ที่ผ่านมานั้นขยะพลาสติกกว่า 80% ในมหาสมุทรต่างก็มีที่มาจากแม่น้ำ ลำคลอง ท่าเรือและชายหาดก่อนจะไหลลงมาสู่ทะเล ซึ่งปัญหาขยะพลาสติกเหล่านี้ก็ยังคงเพิ่มปริมาณขึ้นในทุกปีและยังส่งผลต่อระบบนิเวศของโลกเราอีกด้วย
ปัญหาเหล่านี้ทำให้บริษัท Ranmarine Technology สัญชาติเนเธอร์แลนด์ได้พัฒนาโดรนลอยน้ำอัตโนมัติ (Autonomous Surface Vessel – ASV) สำหรับการปรับปรุงคุณภาพน้ำเข้ามาช่วยแก้ปัญหาขยะพลาสติกและมลพิษทางน้ำให้หมดไป
- 2 องค์กรอังกฤษจับมือนำทดสอบระบบโดรนช่วยชีวิตคนบนชายหาด
- บินนานขนส่งหนักได้มากกว่าเดิม โดรนพลังงานไฮโดรเจน H2D55
- Dronamics ทดสอบ ‘Black Swan’ โดรนขนส่งระหว่างประเทศสำเร็จ
โดรนที่พัฒนาขึ้นโดยได้รับแรงบันดาลใจมาจากฉลามวาฬนี้มีชื่อว่า ‘Waste Shark Aqua Drone’ หรือ WasteShark มีน้ำหนัก 72 กิโลกรัม เคลื่อนด้วยความเร็วสูงสุดได้ 3 กม./ชม. ทำการขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าสองตัว และจะถูกใช้ว่ายผ่านบริเวณน้ำที่มีมลพิษสูงเพื่อทำการเก็บขยะในน้ำ ไม่ว่าจะเป็นขวด ถุงพลาสติกหรือชีวมวลที่รุกรานแหล่งน้ำ
WasteShark นั้นสามารถทำการควบคุมได้ทั้งในระยะไกลผ่านวิทยุหรือทำการว่ายตามเส้นทางที่กำหนดไว้โดยอัตโนมัติได้ต่อเนื่องกว่า 8 ชม. มาพร้อมระบบกล้อง เซ็นเซอร์ และตัวรับสัญญาณ GNSS (ระบบนำทางด้วยดาวเทียม) โดยเมื่ออยู่ในน้ำนั้น Waste Shark สามารถทำการปรับทิศทางตัวเองได้อย่างอิสระและยังทำการหลบหลีกสิ่งกีดขวางรอบตัวได้ด้วยกล้องด้านหน้าและเซ็นเซอร์ LiDAR
คุณสมบัติเหล่านี้ทำให้ WasteShark สามารถกำจัดขยะในแหล่งน้ำได้มากกว่า 500 กิโลกรัมต่อวัน ซึ่งโดรน WasteShark นั้นยังถือเป็นโซลูชันที่ใช้ต้นทุนต่ำและยังไม่มีการปล่อยคาร์บอนออกมาระหว่างการทำงาน ซึ่งภายหลังจากนี้ทางทีมยังมีแผนสาธิตการใช้งาน WasteShark ภายในช่วงท้ายเดือนกันยายนนี้อีกด้วย
ข้อมูลเพิ่มเติม : RanMarine