Vitual Reality (VR)

เทคโนโลยี Virtual Reality (VR) ในงานอุตสาหกรรม

01.10.2024

เทคโนโลยีโลกเสมือนจริง หรือ Virtual Reality (VR) เป็นการสร้างสภาพแวดล้อมจำลองโลกเสมือนความเป็นจริงที่ผู้ใช้สามารถรับประสบการณ์ที่มีเข้ากับการเคลื่อนไหวและปฏิสัมพันธ์กับสิ่งต่าง ๆ โดยมักใช้ หน้าจอ แว่นตา ถุงมือ ตลอดจนเซ็นเซอร์ต่าง ๆ 

หลาย ๆ ท่านอาจจะรู้จักเทคโนโลยี Vitual Reality หรือ VR กันไปบ้างแล้ว เพราะในช่วง 1-3 ปีที่ผ่านมามีการเปิดตัว Gadget ประเภทนี้ในหลาย ๆ รุ่น โดยการนำไปใช้งานหลัก ๆ ไม่ว่าจะเป็นการดูหนังหรือการเล่นเกมในระบบ VR กัน หรือแว่นตาล่าสุดของทาง Apple ก็อาจจะสามารถอำนวยความสะดวกระดับ Multi-Function กันได้เลยทีเดียว แล้วในสายอุตสาหกรรมทุกวันนี้อย่างเทคโนโลยี VR มีการนำไปใช้งานอะไรกันบ้างแล้ว? วันนี้ทางนายช่างมาแชร์จะขอมาเล่าให้ฟังกันนะครับ

1. การดูชิ้นส่วนของเครื่องจักร CAD/CAM ด้วยเทคโนโลยี VR

แบบ CAD/CAM คือ ภาพประกอบของชิ้นงานหรือเครื่องจักรกลที่เขียนขึ้นโดยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ซึ่งในยุคสมัยนี้สามารถเปิดและใช้งานด้วยเทคโนโลยี VR ได้แล้ว เราสามารถแยกภาพประกอบชิ้นส่วนของเครื่องจักรออกทีละชิ้น ๆ และดูรายละเอียดของชิ้นส่วนได้อย่างครบถ้วน หากเคยดูหนัง IRON MAN ก็จะอารมณ์ประมาณนั้นเลย

2. การเข้าไปอยู่ในโรงงานจำลอง 3D Model 

หากใครเคยทำงานสายโรงงานมาก็จะรู้ว่า ในโรงงานบางแห่งที่ค่อนข้างใหม่จะมีการเก็บแบบ 3D ที่เป็น Master ไว้ ซึ่งในยุคก่อน ๆ ต้องเปิดโปรแกรมตระกูล 3D ลากเมาส์ไป ๆ มา ๆ เพื่อดูรายละเอียด แต่ปัจจุบันนี้เราสามารถจำลองเทคโนโลยี VR ให้เราเป็นบุคคลเสมือนซึ่งสามารถโยนไปตามตำแหน่งของโรงงานได้เลย และยิ่งโรงงานไหนมีการผนวกเทคโนโลยีของ IIoT เข้าไปแล้วด้วย จะสามารถดูสถานะเครื่องจักร อัตราการผลิต สภาพเครื่องจักร ตลอดจนความผิดปกติได้อีกด้วย ซึ่งบางกลุ่มโรงงานมีการประยุกต์ใช้กันจริง ๆ แล้ว

3. การจำลองวิเคราะห์ทางวิศวกรรม Simulation and Analysis

หากพูดถึงสายวิศวกรรมการทำ Engineering Simulation ถือเป็นงานเชิงเทคนิคขั้นสูงเพื่อจำลองเหตุการณ์บางอย่าง เช่น ประสิทธิภาพของของไหลในอุปกรณ์ต่าง ๆ อาทิ ปั๊ม คอมเพรสเซอร์ ตลอดจนเครื่องบิน หรือการจำลองความเสียหายทางวัสดุของเครื่องจักรต่าง ๆ เช่นเดียวกันกับ 2 ข้อแรก การทำ Simulation มีความซับซ้อนค่อนข้างมาก การนำเทคโนโลยี VR มาใช้เราจะสามารถดูรายละเอียดในมุมต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ลองนึกภาพส่วนโค้งหรือส่วนหลบมุมต่าง ๆ ของชิ้นส่วนปีกเครื่องบินที่กำลังรับลมอยู่แล้วเรากำลังวิเคราะห์แรงเค้น (Stress) ในเนื้อวัสดุที่มุมต่าง ๆ กัน

บทสรุป : ในตัวอย่างที่กล่าวมาอาจจะขอกล่าวถึงมุมของโรงงานในภาพกว้าง ๆ หากนำเทคโนโลยีดังกล่าวมาประยุกต์ใช้และสามารถต่อยอดในงานอื่น ๆ ได้อีกมากมาย เช่น การ Training & Education, การทำ JSEA ในงานที่มีความซับซ้อนสูง ๆ, การทำ Design Visualization และ Prototype รวมถึงการทำ Job Method หรือ Construction Planning ได้อีกด้วย 

สุดท้ายนี้ เทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วมาก ๆ ใครตกรถไฟตามไม่ทันอาจจะเสียเปรียบคู่แข่งเอาง่าย ๆ  Keep Learning & Improvement นะครับ แล้วพบกันใหม่ในบทความหน้า

Naichangmashare
กลุ่มวิศวกรที่มีประสบการณ์ในอุตสาหกรรมหลายสาขา รวมตัวกันสร้างชุมชนแบ่งปันความรู้ด้านอุตสาหกรรม เพื่อให้งานช่างและวิศวกรรมเป็นเรื่องง่ายสำหรับทุกคน ติดตามได้ทาง FB นายช่างมาแชร์