SPCG

SPCG ไตรมาสแรก กำไร 646.2 ล้านบาท ธุรกิจโซลาร์รูฟรายได้พุ่ง 543% 

Date Post
15.05.2023
Post Views

SPCG โชว์งบการเงินไตรมาส 1 ทำรายได้ 1,181.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 12% จากงวดเดียวกันของปีก่อน และยังทำกำไรได้ต่อเนื่อง โดยมีกำไรสุทธิ 646.2 ล้านบาท มั่นใจผลประกอบการปีนี้ยังทำกำไรได้ต่อไป

ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ ประธานกรรมการและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เอสพีซีจี จำกัด (มหาชน) หรือ “SPCG” เปิดเผยว่า ภาพรวมธุรกิจขณะนี้ยังเดินหน้าต่อเนื่อง โดยผลการดำเนินงานในไตรมาสแรกของบริษัทและบริษัทย่อย สิ้นสุด ณ วันที่ 31 มีนาคม 2566 มีรายได้รวมจากการขายและให้บริการ จำนวน 1,181.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 12% จากงวดเดียวกันของปีก่อนที่มีรายได้อยู่ที่ 1,054.9 ล้านบาท และบริษัทฯ มีกำไรสุทธิ จำนวน 646.2 ล้านบาท ลดลง 3% จากงวดเดียวกันของปีก่อน ที่มีกำไรอยู่ที่ 666.1 ล้านบาท โดยคิดเป็นกำไรต่อหุ้นเท่ากับ 0.56 บาท

ดร.วันดี กล่าวว่า ในส่วนของรายได้ที่เพิ่มขึ้นอันดับแรกเป็นผลอันเนื่องมาจากจำนวนกระแสไฟฟ้าที่ผลิตและจำหน่ายได้ จำนวน 99.2 ล้านหน่วย จากธุรกิจผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ จำนวน 36 โซลาร์ฟาร์ม รวมกำลังการผลิตกว่า 260 เมกะวัตต์ เพิ่มขึ้นจากปีก่อน จำนวน 1.7 ล้านหน่วย หรือคิดเป็นร้อยละ 2 อย่างไรก็ดี SPCG ยังคงเดินหน้านโยบายปรับลดค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการต้นทุนด้านต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อเป็นการเสริมสร้างสภาพคล่องและรักษากำไรของบริษัท 

หัวเจาะนำศูนย์โซลิดคาร์ไบด์อเนกประสงค์ ถอดเปลี่ยนได้ Multi-Master 145° NC Spot Drills | ISCAR

อันดับต่อไปเป็นผลอันเนื่องมาจากบริษัท โซลาร์ เพาเวอร์ รูฟ จำกัด หรือ “SPR” (บริษัทในเครือ SPCG) ผู้นำด้านการออกแบบและติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา (Solar Power Roof System) มีรายได้จำนวน 226.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 543 เมื่อเทียบกับปีก่อน ซึ่งบริษัทฯ เดินหน้าขยายการติดตั้งอย่างต่อเนื่อง โดยได้มีการติดตั้งไปแล้วกว่า 200 เมกะวัตต์ ทั้งนี้เนื่องจากค่าไฟฟ้าที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับกระแสการใช้ไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดที่มีความต้องการมากขึ้น ด้วยนโยบายที่ประกาศให้ประเทศไทยจะเข้าสู่การใช้พลังงานในรูปแบบ Carbon Neutral ในปี 2050 และเป็น Net Zero ในปี 2065 อีกทั้งต้นทุนการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ได้ลดลงถูกกว่าการผลิตไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติ น้ำมัน ถ่านหิน ซึ่งนอกจากจะมีราคาสูงแล้ว ยังมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม จากการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมสำคัญของโลกปัจจุบัน โดย SPR ได้มีการปรับเปลี่ยนแผนการตลาดและกลยุทธ์ในการขายอยู่ตลอด เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันและทางเลือกให้กับลูกค้ามากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะลูกค้าในกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรมที่ยังคงให้การตอบรับเป็นอย่างดี เพราะเมื่อลูกค้าติดตั้งระบบโซลาร์รูฟของบริษัทแล้ว ต่างเห็นผลลัพธ์ที่ดี สามารถลดค่าไฟได้ทันทีเมื่อติดตั้ง อีกทั้งยังช่วยลดต้นทุนการดำเนินงาน ทำให้กิจการของลูกค้ามีกำไรเพิ่มขึ้น

ในส่วนของโครงการโซลาร์ฟาร์ม Fukuoka Miyako Mega Solar ประเทศญี่ปุ่น ขนาดกำลังการผลิตติดตั้งรวม 67 เมกะวัตต์ (MW) แบ่งเป็น 2 Phase ได้แก่ North Phase 23 เมกะวัตต์ (MW) และ South Phase 44 เมกะวัตต์ (MW) ได้ดำเนินการจำหน่ายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ (COD) ครบทั้ง 2 Phase เป็นที่เรียบร้อยแล้วเมื่อเดือนกันยายน 2564 และเดือนกุมภาพันธ์ 2566 ตามลำดับ โดยโครงการดังกล่าวมีงบการลงทุนทั้งสิ้น 3,140 ล้านเยน หรือ ประมาณ 805 ล้านบาท โดย SPCG ถือหุ้นที่ร้อยละ 10 คิดเป็นเงินจำนวน 314 ล้านเยน หรือประมาณ 91 ล้านบาท  ซึ่งโครงการดังกล่าวมีอัตรารับซื้อไฟฟ้าในรูปแบบ FiT 36 เยนต่อหน่วย ระยะเวลารับซื้อไฟฟ้า North Phase 18.7 ปี และ South Phase 17.8 ปี โดยมี Kyushu Electric Power Co., Inc. เป็นผู้รับซื้อไฟฟ้า โดยโครงการดังกล่าวสามารถผลิตไฟฟ้าได้ดีกว่าที่คาดการณ์ไว้ ทั้งนี้เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2566 ที่ผ่านมา ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ ประธานกรรมการและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เอสพีซีจี จำกัด (มหาชน) ในฐานะหนึ่งในบริษัทร่วมทุน ได้เข้าร่วมงานเปิดตัวโครงการอย่างเป็นทางการ ณ เมืองมิยาโกะ ฟุกุโอกะประเทศญี่ปุ่น

ด้านโครงการ Ukujima Mega Solar Project ขนาดกำลังการผลิตติดตั้งรวม 480 เมกะวัตต์ (MW) งบการลงทุนทั้งสิ้นประมาณ 178,758 ล้านเยน หรือประมาณ 60,000 ล้านบาท ซึ่งบริษัทฯ ถือหุ้น 17.92% หรือคิดเป็นเงินจำนวน 9,000 ล้านเยน หรือประมาณ 2,700 ล้านบาท บริษัทจะชำระเงินงวดที่เหลือภายในปี 2566 โดยปัจจุบันโครงการดังกล่าวมีความคืบหน้ามากขึ้น อยู่ระหว่างขั้นตอนการก่อสร้าง โดยคาดว่าจะเริ่มดำเนินการจำหน่ายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ (COD) ภายในเดือนกรกฎาคม 2567 

“SPCG มั่นใจว่า โซลาร์ฟาร์มที่ญี่ปุ่นทุกโครงการที่บริษัทลงทุน นอกจากจะสามารถช่วยลดสภาวะโลกร้อน หรือ Climate Change แล้ว ยังสร้างผลตอบแทนที่ดีกลับคืนมาให้บริษัทได้ในอนาคต” ดร.วันดีกล่าว

นอกจากนี้บริษัทยังคงมองหาการลงทุนโครงการใหม่ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มกำลังการผลิตไฟฟ้าของบริษัท โดยจะเน้นไปที่พลังงานหมุนเวียนเป็นหลัก โดยได้ตั้งเป้าหมายในอีก 5 ปีข้างหน้าจะมีกำลังการผลิตตามสัดส่วนการถือหุ้นไม่ต่ำกว่า 1,000 เมกะวัตต์

Logo-Company
Logo-Company
Logo-Company
logo-company
Nichaphan W.
การตลาดและประชาสัมพันธ์
Store Master - Kardex