สสว. เผยดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการ SME (SMESI) เดือนกรกฎาคม 2565 ทรงตัวอยู่ที่ 49.0 จากระดับ 49.2 ผลจากกำลังซื้อที่ยังชะลอตัวจากรายได้ที่จำกัดและค่าครองชีพยังสูง
นายวีระพงศ์ มาลัย ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เปิดเผยรายงานดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการ SME (SME Sentiment Index: SMESI) ประจำเดือนกรกฎาคม 2565 เปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้า พบว่า ค่าดัชนี SMESI ทรงตัวอยู่ที่ 49.0 จากระดับ 49.2 ผลจากปัจจัยด้านกำไรทางธุรกิจ คำสั่งซื้อโดยรวม และการลงทุนโดยรวม ปรับตัวลดลงอยู่ที่ 46.0 52.4 และ 52.3 จากระดับ 48.7 54.1 และ 53.4 โดยมีสาเหตุสำคัญมาจากกำลังซื้อของผู้บริโภคที่ยังคงชะลอตัว เนื่องจากมีรายได้ที่จำกัดและค่าครองชีพยังอยู่ในระดับสูง รวมถึงความไม่แน่นอนต่อภาวะเศรษฐกิจทั้งในและต่างประเทศ
แก้ปัญหาพลาสติกและพลังงาน แผงออร์แกนิกโซลาร์เซลล์ | FactoryNews ep.17/4
แต่ยังมีปัจจัยที่ดีขึ้นในองค์ประกอบด้านต้นทุนและการรจ้างงาน ซึ่งปรับตัวเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 39.2 และ 49.9 จากระดับ 36.0 และ 49.0 ส่วนปริมาณการผลิต/การค้า/การบริการ ทรงตัวอยู่ในระดับที่เกินกว่าค่าฐาน อยู่ที่ 53.9 โดยมีผลมาจากการปรับตัวลดลงของราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ประกอบกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ ทั้งโครงการเราเที่ยวด้วยกันเฟส 4 ส่วนขยาย รวมถึงการอนุญาตให้เปิดสถานบันเทิงเต็มรูปแบบทั่วประเทศ จะส่งผลดีต่อการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการให้ปรับตัวดีขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป
เมื่อพิจารณารายภาคธุรกิจ พบว่า ภาคการผลิต ภาคการค้า และภาคการเกษตร ค่าดัชนีปรับตัวลดลงเล็กน้อย จากกำลังซื้อที่ชะลอตัวลง ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคและราคาวัตถุดิบเพิ่มสูงขึ้น รวมทั้งราคาต้นทุนการเกษตรที่อยู่ในระดับสูง ขณะที่ภาคบริการค่าดัชนีค่อนข้างทรงตัว โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจการท่องเที่ยวและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องค่าดัชนีปรับตัวดีขึ้นอย่างมาก จากมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวของภาครัฐ และมีนักท่องเที่ยวต่างชาติกลุ่มใหม่ๆ เดินทางเขามาท่องเที่ยวในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น ส่งผลดีต่อธุรกิจบริการ ในกลุ่มธุรกิจโรงแรม ร้านอาหารและรถรับจ้างเหมาบริการ
ในส่วนดัชนี SMESI รายภูมิภาค เดือนกรกฎาคม 2565 พบว่า ภาคใต้และภาคเหนือ ค่าดัชนีเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 46.1 และ 50.7 จากระดับ 42.7 และ 49.2 โดยมีปัจจัยบวกมาจากภาคการท่องเที่ยวเป็นหลัก โดยเฉพาะภาคใต้มีนักท่องเที่ยวกลุ่มใหม่ของพื้นที่ ได้แก่ อินเดีย ดูไบ รวมถึงการเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวและจับจ่ายใช้สอยของกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านทางด่านชายแดนไทย-มาเลเซียในพื้นที่สงขลา แต่ผู้ประกอบการโรงแรมรายเล็กยังฟื้นตัวได้ช้า ด้วยข้อจำกัดในการแข่งขันกับกลุ่มโรงแรมขนาดใหญ่ที่มีการจัดโปรโมชั่นด้านราคาอย่างต่อเนื่อง
ส่วนพื้นที่ภาคเหนือ มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวในหลายพื้นที่ ดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติให้เดินทางท่องเที่ยวในพื้นที่เป็นจำนวนมาก ส่งผลดีต่อทั้งภาคธุรกิจท่องเที่ยวและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง โดยเฉพาะร้านอาหาร สินค้าอุปโภคบริโภค รวมถึงของฝากของที่ระลึก ขณะที่กรุง เทพฯ และปริมณฑล ค่าดัชนีทรงตัวอยู่ที่ระดับ 50.3 ผลจากการเพิ่มขึ้นของจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ แต่ยังคงมีข้อจำกัดในเรื่องของต้นทุนกิจการที่ยังคงสูงอยู่
ส่วนภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ ภาคตะวันออก ค่าดัชนีลดลงอยู่ที่ 50.1 48.7 และ 46.5 จากระดับ 52.5 50.9 และ 48.3 ตามลำดับ โดยปัจจัยลบที่เป็นอุปสรรคสำคัญของทุกภูมิภาค คือ ด้านต้นทุนในการดำเนินกิจการที่ยังอยู่ในระดับสูง คู่แข่งทางธุรกิจเพิ่มมากขึ้นมีการแข่งขันทั้งด้านราคาและโปรโมชั่นต่าง ๆ ทำให้ธุรกิจรายเล็ก ๆ สามารถแข่งขันได้น้อย รวมถึงค่าใช้จ่ายในกลุ่มสินค้าอุปโภค-บริโภคยังอยู่ในระดับสูง ส่งผลให้กำลังซื้อของผู้บริโภคในพื้นที่ลดลง ทำให้รายได้ของภาคธุรกิจลดลงเช่นกัน
สำหรับดัชนีความเชื่อมั่น SMESI คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า อยู่ที่ระดับ 51.9 เพิ่มขึ้นจากช่วงก่อนหน้า ที่ระดับ 51.5 จากแนวโน้มการปรับตัวลดลงของราคาน้ำมัน และผลจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ
- ดัชนีความเชื่อมั่น SMESI อยู่เหนือระดับค่าฐานเป็นเดือนที่ 4
- สสว. เผยดัชนีความเชื่อมั่น SME เดือนพฤษภาคม 2565 ลดลง
- ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตฯ เม.ย.ร่วง
- สสว. คาดดัชนีความเชื่อมั่น SME 3 เดือนหน้าลดลง กังวลโอมิครอน
ทำให้มีสัญญาณของการเดินทางและการท่องเที่ยวจากคนไทยและต่างชาติเพิ่มมากขึ้นในช่วงปลายปี แต่ดัชนีองค์ประกอบด้านต้นทุนยังอยู่ในระดับต่ำ เพราะราคาสินค้าส่วนใหญ่ยังอยู่ในระดับสูง โดยเฉพาะกลุ่มอาหารสด และวัตถุดิบ ค่าขนส่ง ค่าเช่า ที่อาจส่งผลต่อค่าครองชีพ และกำลังซื้อผู้บริโภคในอนาคต
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ SME ยังคงต้องเฝ้าระวังและปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น คือการบริหารจัดการด้านต้นทุนที่ยังคงสูงขึ้น เพื่อลดผลกระทบกับราคาสินค้าที่ส่งถึงผู้บริโภค เช่นเดียวกับสถานการณ์การแข่งขันกับคู่แข่งโดยเฉพาะในช่องทางออนไลน์ และการทำการตลาด การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ยังส่งผลกระทบต่อเนื่องเป็นเวลานาน รวมถึงปัญหาหนี้สินและปัญหาด้านแรงงาน