ปัจจุบันเรากำลังเข้าสู่ยุคโลกเดือด ความรุนแรงของสภาพอากาศทะลุสูงมากขึ้นเรื่อย ๆ อากาศร้อนรุนแรงมากกว่าที่เคย ภายใต้ข้อตกลงปารีส (COP26) ในปี 2015 ซึ่งมีเป้าหมายยับยั้งอุณหภูมิของโลกไม่ให้เพิ่มขึ้นเกิน 1.5 °C เมื่อเทียบกับยุคก่อนปฏิวัติอุตสาหกรรม หากถึงจุดนั้นโลกจะเกิดจุดพลิกผันทางสภาพภูมิอากาศที่ไม่อาจย้อนกลับได้
วิดีโอเกี่ยวกับอุณหภูมิของโลก
ทำไมอุณหภูมิโลกไม่ควรเกิน 1.5°C (ที่มา: ร้อยเรื่องรอบโลก by กรุณาบัวคำศรี)
โลกเสี่ยงเข้าสู่จุดพลิกผัน หากอุณหภูมิเกิน 1.5°C (ที่มา: ร้อยเรื่องรอบโลก by กรุณาบัวคำศรี)
ร้อนแล้ว ร้อนอยู่ ร้อนต่อ! อยู่กันอย่างไร เมื่อโลกจ่อร้อนทะลุ 1.5°C ในอีกแค่ 5 ปี (ที่มา: GLOBAL FOCUS)
บริษัทต่าง ๆ จึงมีเป้าหมายสู่การลดการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) แต่ในการลดการปล่อยคาร์บอนนั้นต้องลดมากแค่ไหน และด้วยความเร็วเท่าไร? หากเป้าหมายไม่ชัดเจนจะเป็นไปไม่ได้เลยที่จะยับยั้งจุดพลิกผันที่ 1.5 °C ได้ทันเวลา
เป้าหมายบนพื้นฐานของวิทยาศาสตร์ (Science Based Target)
เส้นทางที่กำหนดไว้อย่างชัดเจนในการลดการปล่อยคาร์บอนตามเป้าหมายของข้อตกลงปารีส (Paris Agreement) ซึ่งมีธุรกิจมากกว่า 5,000 แห่งทั่วโลกที่ทำงานร่วมกับ SBTi (Science Based Targets initiative) องค์กรที่จัดตั้งขึ้นจากความร่วมมือระหว่าง CDP, United Nations Global Compact, World Resources Institute (WRI) และ World Wide Fund for Nature (WWF)
โดย SBTi จะกำหนดมาตรฐาน คำแนะนำ และเครื่องมือให้บริษัทต่าง ๆ ในการตั้งเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่สอดคล้องกับสิ่งที่จำเป็นต้องทำเพื่อให้ระดับความร้อนของโลกอยู่ต่ำกว่าระดับหายนะ และถึงเป้าหมายการปล่อยคาร์บอนสุทธิอย่างช้าที่สุดภายในปี 2050 โดยแบ่งตามภาคอุตสาหกรรมยกเว้นอุตสาหกรรมน้ำมันฟอสซิล โดยอุตสาหกรรมเหล็กกล้าซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่ใช้พลังงานสูงก็เป็นหนึ่งในนั้น
Swiss Steel Group ตอกย้ำให้คำมั่นในการทำตามเป้าหมายของ SBTi และเป็นบริษัทแรกในอุตสาหกรรมเหล็กกล้าที่ผ่านการรับรองเป้าหมายที่ตั้งว่ามีความสอดคล้องกับข้อตกลงปารีส (Paris Agreement)
Swiss Steel Group ตั้งเป้าที่จะลดการปล่อยคาร์บอนซึ่งมีพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และได้รับการรับรองโดย SBTi
(ที่มา: Swiss Steel Group)
Swiss Steel Group ย้ำถึงความมุ่งมั่นต่อเป้าหมายในการจำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิให้ไม่เกิน 1.5°C เมื่อเทียบกับยุคก่อนปฏิวัติอุตสาหกรรมของข้อตกลงปารีส (Paris Agreement) และตั้งเป้าลดคาร์บอนโดยมีพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ซึ่ง Swiss Steel Group เป็นผู้ผลิตเหล็กกล้ารายแรกของโลกที่ได้รับการตรวจสอบตามวัตถุประสงค์การลดคาร์บอนของ SBTi สำหรับอุตสาหกรรมเหล็กกล้าในปี 2023 “เป้าหมายของเรา คือ การปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2038 โดยต้องปฏิบัติครบตามเงื่อนไขในกรอบที่วางไว้ เป้าหมายระยะสั้นของเราสำหรับการปล่อยคาร์บอนตามขอบเขตที่ 1 และ 2* ส่วนใหญ่เป็นการเปลี่ยนไปใช้แหล่งพลังงานและเทคโนโลยีที่ปล่อยคาร์บอนต่ำในเครื่องรีด (Rolling Mill) การทุบขึ้นรูป และเตาอบชุบแข็ง ตลอดจนการซื้อไฟฟ้าจากแหล่งหมุนเวียนและปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงาน” Frank Koch, CEO ของ Swiss Steel Group กล่าว
นอกจากนี้ Swiss Steel Group ยังตั้งเป้าที่จะเปลี่ยนวัสดุหลักที่ปล่อยคาร์บอนสูงอย่างโลหะเหล็กผสมและสารกำจัดออกซิเจน (Deoxidising Agents) ด้วยวัสดุทุติยภูมิ (เช่น เศษโลหะผสม หรืออลูมิเนียมรีไซเคิล) และโลหะผสม ‘สีเขียว’ เป็นต้น
ปี 2021 คือ ปีฐาน (Base Year) ในการลดการปล่อยคาร์บอน ส่วนเป้าหมายระยะสั้น คือ ปี 2030 ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขตามกรอบที่เหมาะสมสำหรับดำเนินการตามมาตรการต่าง ๆ Swiss Steel Group จึงตัดสินใจกำหนดเป้าหมายตามกรอบที่มีพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์เพื่อให้มั่นใจได้ว่ามีมาตรการที่น่าเชื่อถือและตรวจสอบได้ ความพยายามในการลดการปล่อยคาร์บอนอย่างสม่ำเสมอจนถึงวันนี้เป็นการสร้างพื้นฐานสำหรับการนำแนวทางใหม่ของ SBTi ไปใช้ได้อย่างรวดเร็ว ด้วยเหตุนี้ Swiss Steel Group จึงมีบทบาทเป็นผู้บุกเบิกในอุตสาหกรรมเหล็กกล้า
บทความเกี่ยวกับหนทางสู่การผลิตเหล็กกล้าที่ปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์
* กรอบฟุตพรินต์จาก Greenhouse Gas Protocol
(ที่มา: toolmakers.co)
หลายบริษัทได้รับคำแนะนำเรื่องคาร์บอนฟุตพรินต์จาก Greenhouse Gas Protocol (GHGP) ซึ่งเป็นมาตรฐานสากลที่ได้รับการยอมรับ โดยแบ่งมาตรการลดการปล่อยก๊าซออกเป็น 3 ขอบเขต ได้แก่
- ขอบเขตที่ 1 บริษัทที่มีการปล่อยคาร์บอนโดยตรง เกิดจากการสันดาปเชื้อเพลิงฟอสซิล เช่น การทำความร้อนในอาคารหรือยานพาหนะของบริษัทเอง
- ขอบเขตที่ 2 การปล่อยคาร์บอนทางอ้อม เช่น จากไฟฟ้า เครื่องทำความร้อน เครื่องทำความเย็น
- ขอบเขตที่ 3 การปล่อยคาร์บอนที่รวมการปล่อยทางอ้อมจากการสร้างคุณค่าทั้งต้นน้ำและปลายน้ำ และจากวงจรชีวิตของสินค้าที่ผลิตอย่างเครื่องมือกล รวมถึงวัสดุและส่วนประกอบจากซัพพลายเออร์ และการปล่อยคาร์บอนที่เกิดจากปฏิบัติงานของผู้ใช้เครื่องมือเครื่องจักร ซึ่งจะได้รับการประเมินอายุการใช้งานของสินค้า ไปจนถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นเมื่อสิ้นอายุการใช้งาน
ขอบเขต 1-3 ของการปล่อยคาร์บอนสำหรับผู้ซื้อเหล็กกล้า
(ที่มา: Nucor)
บทความที่แสดงให้เห็นถึงแนวทางการดำเนินการเพื่อลดการปล่อยคาร์บอนของบริษัทบางแห่ง
การวิเคราะห์วงจรชีวิต พร้อมรับมือเข้าสู่กรีนดีล
CHIRON และ ETG มุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในสิ้นปี 2022
บทความอ้างอิง : https://www.etmm-online.com/