Kosmo
เปิดตัว ‘ultraTEC’

Vollmer เปิดตัว ‘ultraTEC’ ระบบลบคมด้วยอัลตร้าโซนิคที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 

Date Post
19.04.2024
Post Views

คลื่นที่มีความถี่เหนือเสียง (> 20,000 เฮิร์ต) คือ ‘อัลตร้าโซนิค’ โดยปัจจุบันถูกนำมาใช้งานในอุตสาหกรรมการแพทย์ (การสร้างภาพจากอัลตร้าซาวด์) การเชื่อมและตัดโลหะ และการทำความสะอาดชิ้นงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ประหยัดพลังงาน และไม่ใช้สารเคมีที่รุนแรงในกระบวนการ

เปิดตัว ‘ultraTEC’

นอกจากนี้ ยังมีการใช้งานอีกอย่างหนึ่งในวงการอุตสาหกรรมการผลิต นั่นคือ การลบคมเสี้ยน (Deburring) ซึ่งใช้หลักการเดียวกันกับการทำความสะอาดด้วยอัลตร้าโซนิค แต่ใช้อุปกรณ์พ่นคลื่นอัลตร้าโซนิคออกมาเป็นลำ เพื่อลบคมบนชิ้นงานที่จับโดยหุ่นยนต์แบบเฉพาะเจาะจง

คลิปวิดีโอ UltraTEC ลบเสี้ยนคมด้วยอัลตร้าโซนิค

คลิปวิดีโอ VOLLMER เปิดตัวเทคโนโลยีใหม่ล่าสุด การลบเสี้ยนคมด้วยอัลตร้าโซนิค 

นวัตกรรมการลบคมนี้คิดค้นโดยบริษัทสตาร์ทอัพสัญชาติเยอรมัน ultraTEC’ ซึ่งปัจจุบันอยู่ภายใต้กลุ่มบริษัท Vollmer Group ที่มีโซลูชันการผลิตที่หลากหลาย มีกระบวนการเจียระไนที่ก่อให้เกิดเสี้ยนคมมากมาย หากตกแต่งชิ้นงานด้วยมือจะใช้ทั้งแรงงานและเวลาเป็นอย่างมาก ด้วยปัญหาค่าแรงที่สูงขึ้นจากภาวะเงินเฟ้อทำให้ VOLLMER มองหาระบบอัตโนมัติที่ไม่ต้องใช้แรงงาน รวมถึงกระบวนการตกแต่งชิ้นงานด้วย

ultraTEC ได้ทาบทาม VOLLMER ให้มาซื้อกิจการ เนื่องจาก VOLLMER มีฐานลูกค้ากระบวนการเจียระไนอยู่มากในหลากหลายประเทศ ตลอดจนมีบริษัทในเครือที่ทำหน้าที่กระจายสินค้าสามารถทำให้เทคโนโลยีเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้กว้างขวาง ในอีกมุมหนึ่งจะเห็นได้ว่า VOLLMER ไม่ได้เป็นผู้คิดค้นเทคโนโลยีนี้ขึ้นมาเอง แต่ได้มาจากการเข้าซื้อบริษัทสตาร์ทอัพ ซึ่งเทคโนโลยีที่ซื้อมานั้นหากตอบโจทย์กลุ่มลูกค้าที่มีก็สามารถนำมาขายพ่วงกับกลุ่มลูกค้าเจียระไนเดิมที่ชิ้นงานจำเป็นต้องมีการลบคมได้ 

The Vollmer Ultratec Innovation A25 ultrasonic deburring system

เครื่องลบคมอัลตร้าโซนิค Vollmer Ultratec Innovation A25 

(ที่มา: Vollmer)

คุณสมบัติของเครื่องลบคม Ultratec Ultrasonic A25 

  • เทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ใช้น้ำแทนสารเคมี น้ำที่ใช้ในกระบวนการไม่ต้องผ่านการบำบัดสารเคมี
  • กำจัดเสี้ยนคมต่าง ๆ ออกจากชิ้นส่วน โดยไม่ก่อให้เกิดความเสียหาย การเสียรูป การเปลี่ยนสี การเปลี่ยนแปลงขนาด ค่าเชิงกล และค่าทางเทคนิคต่าง ๆ
  • สามารถใช้กับชิ้นส่วนที่มีขนาดเล็ก บอบบาง ซึ่งไม่สามารถลบเสี้ยนคมด้วยวิธีการอื่นได้
  • เหมาะสำหรับการใช้งานในภาคส่วนที่มีการควบคุมระดับสูง มีความท้าทาย เช่น อุตสาหกรรมการแพทย์ อาหารและยา การบินและอวกาศ อิเล็กทรอนิกส์ และอื่น ๆ อีกมากมาย

หลักการทำงานในการทำความสะอาดและลบคม

Ultratec Ultrasonic A25 ก่อตัวและระเบิดฟองอากาศแบบ Implosion (ยุบตัวเข้าข้างใน) ในน้ำที่ปล่อยพลังงานเข้มข้นออกมาระหว่างการระเบิด สิ่งนี้สร้างขึ้นด้วยการสั่นระดับสูงสุดขีดที่ 20 กิโลเฮิร์ต (การสั่น 20,000 ครั้งต่อวินาที) โดยมีความกว้างของการสั่นที่ +/-80-120 ไมครอน ซึ่งเป็นแอมพลิจูดที่สูงกว่ามากเมื่อเทียบกับการใช้อัลตร้าโซนิคในการทำความสะอาด การตัด และการเชื่อม เครื่องส่งสัญญาณอัลตร้าโซนิคหรือแตรอัลตร้าโซนิคที่อยู่ในน้ำถูกตั้งค่าการสั่นแบบก้องกังวานเพื่อส่งแรงที่สูงมากไปยังถังเก็บน้ำ เส้นผ่านศูนย์กลางของเครื่องส่งสัญญาณมีตั้งแต่ 1.2 – 14 มม. โดยยึดตำแหน่งไว้ในถังเก็บน้ำ ชิ้นส่วนต่าง ๆ จะขยับไปรอบ ๆ เครื่องส่งสัญญาณเหมือนหุ่นยนต์ เครื่องส่งสัญญาณอัลตร้าโซนิคก็จะพ่นโพรงไอที่มีความเร็วตั้งแต่ 25 เมตร/วินาที เพื่อไปทำลายเสี้ยนคมให้ออกจากชิ้นส่วนดังกล่าว 

คลิปวิดีโอ หลักการทำงานของการทำความสะอาดด้วยอัลตร้าโซนิค

The ultrasonic horn and parts gripped in the Ultratec A25 machine from Vollmer UK

The auto loading system on the Ultratec A25

เครื่อง Ultratec Ultrasonic A25 ใช้อ่างสเตนเลสสตีลขนาด 40 ลิตร ที่สามารถรองรับชิ้นส่วนขนาด 150 x 150 x 150 มม. และน้ำหนักมากถึง 1.5 กก. ในอ่างมีเครื่องส่งสัญญาณอัลตร้าโซนิคหรือแตรอัลตร้าโซนิคที่อยู่ตรงข้ามกัน 2 ตัวเพื่อรองรับการใช้งานที่หลากหลาย เมื่อลบคมเสร็จเรียบร้อยแล้ว ชิ้นส่วนต่าง ๆ จะถูกย้ายไปยังสถานีเป่าลมอัด และถูกรวบรวมจากพาเลทภายนอกด้วยหุ่นยนต์อุตสาหกรรม ABB แบบ 6 แกน ที่ได้รับการติดตั้งโปรแกรมผ่านแอปพลิเคชันที่รวมอยู่ใน ABB Robot Studio ซึ่งเป็นระบบ CAM สำหรับการลบคมด้วยคลื่นอัลตร้าโซนิค 

* CAM (Computer Aided Manufacturing) คือ การผลิตที่ใช้คอมพิวเตอร์ช่วย

บทความอ้างอิง: https://www.etmm-online.com

Logo-Company
Logo-Company
Logo-Company
logo-company
Kasiwoot T.
อดีตวิศวกรโรงงาน (Industrial Engineer) บริษัทผลิตฮาร์ดดิสก์ ที่ผันตัวมาทำงานด้านการขายและการตลาดสินค้าอุปโภคบริโภคและส่งออก มีประสบการณ์อยู่ในช่วงการเปลี่ยนถ่ายของโรงงานชิ้นส่วนอิเล็คทรอนิกส์จากการใช้แรงงานคนแบบดั้งเดิม (Labor Intensive) เป็นการผลิตระบบอัตโนมัติด้วยเครื่องจักรทั้งหมด 24 ชม. (Full automation)