Intelligent Asia Thailand 2025

กลยุทธ์ด้านความยั่งยืนของธุรกิจจะสำเร็จได้หากผู้บริหารเชื่อมั่น

Date Post
05.02.2020
Post Views

รายงานวิจัยชิ้นใหม่พบว่ากลยุทธ์ด้านความยั่งยืนของธุรกิจสามารถประสบความสำเร็จได้ควบคู่กับกลยุทธ์ด้านการแข่งขันที่เป็นกระแสหลักเมื่อผู้จัดการหรือผู้บริหารมีความเชื่อมั่นในกลยุทธ์

จากบทความ ‘Toward a Process Theory of Making Sustainability Strategies Legitimate in Action’ ที่ตีพิมพ์ในเอกสาร Academy of Management Journal นักวิจัยพบว่าแม้ผู้จัดการจะมีการสนับสนุนกลยุทธ์ด้านความยั่งยืนของธุรกิจแต่มันก็นำมาซึ่งความตึงเครียดในส่วนของเป้าหมาย คุณค่าและฟีเจอร์ของผลิตภัณฑ์ นำมาซึ่งปัญหาในการปรับใช้กับแผนยัทธศาสตร์หลัก สร้างความไม่ลงรอยซึ่งองค์กรจะปรับยุทธศาสตร์ใหม่นี้แต่เพียงเป็นสัญลักษณ์เท่านั้นโดยไม่ใช่เป็นการปรับเพื่อความยั่งยืนในระยะยาว

อย่างไรก็ตามนักวิจัยพบว่าการทำงานภายใต้แรงกดดันเหล่านี้บนภาระหน้าที่ที่เจาะจงสามารถทำให้ยุทธศาสตร์ประสบความสำเร็จได้ การคลายแรงเสียดทานหรือระดับความกดดันในองค์กรสำหรับยุทธศาสตร์ใหม่นี้จะช่วยให้สามารถเข้ากันได้กับยุทธศาสตร์หลักได้

จากการศึกษาเชิงคุณภาพในการปรับแผนยุทธศาสตร์ความยั่งยืนควบคู่กับยุทธศาสตร์หลักจากกรณีบริษัท TechPro ซึ่งเป็นผู้ผลิตระดับสากลมีแรงงานกว่า 2 หมื่นชีวิตและสร้างกำไรกว่า 3,500 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อปี แต่เดิมบริษัทนั้นไม่มีนโยบายด้านความยั่งยืน ช่วงเวลาที่ผ่านมาจึงเป็นเรื่องยากลำบากในการวางบทบาทองค์ใกรให้ ‘เป็นที่เชื่อใจ’ และ ‘เป็นองค์กรที่มีแต่ความจริง’ ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานของสังคมและสิ่งแวดล้อม แผนยุทธศาสตร์ใหม่นั้นเป็นที่นิยมสำหรับทีมงานมาก เห็นได้ชัดว่ามีความกะตือรือร้นอย่างมากในการแสดงออกถึงคุณค่าของตัวเองผ่านการปรับเปลี่ยนที่เกิดขึ้น

โดยยุทธศาสตร์ใหม่ให้ความสำคัญกับสถานภาพทางสังคมของ TechPro และความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมสำหรับนโยบายของผลิตภัณฑ์และพฤติกรรมทีมงาน ในขณะที่ยุทธศาสตร์หลักให้ความสำคัญกับเป้าหมายในการแข่งขันและปกป้องทำแหน่งในตลาดของตัวเอง 

ความตึงเครียดนั้นเพิ่มมากขึ้นเมื่อผู้จัดการพยายามปรับยุทธศาสตร์ด้านความยั่งยืนควบคู่ไปกับยุทธศาสตร์หลักในกิจกรรมรายวัน โดยความตึงเครียดแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่

  1. ความตึงเครียดระหว่างเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ซึ่งไปด้วยกันได้ยากกับภาระหน้าที่ซึ่งเกี่ยวข้องกับทั้งข้อปฏิบัติด้านสิ่งแวดล้อมขององค์กรและกำไร
  2. ความตึงเครียดระหว่างฟีเจอร์ผลิตภัณฑ์ซึ่งมีความลำบากในการทำงานร่วมกับฟีเจอร์ของนโยบายยั่งยืนและนโยบายหลักในเชิงของการออกแบบด้านเทคนิค หรือกระบวนการผลิต เช่น การเลือกวัตถุดิบที่เป็นมิตรกับต้นทุนหรือต้องเลือกวัตถุดิบที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
  3. ความตึงเครียดระหว่างคุณค่าองค์กร การทำให้ภาพนั้นชัดเจนหรือต้องเลือกระหว่าง การเป็นองค์กรที่มีแนวทางการแข่งขันชัดเจนหรือมีแนวทางด้านสังคม และการมีผลิตภัณฑ์ที่มัศักยภาพในการแข่งขันหรือเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความน่าเชื่อถือไว้ใจได้

นักวิจัยพบว่าแรงงานสามารถผ่อนแรงตึงเครียเเเหล่านี้โดยการดำเนินการตามกลยุทธ์ทั้ง 2 ได้ 3 รูปแบบ

  1. ปรับยุทธศาสตร์ทั้งสองให้สัมพันธ์กันโดยใช้การประนีประนอมและเปลี่ยนวิธีการมองหรือแบ่งแยกแจ่ละยุทธศาสตร์เมื่อทั้งสองยุทธศาสตร์ไม่สามารถทำงานรว่มกันได้ทั้งคู่สำหรับผลิตภัณฑ์หรือกระบวนการพัฒนา
  2. ลำดับความสำคัญของนโยบายด้านความยั่งยืนก่อนนโยบายหลักสำหรับงานที่ต้องขับเคลื่อนด้วยคุณค่า ทำให้เกิดความแตกต่างระหว่างงานโดยไม่ขยายแนวทางนโยบายนี้ให้เกินความจำเป็นในองค์กร
  3. ผสมผสานนโยบายทั้งสองเข้าด้วยกันด้วยจุดประสงค์ร่วมและการเพิ่มยุทธศาตร์ด้านความยั่งยืนให้กับกระบวนการขั้นตอนเดิมที่มีอยู่แล้ว

ยุทธศาสตร์ด้านความยั่งยืนนั้นเป็นสิ่งที่ทุกคนทุกฝ่ายให้ความสนใจไม่ว่าจะเป็นผู้บริโภค ผู้ถือหุ้น แม้กระทั่งลูกจ้างที่มีความตื่นตัวด้านสิ่งแวดล้อมกันมากขึ้นในยุคปัจจุบัน เพราะการรักษาสภาพแวดล้อมในปัจจุบันไม่ได้เป็นเพียงเทรนด์หรือความตื่นตัวที่เกิดขึ้นชั่วคราว เราสามารถมองเห็นมลภาวะได้อย่างใกล้ตัวมากในปัจจุบัน การดำเนินกลยุทธ์ที่ส่งเสริมความยั่งยืนจึงเป็นการช่วยรักษาชีวิตของตัวเอง บุคคลอันเป็นที่รัก และลูกหลานของเราในอนาคตอีกด้วย

ที่มา:

Sciencedaily.com

Intelligent Asia Thailand 2025
Logo-Company
Logo-Company
Logo-Company
logo-company
Thossathip Soonsarthorn
"Judge a man by his questions rather than his answers" Voltaire
Automation Expo