Intelligent Asia Thailand 2025
ดัชนีเชื่อมั่นอุตฯ

ดัชนีเชื่อมั่นอุตฯ ต่ำสุดในรอบ 10 เดือน วอนเร่งจัดตั้งรัฐบาล แก้เศรษฐกิจด่วน

Date Post
16.08.2023
Post Views

ส.อ.ท.เผย ความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม เดือนกรกฎาคม 2566 อยู่ที่ระดับ 92.3 ปรับตัวลดลง จาก 94.1 ในเดือนมิถุนายน และค่าดัชนีฯต่ำสุดในรอบ 10 เดือน วอนเร่งจัดตั้งรัฐบาล แก้เศรษฐกิจเร่งด่วน

ดัชนีเชื่อมั่นอุตฯ

นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.)  และนายพิภพ โชควัฒนา กรรมการสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ร่วมเปิดเผยผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือนกรกฎาคม 2566 อยู่ที่ระดับ 92.3 ปรับตัวลดลง จาก 94.1 ในเดือนมิถุนายน และค่าดัชนีฯต่ำสุดในรอบ 10 เดือน เมื่อพิจารณาองค์ประกอบของค่าดัชนีฯ พบว่าปรับตัวลดลงทุกองค์ประกอบ ทั้งดัชนีฯ คำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการ และผลประกอบการ เนื่องจากภาคการผลิตและอุปสงค์สินค้าชะลอตัวลงจากเดือนก่อนหน้า โดยมีปัจจัยเสี่ยงในประเทศมาจากปัญหาหนี้ครัวเรือนที่และค่าครองชีพที่อยู่ในระดับสูง ส่งผลให้กำลังซื้อของครัวเรือนอ่อนแอลง ส่งผลต่อความต้องการบริโภคสินค้าอุตสาหกรรมลดลง  ขณะที่อัตราดอกเบี้ยอยู่ในทิศทางขาขึ้น ทำให้ต้นทุนทางการเงินสูงขึ้น 

Firma Vogt โรงงานผลิตแบตเตอรี่ประกาศเดินหน้าต่อ แม้จะมีข้อกังวลเรื่องการระเบิด

นอกจากนี้สถานการณ์ทางการเมืองยังมีความไม่ชัดเจนเกี่ยวกับการจัดตั้งรัฐบาล ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของภาคเอกชน สำหรับปัจจัยเสี่ยงนอกประเทศมาจากเศรษฐกิจโลกที่ยังมีความเปราะบางจากอุปสงค์ในตลาดโลกลดลง ทำให้การส่งออกส่งสัญญาณชะลอตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 9 ขณะที่เศรษฐกิจจีนที่ขยายตัวต่ำกว่าคาด อย่างไรก็ตามยังมีปัจจัยสนับสนุนจากการขยายตัวของภาคการท่องเที่ยวที่ช่วยพยุงการบริโภคและการใช้จ่ายในประเทศ

สำหรับดัชนีฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า อยู่ที่ระดับ 100.2 ปรับตัวลดลง จาก 102.1 ในเดือนมิถุนายน เนื่องจากผู้ประกอบการกังวลต่อความล่าช้าในการจัดตั้งรัฐบาล ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการจัดทำงบประมาณภาครัฐ ตลอดจนขาดความต่อเนื่องในการดำเนินนโยบายขับเคลื่อนเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตามต้นทุนการผลิตมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น อาทิ ราคาพลังงาน ค่าไฟฟ้าและค่าจ้างแรงงาน เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินกิจการ ขณะที่สภาวะเศรษฐกิจโลกยังมีความไม่แน่นอนสูง

ข้อเสนอแนะต่อภาครัฐ 

1)  เร่งจัดตั้งรัฐบาลโดยเร็วและออกนโยบายฟื้นฟูและกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างเร่งด่วน เพื่อแก้ไขปัญหาปากท้องประชาชน รวมทั้งสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนและกระตุ้นกำลังซื้อในประเทศ

2)  เร่งออกมาตรการบรรเทาผลกระทบจากภาระต้นทุนดอกเบี้ยเงินกู้ที่ปรับตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะผู้ประกอบการ SMEs เพื่อเสริมสภาพคล่องทางการเงินและลดความเสี่ยงการเป็นหนี้เสีย (NPL)

3)  ขอให้ใช้กลไกของทูตพาณิชย์ในการเจรจาเร่งจัดทำความตกลงการค้าเสรี (FTA) และลดปัญหาทั้งอุปสรรคทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี (Non-Tariff Barriers: NTBs) และมาตรการทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี(Non-Tariff Measures: NTMs) รวมทั้งจัดกิจกรรมส่งเสริมการค้าแบบมุ่งเป้าไปยังกลุ่มประเทศที่มีศักยภาพ เช่น กลุ่ม GCC, ลาตินอเมริกา,  เอเชียใต้ เป็นต้น เพื่อช่วยขยายโอกาสทางการค้าและสนับสนุนภาคการส่งออก

4)  ขอให้ภาครัฐเร่งดำเนินการเบิกจ่ายงบประมาณให้เป็นไปตามเป้าหมาย โดยเฉพาะโครงการลงทุนต่างๆ ที่ยังค้างท่อ เพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ

Logo-Company
Logo-Company
Logo-Company
logo-company
Nichaphan W.
การตลาดและประชาสัมพันธ์
Automation Expo