได้ทุกที่
  • ที่จัดเก็บสินค้าทั้งหมดต้องเพียงพอในการรองรับปริมาณสินค้าทุกรายการ
  • ต้นทุนของสถานที่จัดเก็บต่ำ
  • ต้นทุนการเคลื่อนย้ายสินค้าสูง

Class-based Storage

  • สามารถจัดเก็บได้ทุกที่ภายในโซนที่กำหนด
  • ที่จัดเก็บสินค้าในแต่ละโซนต้องเพียงพอเพื่อรองรับปริมาณสินค้าในโซนนั้นๆ
  • ต้นทุนของสถานที่จัดเก็บและการเคลื่อนย้ายสินค้าปานกลาง
การจัดสรรพื้นที่เก็บสินค้า
ปัจจัยสำคัญในการจัดการโลจิสติกส์มีดังนี้ หาจุดสมดุลระหว่างต้นทุนการขนส่งที่ต่ำ กับระดับการบริการที่เหมาะสม การสร้างโครงข่ายการขนส่งสินค้าที่จะอำนวยให้เกิดการขนส่งที่มีต้นทุนต่ำ ในขณะเดียวกันก็มีระดับการบริการตามข้อกำหนดของลูกค้า การเลือกรูปแบบการขนส่งสินค้าที่เหมาะสม เข้าใจต้นทุนของการขนส่ง และมีการเก็บข้อมูลเพื่อติดตามต้นทุนอย่างใกล้ชิด มีการติดตามวัดผลการปฏิบัติการ KPIs นำหลักวิธีการการจัดเส้นทางตารางเวลามาใช้เพื่อลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพ พิจารณาปัจจัยต่างๆ เพื่อประเมินประโยชน์และความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจจัดจ้างการขนส่ง

KPIs หมายถึง ดัชนีหรือพฤติกรรมการปฏิบัติที่สำคัญที่สามารถวัดได้ และสามารถแสดงหรือบ่งชี้ถึงความสำเร็จของการดำเนินงาน

ลักษณะของการวัดผลที่ดี

  • เฉพาะเจาะจง
  • สามารถวัดได้
  • สามารถบรรลุผลสำเร็จได้
  • มีความเป็นจริง
  • มีระยะเวลาของการใช้งาน
หัวข้อในการวัด KPI ในงานคลังสินค้า

EXECUTIVE SUMMARY

Logistics are important factor of the supply chain management method. It’s a method that involve in the procedure for almost every business. Smart logistics management for strategy and operation provide positive result to overall efficient of the organization and also cost reduction. This management is considering on these factors as follows: modern warehouse management, inventory management, strategy for reduce transportation cost and operation indicator for logistics management.


Source:

  • เอกสารประกอบการบรรยาย โดย คุณอาณัติ ยงยุทธ, Supply Chain Manager บริษัท ล่ำสูง (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) จากงานสัมมนา Automation & Control Forum 2016
Logo-Company
Logo-Company
Logo-Company
logo-company
Modern Manufacturing
  นำเสนอข่าวสารความรู้รอบด้านเกี่ยวกับอุตสาหกรรมการผลิต เพื่ออุตสาหกรรมไทยก้าวหน้าด้วยวิทยาการสมัยใหม่และเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย
Store Master - Kardex