การแข่งขันในภาคการผลิตปัจจุบันนั้นมีความเข้มข้นเป็นอย่างมาก และธุรกิจเองต้องเผชิญหน้ากับความท้าทายหลากหลายประการ หนึ่งในความท้าทายที่ทั่วโลกต้องเผชิญหน้า คือ คุณภาพและปริมาณของแรงงานซึ่งได้รับผลกระทบจากการขาดแคลนทักษะและประสบการณ์ ยิ่งไปกว่านั้นความไม่แน่นอนจากสงครามการค้ายิ่งซ้ำเติมความท้าทายเดิมที่มี ทำให้การเอาชนะความท้าทายเหล่านี้จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นระบบอัตโนมัติหรือเทคโนโลยีดิจิทัล อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ได้นำมาซึ่งคำถามสำคัญว่าแรงงานจะอยู่รอดได้อย่างไรในสภาพแวดล้อมของธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วเหล่านี้ [English Version Available on Page 2]
เพื่อเอาชนะความท้าทายด้านแรงงานในภาคการผลิต SOLOMON Technology ซึ่งเป็นบริษัทที่ได้รับรางวัล Taiwan Excellence ได้พัฒนาโซลูชันดิจิทัลที่ล้าสมัยขึ้นมาเพื่อยกระดับทั้งทักษะและความปลอดภัยของแรงงาน โดยนวัตกรรมที่เกิดขึ้นมานั้นมีศักยภาพในการผลักดันให้ธุรกิจก้าวไปข้างหน้าได้อย่างรวดเร็วและมั่นคง ด้วยการเพิ่มผลิตภาพและความโปร่งใสในขณะที่ยังเป็นการรับประกันด้วยว่าจะไม่มีแงงานคนใด ‘ถูกทิ้งไว้ข้างหลัง’
‘แรงงาน’ หนึ่งในความท้าทายหลักที่ต้องเปลี่ยนให้เป็นจุดแข็งในการแข่งขัน
ความท้าทายในธุรกิจการผลิตยุคปัจจุบันนั้นมีความแตกต่างจาก 10 ปีก่อนเป็นอย่างมาก ทั้งเรื่องสงครามการค้า การขาดแคลนทรัพยากร ปัญหาโรคระบาด ประเด็นเรื่องสิ่งแวดล้อม ตลอดจนปัญหาการขาดแคลนแรงงานที่ไม่ว่าประเทศใดก็สามารถพบเจอได้ ภายใต้ความไม่แน่นอนต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น เทคโนโลยีกลายเป็นส่วนสำคัญในการเข้ามาแก้ไขปัญหาได้อย่างครบถ้วนและมีประสิทธิภาพ เป็นผลจากความโปร่งใสและการตอบสนองต่อสถานการณ์แบบ Real-Time ทำให้ลดความสูญเปล่าและยกระดับผลลัพธ์การทำงานที่เกี่ยวข้องได้อย่างชัดเจน
แม้ว่าการใช้เทคโนโลยีจะเป็นส่วนสำคัญอย่างมากในการแข่งขัน แต่ก็ไม่ใช่ทุกโรงงานที่จะสามารถเปลี่ยนแปลงโรงงานตัวเองหรือใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัลได้เสมอไป ปัญหาที่เกิดขึ้นอาจเกิดจากการขาดแคลนเงินทุน ขาดองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้อง หรือในประเด็นที่สำคัญที่สุด คือ ‘แรงงาน’
Michael Lee, Product Director ด้านธุรกิจเทคโนโลยี Vision ของ SOLOMON Technology ได้มองเห็นช่องว่างของศักยภาพแรงงานที่สามารถถูกเติมเต็มได้ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ ทำให้แรงงานยังสามารถแข่งขันได้ในยุคการผลิตดิจิทัลที่ต้องการความชัดเจนในทุกมิติ “เมื่อก่อนเราผลักดันการใช้หุ่นยนต์ระบบอัตโนมัติต่าง ๆ แน่นอนว่ามันก็สามารถทำงานได้ดีแต่ก็ยังมีบางส่วนที่ยังไม่ถูกเติมเต็ม ยกตัวอย่างเช่น ตอนเกิด COVID-19 ที่ระบบอัตโนมัติกลายเป็นสิ่งที่โรงงานต่าง ๆ เร่งใช้งาน แต่เรากลับพบว่าลูกค้าบางรายที่ซื้อไปอาจเจอความลำบากในการติดตั้งบางประการ อาจขาดคนในการทำงาน และเราก็ไม่สามารถเข้าไปที่หน้างานได้ ทำให้เกิดความล่าช้าขึ้น แม้ในตอนนี้สถานการณ์จะดีขึ้นมากแล้ว แต่เรายังคงกลับไปคิดถึงเหตุการณ์นั้น แล้วก็ถามตัวเองว่าทำไมถึงต้องการหุ่นยนต์มาทดแทนคนกันล่ะ?” นี่คือคำถามสำคัญที่ทำให้ คุณ Michael ได้กลับมาทบทวนองค์ประกอบต่าง ๆ ในการผลิตยุคดิจิทัลอีกครั้ง
“เราเลยเริ่มกลับมาคิดใหม่ตั้งแต่ต้น พบว่าเจ้าของโรงงานอาจคิดว่าคนไม่สามารถทำงานได้ 24 ชั่วโมง พวกเขาเหนื่อยได้ พวกเขาทำงานพลาดได้ ประเด็นใหญ่ คือ โรงงานไม่อาจมองเห็นการทำงานของลูกจ้างแต่ละคนได้ตลอด หากมีอะไรเกิดขึ้นแล้วเจ้าของไม่รู้ ลูกจ้างอาจปกปิดหรือเพิกเฉย การนำ AI มาใส่ในแว่นอัจฉริยะน่าจะเป็นทางออกให้กับเรื่องนี้ได้อย่างตรงประเด็น เมื่อผู้คนจะต้องเรียนรู้สิ่งที่ไม่เคยทำมาก่อนอยู่ตลอดเวลา แว่นของเราจะช่วยในการเรียนรู้และการทำงาน การสวมใส่แว่นของเราจะช่วยในการทำงานได้อย่างหลากหลายด้วย AI ที่สนับสนุนการทำงานอย่างใกล้ชิด ในขณะเดียวกันนายจ้างก็สามารถตรวจสอบและประเมินผลการทำงานของลูกจ้างผ่านแว่นได้ด้วยเช่นกัน” คุณ Michael เล่าถึงการเปลี่ยนแปลงครั้งใหม่ที่ให้ความสำคัญกับลูกจ้าง ทำให้เกิดการพัฒนาโซลูชันที่ชื่อว่า META-aivi ขึ้นมาในฐานะเทคโนโลยีที่ใช้งานได้ง่าย ไม่จำเป็นต้องมีทักษะเฉพาะทาง แต่สามารถทำให้แรงงานเติบโตและพัฒนาได้อย่างปลอดภัยในสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
SOLOMON Technology ติดปีกแรงงานด้วย AI ที่ใคร ๆ ก็ใช้ได้
SOLOMON Technology ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีการผลิตอัจฉริยะจากไต้หวันที่มีประสบการณ์มายาวนานกว่า 50 ปี มีทีมงานมากกว่า 1,000 คนทั่วโลก เฉพาะในส่วนของ AI มีทีมงานกว่า 130 คนที่ร่วมกันพัฒนาเทคโนโลยีกลุ่ม Machine Vision อัจฉริยะ ซึ่งหลายคนอาจรู้จัก AccuPick โซลูชันกล้องอัจฉริยะสำหรับงาน Pick and Place ที่เคยเปิดตัวในงาน Manufacturing Expo 2022 มาแล้ว ภายใต้มุมมองที่เปลี่ยนไป SOLOMON Technology จึงได้พัฒนา META-aivi ขึ้นมาเพื่อเป็นสะพานเชื่อมต่อแรงงานกับการแข่งขันในการผลิตยุคใหม่ที่ส่งเสริมทั้งความปลอดภัยและเพิ่มศักยภาพที่สามารถวัดผลได้อย่างชัดเจน
META-aivi โซลูชันแว่นอัจฉริยะยกระดับแรงงาน
META-aivi โซลูชัน AI แบบสวมใส่จาก SOLOMON Technology เป็นแว่น AR (Augmented Reality) ที่ถูกออกแบบมาให้ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพภายใต้สภาพแวดล้อมการทำงานจริงของโรงงานอุตสาหกรรม ด้วยการออกแบบที่ผู้ใช้งานยังคงมองเห็นและตอบสนองกับสภาพแวดล้อมโดยรอบได้อย่างปลอดภัยแตกต่างจากแว่น AR/VR แบบสวมหัวเต็มรูปแบบ การสั่งงานสามารถใช้งานได้อย่างสะดวกด้วยระบบเสียงที่รองรับคำสั่งมากถึง 12 ภาษารวมถึงภาษาไทยด้วย ทำให้ไม่จำเป็นต้องใช้การวาดมือเพื่อออกคำสั่งซึ่งอาจไม่เหมาะกับการทำงานภายในสภาพแวดล้อมโรงงานสักเท่าไรนัก จุดเด่นของการใช้งานอยู่ที่ AI ที่เชื่อมต่อผ่านเครือข่ายความเร็วสูงได้อย่างหลากหลาย ทั้ง 4G LTE, 5G และ WiFi6 ทำให้สามารถสนับสนุนการทำงานผ่านฐานข้อมูลของ SOLOMON Technology เพื่อรับมือกับงานที่มีความซับซ้อนได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ สามารถปรับแต่งรูปแบบการทำงานให้เหมาะกับความต้องการของโรงงานได้ เช่น ทำการเชื่อมต่อเพื่อสำรองข้อมูลเมื่อออกจากพื้นที่ที่สัญญาณถูกปิดกั้น หรือสามารถทำงานร่วมกับระบบกล้องอื่น ๆ ในพื้นที่ เช่น กล้องรักษาความปลอดภัย (IP Cam) เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด
META-aivi ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับรางวัล Taiwan Excellence Silver Award winner สามารถใช้งานได้ในหลากหลายกิจกรรมของการผลิต ไม่ว่าจะเป็น Guideline ในการทำงานสำหรับการปรับแต่งเครื่องจักร การช่วยนับจำนวนชิ้นงานผ่านกล้อง การตรวจสอบความถูกต้องเรียบร้อย ไม่ว่าจะเป็นการระบุสินค้าที่มีการผสมกันหลากหลายรูปแบบ ขนาด และสีสัน นอกจากสนับสนุนทักษะในการทำงานและการวัดผลที่ชัดเจนแล้ว META-aivi ยังเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่ช่วยสนับสนุนด้านความปลอดภัยในการทำงานในสภาพแวดล้อมโรงงานการผลิตได้เป็นอย่างดีอีกด้วย โดยสามารถใช้งานได้ทั้งการผลิต งานโลจิสติกส์ งานเชื่อม โลหการ การสร้างตู้คอนโทรล และอุตสาหกรรมยานยนต์ ซึ่งจุดเด่นในการใช้งานมีดังนี้
- ลดความผิดพลาดแรงงาน
- ลดต้นทุนและความเสี่ยง
- ใช้งานง่าย
- ผสมผสานจุดเด่นของ Machine Vision เข้ากับความยืดหยุ่นของมนุษย์
- ใช้ได้ทั้งแรงงานไร้ทักษะและแรงงานทักษะสูง
- เพิ่มความเร็วให้กับการฝึกฝนพนักงานใหม่
“ผมขอยกตัวอย่างกรณีที่น่าสนใจ เช่น ผู้ผลิตมอเตอร์ไซค์ที่สนใจอุปกรณ์ของเราเพราะแรงงานฝีมือที่มีความเชี่ยวชาญของเขามีปัญหาจากการทำงานหนัก เกิดการเจ็บหลังและปัญหาอื่น ๆ เมื่อมีการใช้ META-aivi ของเราเพื่อฝึกให้ AI สามารถเรียนรู้และเก็บรักษาทักษะของผู้เชี่ยวชาญเหล่านั้นสำหรับใช้งานต่อไปในองค์กร อีกหนึ่งตัวอย่างในโรงงานผลิตมอเตอร์ไซค์ได้ให้ผู้เชี่ยวชาญด้านงานเชื่อมและการตรวจสอบที่แตกต่างกันออกไปเพื่อฝึก AI จากนั้นจึงส่งข้อมูลดังกล่าวออกไปเพื่อใช้งานในโรงงานของตัวเองทั่วโลก จากเมื่อก่อนชิ้นส่วนที่ผลิตจากต่างโรงงานหรือคนละประเทศนั้นมาตรฐานงานที่ได้จะแตกต่างกัน เมื่อนำไปขายในพื้นที่เดียวก็จะมีปัญหาเรื่องคุณภาพและความพึงพอใจของลูกค้าตามมา แต่ด้วยเทคโนโลยีนี้ทำให้การผลิตไม่ว่าจะเกิดขึ้นที่ใดก็ตามมีผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นไม่แตกต่างกัน AI สามารถเรียนรู้จากผู้เชี่ยวชาญในสาขาที่แตกต่างกันแล้วเก็บข้อมูลกลายเป็นสินทรัพย์ภายในองค์กรเอาไว้ได้ ซึ่งช่วยแก้ปัญหาเรื่องการขาดแคลนแรงงานทักษะได้เป็นอย่างดี” คุณ Michael เน้นย้ำถึงการแก้ไขปัญหาด้านแรงงานผ่าน META-aivi ที่ช่วยยกระดับแรงงานและวัดผลการทำงานได้อย่างชัดเจน
Solvision โซลูชัน Machine Vision ด้านการตรวจสอบชิ้นงานด้วย AI
ด้วยความเชี่ยวชาญในด้าน Machine Vision และการพัฒนาฐานข้อมูลไปจนถึงความเชี่ยวชาญ AI ที่เกี่ยวข้อง SOLOMON Technology จึงได้พัฒนาโซลูชันครบวงจรสำหรับ Machine Vision อัจฉริยะในชื่อ Solvision ขึ้นมาเพื่อลดเวลาที่ฮาร์ดแวร์ใช้ประมวลผลภาพ ประหยัดเวลาและต้นทุนในการพัฒนา Algorithms ทั้งยังมีความยืดหยุ่นในการใช้งานสูง
Solvision ซึ่งเป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์ของ SOLOMON ที่ได้รับรางวัลจาก Taiwan Excellence Award เป็นการผสานรวม AI และโซลูชันการจับภาพ 3 มิติที่เหมาะสำหรับการใช้งานในโรงงานอัตโนมัติเป็นอย่างยิ่ง สามารถตรวจจับภาพชิ้นงานที่เคลื่อนที่ได้อย่างรวดเร็วและให้ผลลัพธ์ได้อย่างครบถ้วนแม่นยำ ใช้ตัวอย่างในการเรียนรู้หรือฝึกฝน AI จำนวนน้อยด้วยเทคโนโลยี Data Augmentation ที่ถูกติดตั้งเอาไว้ภายใน มีหน้าตาการใช้งานที่เป็นมิตร สามารถนำเสนอรายงานได้อย่างครบถ้วน การตรวจสอบคุณภาพด้วยกล้องเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการผลิตชิ้นส่วนอุปกรณ์การแพทย์ที่ต้องการความปลอดภัยและต้องตรวจจับรายละเอียดที่ผิดพลาดแม้ในจุดที่เล็กที่สุดก็ตาม
“ด้วยเทคโนโลยี AOI (Automated Optical Inspection) ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันต้องมีการเขียนโค้ด และระบุอย่างชัดเจนว่าตรงไหนที่จับภาพได้ผ่านมาตรฐานหรือไม่ผ่าน เป็นลักษณะของเงื่อนไขที่ทุกอย่างต้องถูกคำนวณเอาไว้ ถ้าผลลัพธ์การตรวจนอกเหนือไปจากนั้นอาจจะกลายเป็นสูญเปล่าไปฟรี ๆ แม้ว่าที่จริงแล้วอาจจะเป็นชิ้นส่วนที่ดีก็ตาม โอกาสผิดพลาดนี้ทำให้ต้องมีแรงงานที่มีความเชี่ยวชาญคอยตรวจทานซ้ำแบบแมนนวล แต่เมื่อมีการใช้ AI เข้ามาผสมผสานกับเทคโนโลยี AOI การฝึกสอนระบบและการทำงานจะมีความยืดหยุ่นมากขึ้น ลดภาระการทำงานซ้ำซ้อน ลดของเสีย และเพิ่มคุณภาพการทำงานได้เป็นอย่างดี เพราะ Solvision ถูกออกแบบให้ใช้งานง่าย เพราะมี AI ที่ถูกออกแบบมาเฉพาะทางเป็นหัวใจหลักในการใช้งานนั่นเอง”
จะเห็นได้ว่าการออกแบบเทคโนโลยีต่าง ๆ ของ SOLOMON Technology นั้นให้ความสำคัญกับการใช้งานที่ง่ายดาย ไม่ว่าจะเป็นการบูรณาการระบบ หรือการใช้งานที่เข้าใจง่าย ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางก็สามารถใช้งานได้ ทำให้แรงงานสามารถยกระดับความสามารถเพิ่มทักษะในการทำงานได้ ในขณะที่องค์กรเองก็ลดต้นทุนและความเสี่ยงที่เกิดจากการขาดแคลนแรงงาน รวมถึงการลงทุนในระบบอัตโนมัติที่อาจจะเกินความจำเป็นของโรงงานได้เป็นอย่างดี
สนใจโซลูชัน META-aivi และ Solvision จาก SOLOMON Technology สามารถสัมผัสและทดลองใช้งานได้ที่พาวิเลียน Taiwan Excellence งาน Manufacturing Expo 2023 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค ระหว่างวันที่ 21 – 24 มิถุนายน 2023 เวลา 10.00 – 18.00 น.
เกี่ยวกับ Taiwan Excellence
Taiwan Excellence เชื่อว่ามีเพียงนวัตกรรมเท่านั้นที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลให้กับชีวิตที่ดีกว่าเดิมได้ ด้วยทีมผู้เชี่ยวชาญในการเฟ้นหาและคัดเลือกแบรนด์ที่ทุ่มเทให้กับการสร้างนวัตกรรมอันโดดเด่นไม่ว่าจะเป็นความยั่งยืน การออกแบบ การวิจัยและการพัฒนา เครื่องหมาย Taiwan Excellence จึงกลายมาเป็นที่จดจำในฐานะของผลิตภัณฑ์คุณภาพและการออกแบบ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพอันโดดเด่นของผลิตภัณฑ์จากไต้หวันสู่สายตาชาวโลก
ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถคลิกลิงค์ได้ที่: https://www.taiwanexcellence.org/th/product
การเปิดตัวผลิตภัณฑ์ Taiwan Excellence ‘Empowering Smart Manufacturing’ ณ งาน Manufacturing Expo 2023 จัดขึ้นวันที่ 21 มิถุนายน 2566 เวลา 14.00 น. ห้องประชุม SILK 1 สามารถลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรมล่วงหน้าได้ที่: https://forms.gle/QRg3kMRDSh7aBijG9
- Pages:
- 1
- 2