Toyota Motor จับมือเครือเจริญโภคภัณฑ์ (CP) เตรียมผลิตไฮโดรเจนด้วยของเสียที่ได้จากฟาร์มของเครือ CP เพื่อสร้างความเป็นกลางทางคาร์บอนในประเทศไทย
โดยการร่วมมือในครั้งนี้เป็นการนำเอาก๊าซชีวภาพจากของเสียที่ได้จากมูลไก่หรือและเศษอาหารในท้องถิ่นมาใช้ในการผลิตไฮโดรเจน ซึ่งจะถูกนำมาใช้กับรถบรรทุกพลังงานไฟฟ้าแบบเซลล์เชื้อเพลิงนั่นเอง
- ‘PPH2’ วัสดุใหม่สุดล้ำสำหรับการใช้ระบบไฮโดรเจน
- Rolls-Royce ร่วมมือ easyJet พัฒนาเครื่องยนต์เจ็ทพลังไฮโดรเจนครั้งแรกของโลก
ในส่วนของอุปกรณ์สำหรับการผลิตก๊าซไฮโดรเจนนั้นจะได้รับการผลิตโดย Mitsubishi Kakoki และจะถูกติดตั้งเอาไว้ที่สำนักงานใหญ่ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของ Toyota จังหวัดสมุทรปราการ ภายในช่วงเดือนพฤศจิกายนนี้ ซึ่งคาดว่าจะสามารถทำการผลิตไฮโดรเจนได้ที่อัตรา 1,000 ลิตร/ชั่วโมง
นอกจากนี้ทาง Toyota และ Toyota Tsusho ยังมีการทำงานร่วมกันเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของอุปกรณ์สำหรับการผลิตไฮโดรเจนให้มีความเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ในท้องถิ่นมากขึ้น และจะพัฒนาให้มีการครอบคลุมแต่ละขั้นตอนได้ตั้งแต่การผลิต การขนส่ง การจัดเก็บ และการใช้งานก๊าซไฮโดรเจน
เพิ่มเติมจากผู้เขียน : การแบ่งประเภทของก๊าซไฮโดรเจนถูกแบ่งออกเป็น 3 สีหลัก ได้แก่ ไฮโดรเจนสีเทา (Grey Hydrogen) ไฮโดรเจนสีน้ำเงิน (Blue hydrogen) และไฮโดรเจนสีเขียว (Green Hydrogen) ซึ่งจะถูกแบ่งตามรูปแบบที่ใช้ในการผลิตนั่นเอง อ่านข้อมูลเพิ่มเติมที่นี่
โครงการนำร่องครั้งแรกของประเทศไทย
ความร่วมมือนี้ถือเป็นครั้งแรกของ Toyota และประเทศไทยในการเปิดตัวโครงการนำร่องสำหรับการผลิตไฮโดรเจนด้วยก๊าซชีวภาพ ซึ่งจะสามารถช่วยลดการปล่อยคาร์บอนในภาคการขนส่งของประเทศไทยลงได้อย่างมหาศาล
โครงการนี้จึงถือเป็นอีกจุดเริ่มต้นที่สำคัญของประธานบริษัท Toyota ผู้ได้ประกาศออกมาว่าเขาต้องการจะผลักดันการใช้งานรถยนต์พลังงานไฮโดรเจนและพลังงานไฮบริดควบคู่ไปด้วย แทนการมุ่งเน้นไปที่การเปลี่ยนผ่านเข้าสู่การผลิตรถยนต์ EV เพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ท่ามกลางกระแสของรถยนต์ไฟฟ้าที่กำลังมาแรงเช่นนี้ ท่าทีในอนาคตของ Toyota จะเลือกตัดสินใจอย่างไรต่อไปนั้นก็คงจะต้องรอติดตามกันต่อไปครับ
ที่มา : Toyota