Kosmo
Automation Warehouse

เทคโนโลยี Automation Warehouse ที่ทำให้คลังสินค้าลดการพึ่งพามนุษย์

Date Post
20.08.2024
Post Views

จากข้อมูลของ McKinsey ในปี 2022 พบว่า 23% ของผู้นำด้านการค้าปลีกและสินค้าอุปโภคบริโภคคาดว่าจะลงทุนมากกว่า 500 ล้านดอลลาร์ในระบบ Warehouse อัตโนมัติในอีก 5 ปีข้างหน้า และอีก 23% คาดว่าจะลงทุน 100 – 499 ล้านดอลลาร์

การลงทุนที่เพิ่มขึ้นในหุ่นยนต์คลังสินค้าสะท้อนให้เห็นถึงพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป ในปี 2022 มีการส่งคืนสินค้าประมาณ 16.5% คิดเป็นมูลค่าสินค้า 816 พันล้านดอลลาร์ ลูกค้าคาดหวังว่าการคืนสินค้าเหล่านี้จะไม่มีค่าใช้จ่าย และระยะเวลาในการจัดส่งจะสั้น ผู้บริโภคยุคใหม่เกือบครึ่งหนึ่งละทิ้งสินค้าที่กดไว้ในรถเข็นเนื่องจากลำดับเวลาในการจัดส่งที่สินค้านั้นยาวเกินไป และมากกว่าครึ่ง (53%) กล่าวว่าพวกเขายินดีจ่ายมากขึ้นเพื่อการจัดส่งที่รวดเร็วยิ่งขึ้น

การตอบสนองที่รวดเร็วถือเป็นความยุ่งยากที่จำเป็นต้องใช้ประสิทธิภาพสูงสุดในระบบคลังสินค้า รวมถึงการปฏิบัติตามคำสั่งซื้อทั้งกลางวันและกลางคืน ระบบ Warehouse อัตโนมัติเป็นคำตอบที่เป็นไปได้สำหรับเงื่อนไขของผู้บริโภค และหุ่นยนต์สามารถทำงานได้ตลอด 24 ชั่วโมงต่อวัน และ 7 วันต่อสัปดาห์โดยมีการบำรุงรักษาเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

ทำความรู้จักกับเทคโนโลยี Automation Warehouse

ระบบ Automation Warehouse เป็นระบบการจัดการคลังสินค้าที่ครอบคลุมหลายส่วน (หรือครบวงจร) ตั้งแต่การป้อนข้อมูลพื้นฐาน การรับสินค้าเข้าคลัง การจัดเก็บสินค้า รวมถึงการเตรียมสินค้าเพื่อรอการจัดส่งสินค้าแบบอัตโนมัติ โดยบูรณาการเทคโนโลยี 2 ส่วนหลัก ๆ ได้แก่ 

1. ด้านกระบวนการทำงาน หลัก ๆ แล้วจะประยุกต์ใช้ระบบฐานข้อมูล แล้วนำข้อมูลนั้น ๆ มาวิเคราะห์และแสดงผล เช่น การติดตามสถานะสินค้า ความเคลื่อนไหวของสินค้า การบันทึกสินค้าคงคลัง เป็นต้น
2. ด้านกายภาพ เป็นการประยุกต์ใช้ระบบหุ่นยนต์หรือกลไกต่าง ๆ ในการลำเลียงสินค้าเข้าหรือออกจากคลังสินค้า

ส่วนประกอบของ Automation Warehouse 

1 .ระบบชั้นวางสินค้า (Racking System)

ระบบชั้นวางสินค้ามีความสำคัญอย่างมากในการบริหารพื้นที่ในการจัดเก็บสินค้า ความสะดวกสบายในการนำสินค้าเข้าออกจากชั้นวางสินค้า รวมทั้งยังต้องคำนึงถึงความปลอดภัยในการนำสินค้าไปวางที่ชั้นอีกด้วย ซึ่งระบบคลังสินค้าอัตโนมัติจำเป็นต้องออกแบบให้หุ่นยนต์สามารถวิ่งเข้าออกในแต่ละชั้นวางสินค้าได้

2 .ระบบขนถ่ายวัสดุ (Material Handling System)

เป็นระบบที่อำนวยความสะดวกในการขนย้ายสินค้าเข้าออกจากคลังสินค้า โดยอาจรวมถึงการบรรจุหีบห่อ การเก็บรักษา ซึ่งระบบคลังสินค้าอัตโนมัติอาจมีการประยุกต์ใช้ชุดหุ่นยนต์แขนกลในการหยิบสินค้า ตรวจสอบสินค้า หรือนำสินค้าใส่ลงในบรรจุภัณฑ์

3. ระบบลำเลียง (Conveyor System)

เป็นการลำเลียงสินค้าไปยังส่วนต่าง ๆ ชนิดของสายพานมีหลากหลายแบบให้เลือกตามความเหมาะสมในการลำเลียงสินค้า

4. ระบบบริหารจัดการคลังสินค้า (WMS: Warehouse Management System)

เป็นระบบที่ออกแบบมาเพื่อจัดการคลังสินค้า รวมถึงการบันทึกสินค้าเข้าออก จำนวนสินค้าคงคลัง ติดตามสถานะสินค้า ระบบแจ้งเหตุ ระบบแสดงผล เป็นต้น

ข้อดีของการใช้งาน Warehouse อัตโนมัติ

1. ระบบ Warehouse อัตโนมัติสามารถรองรับความต้องการของตลาดได้ถึง 24 ชั่วโมง ใน 7 วันทำการ สามารถตอบสนองกับคำสั่งซื้อของลูกค้าได้ตลอดเวลา

2. ความสามารถในการ Scale ได้ดี เช่น ในช่วงเทศกาลวันหยุด (High Season) อาจต้องมีการเพิ่มพนักงานเพื่อรับคำสั่งซื้อ พร้อมทั้งดำเนินการอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้บริโภคและเติมสต็อกสินค้า ทาง Warehouse ยังต้องรักษาจำนวนพนักงานให้เพียงพอกับช่วงวันหยุดดังกล่าว หากกลับมาเป็นช่วงเวลาปกติ (Low Season) การรักษาจำนวนพนักงานที่เท่าเดิมก็คงไม่ใช่เหตุผลที่ดี แต่เมื่อนำหุ่นยนต์อัตโนมัติมาใช้อาจเพิ่มจำนวนหุ่นยนต์หรือเช่าหุ่นยนต์มาเพิ่มชั่วคราวได้

3. ลดงานที่ซ้ำซ้อนโดยอาศัยระบบ Warehouse อัตโนมัติมาใช้งานแทน

ข้อจำกัดของการใช้งาน Warehouse อัตโนมัติ

1. เงินลงทุนเริ่มต้นค่อนข้างสูง

2. ผู้ดูแลอาจต้องเข้าใจในระบบหุ่นยนต์และการใช้งานระบบ Digital 

แนวทางในการรับมือกับข้อจำกัดของการใช้งาน Warehouse อัตโนมัติ

การดำเนินการทีละส่วน (Phase)นำระบบอัตโนมัติไปใช้ในระยะต่าง ๆ โดยมุ่งเน้นไปที่พื้นที่ซึ่งใช้แรงงานสูงเป็นอันดับแรก อาจจะลดค่าใช้จ่ายจากการทำงานล่วงเวลาและลดการผิดพลาดจากคนได้

การใช้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานที่มีอยู่คิดและตัดสินใจในการใช้ระบบให้มีประสิทธิภาพโดยอาศัยโครงสร้างพื้นฐานที่มีอยู่ ช่วยลดความจำเป็นในการปรับเปลี่ยนโครงสร้างที่มีค่าใช้จ่ายสูง 

มองหาคำแนะนำจากที่ปรึกษาหรือผู้เชี่ยวชาญในระบบอัตโนมัติ การออกแบบคลังสินค้า และดูแลระบบ Warehouse อัตโนมัติ ประสบการณ์ของพวกเขาสามารถให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับโอกาสในการประหยัดต้นทุน ข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้น กลยุทธ์ในการเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของโครงการระบบอัตโนมัติได้สูงสุด

Logo-Company
Logo-Company
Logo-Company
logo-company
Naichangmashare
กลุ่มวิศวกรที่มีประสบการณ์ในอุตสาหกรรมหลายสาขา รวมตัวกันสร้างชุมชนแบ่งปันความรู้ด้านอุตสาหกรรม เพื่อให้งานช่างและวิศวกรรมเป็นเรื่องง่ายสำหรับทุกคน ติดตามได้ทาง FB นายช่างมาแชร์
Automation Expo