The Researcher: ความสำคัญของสภาพแวดล้อมการทำงานในโรงงาน

Date Post
10.05.2018
Post Views

ความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีการผลิตนำมาซึ่งความสภาพแวดล้อมการทำงานและปัญหาสภาพแวดล้อมใหม่ ๆ โดยเฉพาะมลพิษในสภาวะแวดล้อมที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุและการบาดเจ็บในการทำงานที่มีมูลค่าสูงถึง 1,700 ล้านบาท (พ.ศ. 2550) ดังนั้นปัญหาด้านสภาวะแวดล้อมการทำงานในโรงงานจำเป็นต้องได้รับการตรวจสอบแก้ไขให้อยู่ภายใต้ความเหมาะสมที่กำหนด ซึ่งการใช้งานเทคโนโลยีเซนเซอร์ในการตรวจสอบสามารถช่วยป้องกันความสูญเสียดังกล่าวได้

จากรายงานการวิจัย ‘การประเมินและวางแผนปรับปรุงสภาวะแวดล้อมการทำงานในงานอุตสาหกรรม’ โดย สำนักวิชาแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ชี้ให้เห็นความสำคัญของการตรวจสอบค่ามาตรฐานของความร้อน แสงสว่างและเสียงด้วยการพัฒนาระบบการเฝ้าตรวจและประเมินสภาวะการทำงานในงานอุตสาหกรรมด้วยเทคโนโลยีราคาถูก โดยความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากทั้ง 3 ปัจจัย มีดังนี้

1. ความร้อน

ความร้อนเป็นปัญหาหลักที่สามารถพบได้ทั่วไปในโรงงาน ซึ่งอุณภูมิที่ 41 องศาเซลเซียสขึ้นไปถือว่ามีอันตรายสูงสำหรับชีวิตมนุษย์ เซลล์ประสาทส่วนกลางบางส่วนสามารถถูกทำลายอย่างถาวรได้ นอกจากนี้ความร้อนยังสามารถทำให้เกิดการอ่อนเพลียและการขาดน้ำได้อีกด้วย

2. แสงสว่าง

แสงว่างที่น้อยเกินไปจะทำให้กล้ามเนื้อตาทำงานมากเกินสภาวะปรกติ ใช้เวลาในการทำงานเพิ่มขึ้น หากมีแสงสว่างมากเกินไปสามารถสร้างความเมื่อยล้าให้ดวงตา เกิดอาการวิงเวียน และส่งผลต่อการมองเห็นที่แย่ลง

3. เสียง

เสียงสามารถส่งผลเสียต่อสมรรถภาพการได้ยิน ซึ่งเกี่ยวเนื่องกับการรับรู้และเตือนภัยอันตราย เช่น อาการหูอื้อ หูตึง หูหนวกถาวร ซึ่งสามารถส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจและสุขภาพทั่วไปได้ เช่น คลื่นเสียงความถี่ระหว่าง 200 – 1,500 Hz สามารถทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ได้ ส่งผลต่อศักยภาพในการทำงาน

นักวิจัยได้ออกแบบและเขียนโปรแกรมคำสั่งเซนเซอร์ด้วยบอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์ตระกูล AVR และการเลือกใช้เซนเซอร์คุณภาพเหมาะสมกับการใช้งาน โดยได้เลือกใช้เซนเซอร์ SHT15 สำหรับตรวจจับอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ สำหรับการตรวจจับความเข้มแสงใข้การเขียนโปรแกรมควบคุมการทำงานไมโครคอนโทรลเลอร์ ATmega328 และเซนเซอร์ LDR วัดความเข้มแสงที่พัฒนาขึ้นเองโดยมีราคาเพียง 150 บาท หากเทียบกับท้องตลาดที่มีช่วงราคาอยู่ที่ 2,000 – 50,000 บาท สำหรับเซนเซอร์ตรวจจับเสียงนั้นได้พัฒนาขึ้นมาด้วยงบประมาณ 2,500 บาท เทียบราคาท้องตลาด 8,000  – 500,000 บาท ตอบสนองระดับเสียง 50 – 100 dB ในช่วงความถี่ 50 – 8000 Hz

อย่างไรก็ตามการพัฒนาเซนเซอร์ตรวจจับต่างๆ นั้นมีช่วงการตอบสนองการทำงานที่แตกต่างกัน โดยเซนเซอร์เสียงมีความคลาดเคลื่อนค่อนข้างสูงสำหรับย่านความถี่สูง เซนเซอร์แสงมีความคลาดเคลื่อนในช่วงความเข้มแสงน้อย และเซนเซอร์อุณภูมิที่มีราคาค่อนข้างสูงหากเปรียบเทียบกับตัวต้นแบบที่ไม่สามารถตรวจวัดความชื้นสัมพัทธ์ได้ การนำงานวิจัยนี้มาประยุกต์ต่อยอดการใช้งานในสภาวะแวดล้อมจริงของแต่ละสถานที่สามารถช่วยตรวจสอบปัญหาที่เกิดขึ้นในโรงงานได้ ลดความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นและเพิ่มศักยภาพการทำงานด้วยสภาวะแวดล้อมที่ปลอดภัยเหมาะสมกับการผลิต


ที่มา:

  • สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
Logo-Company
Logo-Company
Logo-Company
logo-company
Thossathip Soonsarthorn
"Judge a man by his questions rather than his answers" Voltaire
Digitech2024