ทำความรู้จัก AI ในอุตสาหกรรมคืออะไร
AI หรือ Artificial Intelligence (ปัญญาประดิษฐ์) เป็นเทคโนโลยีที่ช่วยให้ระบบคอมพิวเตอร์สามารถจำลองการทำงานคล้ายมนุษย์ เช่น การคิด วิเคราะห์ ตัดสินใจ และการเรียนรู้จากข้อมูลจำนวนมหาศาล ด้วยความสามารถนี้ AI ในอุตสาหกรรม ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงาน ลดข้อผิดพลาด และเพิ่มประสิทธิภาพในหลายภาคส่วน ตั้งแต่การผลิต การจัดการ ไปจนถึงการบริการลูกค้า AI ในอุตสาหกรรม ไม่ได้จำกัดอยู่แค่ในโรงงานหรือสายการผลิตเท่านั้น แต่ยังครอบคลุมถึงการบริหารจัดการทรัพยากร การคาดการณ์ความต้องการของตลาด การตรวจสอบคุณภาพสินค้า รวมถึงการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน การใช้งาน AI ด้านอุตสาหกรรมจึงเป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญที่ช่วยให้องค์กรสามารถปรับตัวให้เข้ากับยุคดิจิทัล และเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน
แนวทางในการประยุกต์ใช้ AI ในอุตสาหกรรม
การนำ AI ในอุตสาหกรรมมาใช้เป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพและยกระดับกระบวนการทำงานในหลายมิติ โดยแต่ละแนวทางการใช้งานนั้นมีจุดเด่นและประโยชน์ที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับลักษณะของธุรกิจและเป้าหมายที่ต้องการพัฒนา ตัวอย่างการใช้งานที่โดดเด่นมีดังนี้
AI Smart Home
ระบบบ้านอัจฉริยะ ที่มีการนำ AI มาประยุกต์ใช้ในการจัดการและควบคุมอุปกรณ์ต่าง ๆ ภายในบ้าน เพื่อความสะดวกสบายในการใช้งานมากขึ้น ซึ่ง AI จะมีการทำหน้าที่ร่วมกับ IoT (Internet of Things) ในการรับคำสั่งการของเรา เช่น คำสั่งในการเปิดไฟ คำสั่งในการเปิดเพลงในวิทยุ การปลดล็อคประตู การสแกนหน้า โดยสามารถใช้งานผ่านเสียงหรืออุปกรณ์ Smart Device ได้อย่างสะดวก
ระบบการยืนยันตัวตนออนไลน์ของภาครัฐ
ภาครัฐของประเทศไทย มีการนำ AI มาใช้สำหรับระบบการยืนยันตัวออนไลน์ด้วยการสแกนใบหน้า หรือที่หลายคนคุ้นเคยจากการสแกนหน้าเพื่อรับสิทธิ์ต่าง ๆ ผ่านแอปพลิเคชันของรัฐบาล ช่วยเพิ่มความสะดวกในขั้นตอนการดำเนินงานมากขึ้น ต่างจากในอดีตที่อาจต้องมีการนำบัตรประชาชนไปยืนยันตัวตนตามสถานที่ต่าง ๆ
การนำ AI มาใช้ร่วมกับการบำรุงรักษาเชิงคาดการณ์ (Predictive Maintenance)
สำหรับอุตสาหกรรมการผลิตที่มีการใช้งานเครื่องจักรเป็นหลัก จำเป็นต้องมีการบำรุงรักษาสภาพเครื่องจักรอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้กระบวนการผลิตสามารถดำเนินต่อไปได้ปราศจากปัญหา โดยวิธีการบำรุงรักษาที่นิยมใช้คือ การบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (Preventive Maintenance) เป็นการตรวจเช็ก ทำความสะอาด ซ่อมแซม เปลี่ยนอะไหล่ตามคาบเวลาที่กำหนดไว้ ไม่ว่าจะเกิดความเสียหายหรือปกติหรือไม่ก็ตาม ส่งผลให้เกิดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นสำหรับการดูแลเครื่องจักร ในปัจจุบันจึงมีการพัฒนารูปแบบการบำรุงรักษาเชิงคาดการณ์ (Predictive Maintenance) ขึ้นมา โดยมีการนำ AI มาประยุกต์ใช้ในการวิเคราะห์หรือพยากรณ์ข้อมูลจากในอดีต ข้อมูลจากเซนเซอร์ และข้อมูลที่เกี่ยวข้องจากระบบ เพื่อคาดการณ์โอกาสของการเกิดความผิดปกติเกี่ยวกับระบบเครื่องจักรได้อย่างแม่นยำมากขึ้น ช่วยลดต้นทุนในการซ่อมแซมเครื่องจักรโดยไม่จำเป็นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
แอปพลิเคชัน AI ตัวช่วยสำหรับการหาข้อมูลอย่างรวดเร็ว
การใช้งาน AI ที่ได้รับความนิยมแพร่หลายและเป็นที่รู้จักมากที่สุดในขณะนี้ เช่น ChatGPT, Gemini หรือ Cluade เป็นรูปแบบของการใช้ AI เพื่อหาข้อมูลทั่วไป การวิเคราะห์ข้อมูลที่มีอยู่แล้ว การค้นหาหัวข้อแปลกใหม่ เพื่อนำมาใช้สำหรับการเรียนและการทำงาน โดยหลักการใช้ AI เหล่านี้ให้ได้ประสิทธิภาพ สามารถทำได้โดยการ Onboard ตัว AI ก่อนเริ่มใช้งาน เพื่อให้ AI สามารถสวมบทบาทเป็นผู้เชี่ยวชาญในสายงานนั้น ๆ เพื่อตอบคำถามได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ตัวอย่าง Prompt สำหรับการ Onboard มีดังนี้
- ทำตัวเป็น Content Creator ที่มีความเชี่ยวชาญในสายงานนี้เป็นระยะเวลา 20 ปี สามารถสร้างสรรค์คอนเทนต์ที่แปลกใหม่และน่าดึงดูดได้ มีการอัพเดตตัวไปตามเทรนด์การตลาดตลอดเวลา
- ทำตัวเป็นที่ปรึกษาทางการตลาด ที่มีประสบการณ์ในการทำงานมาแล้ว 10 ปี สามารถให้คำปรึกษาและแนะนำแนวทางได้อย่างตรงประเด็น พร้อมทั้งนำข้อมูลของธุรกิจมาวิเคราะห์ เพื่อออกแบบกลยุทธ์อย่างเหมาะสม
- ทำตัวเป็น HR ที่มีประสบการณ์ในการทำงานมาอย่างยาวนาน มีความรู้เกี่ยวกับสวัสดิการพนักงานอย่างครบถ้วน และจดจำข้อมูลของบริษัทได้อย่างละเอียด (โดยในส่วนนี้สามารถป้อนข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทเพิ่มเติมเข้าไป เพื่อให้ AI สามารถจดจำได้)
การบริหารทรัพยากรบุคคล (HR Management)
AI ยังเข้ามามีบทบาทในกระบวนการบริหารทรัพยากรบุคคลในภาคอุตสาหกรรม เช่น การคัดกรองพนักงานที่เหมาะสมจากฐานข้อมูลจำนวนมาก ช่วยลดเวลาในการสรรหาและเพิ่มโอกาสในการได้พนักงานที่มีคุณภาพสูง นอกจากนี้ AI ยังช่วยวิเคราะห์ประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานแบบเรียลไทม์ และให้คำแนะนำเกี่ยวกับการพัฒนาทักษะหรือเส้นทางอาชีพที่เหมาะสมสำหรับบุคคลนั้น ๆ ซึ่งทำให้การบริหารทรัพยากรบุคคลมีความแม่นยำและตรงเป้าหมายมากขึ้น
การพัฒนาของ AI ส่งผลต่ออุตสาหกรรมในไทยและทั่วโลก ได้อย่างไร ?
การพัฒนาของปัญญาประดิษฐ์ด้านอุตสาหกรรม มีความเกี่ยวเนื่องอย่างมากต่ออุตสาหกรรมทั้งในประเทศไทยและทั่วโลกไม่ว่าจะเป็นการใช้ AI เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน การลดต้นทุน หรือการขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้ก้าวทันกับการเปลี่ยนแปลงของโลก โดยสามารถยกตัวอย่างการนำ AI มาใช้ได้ดังนี้
เพิ่มประสิทธิภาพในอุตสาหกรรมการผลิต
โรงงานในประเทศไทยได้เริ่มนำ AI ในอุตสาหกรรม เข้ามาใช้ในกระบวนการผลิตเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน ตัวอย่างเช่น ระบบบริหารจัดการงานซ่อมบำรุงเครื่องจักรของ ZYCODA ที่มีการนำ AI มาปรับใช้ร่วมกับการบำรุงรักษาเครื่องจักรแบบเก่า จนกลายเป็นการบำรุงรักษาเชิงคาดการณ์ (Predictive Maintenance) ที่สามารถนำข้อมูลที่เกี่ยวข้องมาวิเคราะห์หาความผิดปกติ ที่มีโอกาสเกิดขึ้นกับเครื่องจักรเพื่อหาแนวทางการแก้ไขได้ทัน ช่วยให้เครื่องจักรสามารถทำงานได้เต็มศักยภาพ โดยไม่หยุดชะงัก
การสนับสนุน SMEs และ Startup
AI ด้านอุตสาหกรรม ยังเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการขนาดเล็กและขนาดกลาง (SMEs) และ Startup สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีที่เคยมีต้นทุนสูงได้มากขึ้น การใช้ AI วิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภคช่วยให้ธุรกิจเหล่านี้สามารถพัฒนากลยุทธ์ทางการตลาดที่ตรงเป้าหมายและเพิ่มโอกาสในการสร้างรายได้
การพัฒนางาน
การเข้ามาของ AI ช่วยให้ขั้นตอนการทำงานและเพิ่มประสิทธิภาพงานในอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็น การลดขั้นตอนการทำงานที่ไม่จำเป็น การเพิ่มความเร็วในการทำงาน การวิเคราะห์การทำงานของเครื่องจักรก่อนเกิดการชำรุด เพื่อให้ธุรกิจสามารถเตรียมตัวรับมือได้ก่อนเกิดปัญหาจริง
การสร้างงาน
ถึงแม้ว่า AI จะมีความน่ากังวลในการเข้ามาแทนที่แรงงานคน แต่ในขณะเดียวกัน AI ยังคงมีข้อบกพร่องที่แรงงานคนมีความเหนือกว่า เช่น ความคิดสร้างสรรค์และประเด็นทางจริยธรรม นอกจากนี้ในการคาดการณ์ของนักวิจัยพบว่า การที่ AI เข้ามาแทนที่แรงงานคนนั้น สามารถสร้างตำแหน่งงานใหม่ ๆ มาทดแทนตำแหน่งเก่าได้ เนื่องจากบริษัทส่วนใหญ่ต้องการใช้ AI กับแรงงานคนในการทำงานร่วมกันเพื่อประสิทธิภาพที่ดี ตำแหน่งที่เกิดขึ้นใหม่ส่วนใหญ่จึงมักเกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ ใช้งานและพัฒนาระบบ AI เพื่อสร้างระบบการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น วิศวกรหุ่นยนต์ที่มีทักษะด้าน AI สำหรับการดูแลควบคุมหุ่นยนต์ AI ในการทำงาน
การเติบโตของอุตสาหกรรมเทคโนโลยี
AI มีส่วนสำคัญในการกระตุ้นการเติบโตของอุตสาหกรรมเทคโนโลยีในประเทศไทย โดยเฉพาะในด้านการพัฒนาซอฟต์แวร์ AI และแพลตฟอร์มอัตโนมัติสำหรับการผลิต การพัฒนาเทคโนโลยีเหล่านี้ช่วยให้ประเทศไทยสามารถดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติและสร้างเครือข่ายทางธุรกิจในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้มากขึ้น
ส่งเสริมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัล
AI มีบทบาทสำคัญในแผนพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย โดยเฉพาะในโครงการ “Thailand 4.0” ที่มุ่งเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจบนพื้นฐานของนวัตกรรมและเทคโนโลยี AI ถูกนำมาใช้ในการพัฒนาสมาร์ตฟาร์ม (Smart Farming) ซึ่งช่วยให้เกษตรกรสามารถปรับปรุงการจัดการพื้นที่เพาะปลูกและเพิ่มผลผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ
กรณีศึกษาเกี่ยวกับการใช้งาน AI ของ Coca-Cola
สำหรับกรณีศึกษาของการนำ AI กับอุตสาหกรรมในแบรนด์ที่เป็นที่รู้จักอย่าง Coca-Cola มีการทำข้อตกลงกับ Microsoft เพื่อย้ายฐานการทำงานไปยังแพลตฟอร์ม Microsoft Azure เพื่อเข้าถึงการใช้ AI ในการผลิตและจัดจำหน่ายของแบรนด์อย่างทั่วถึง โดยตัวอย่างการนำ AI มาใช้งานของ Coca-Cola ได้แก่
การใช้ AI สร้างรสชาติของเครื่องดื่มใหม่
ในปี 2023 มีการเปิดตัวเครื่องดื่มรสชาติใหม่ “Y3000” เป็นการสร้างสรรค์รสชาติใหม่จากการร่วมมือกันของนักวิจัย และการนำข้อมูลความชอบของลูกค้ามาให้ AI วิเคราะห์ออกมาเป็นเครื่องดื่มรสชาติใหม่ ภายใต้ความต้องการที่จะส่งมอบสิ่งที่เหนือความคาดหมายให้แก่ลูกค้า ช่วยสร้างความแปลกใหม่และทำให้เป็นที่สนใจได้มากขึ้น
การให้คนทั่วไปร่วมประกวดผลงานจาก AI
แคมเปญ “Create Real Magic” เป็นการเปิดเว็บไซต์ AI ของ Coca-Cola เพื่อให้แฟน ๆ เข้ามามีส่วนร่วมในการใช้สร้างสรรค์โลโก้และสัญลักษณ์ของแบรนด์ในการส่งประกวด สำหรับผู้ที่ชนะรางวัลจะได้นำภาพไปแสดงบนป้ายโฆษณาดิจิทัลในหลาย ๆ เมือง ถือเป็นแคมเปญที่ช่วยสร้างการมีส่วนร่วมระหว่างแบรนด์กับลูกค้า และบุคคลอื่น ๆ ที่มีความสนใจ ในความแปลกใหม่ของแคมเปญ
การใช้ AI วิเคราะห์เสียง
สิ่งที่อยู่คู่กับน้ำอัดลม แน่นอนว่าต้องเป็นเสียงซ่าของฟองขณะเปิดขวดหรือตอนเทน้ำ ซึ่งทาง Coca-Cola ได้นำ AI มาใช้ในการวิเคราะห์ภาพของฟองอากาศและความซ่า จนเกิดเป็นแคมเปญ Zero Sugar พูดได้ ถือเป็นอะไรใหม่ ๆ ในการนำ AI มาใช้เสริมสร้างจุดแข็งและจุดขายของแบรนด์ให้น่าสนใจมากขึ้นกว่าเดิม
แคมเปญ Holidays Are Coming
การใช้ AI สร้างโฆษณาโปรโมทในช่วงเทศกาลคริสมาสต์ เพื่อเป็นการลดต้นทุนในการถ่ายทำและค่าใช้จ่ายในขั้นตอนต่าง ๆ ของการทำโฆษณา
จากแคมเปญทั้งหมดที่กล่าวมา ทาง Coca-Cola ได้พยายามนำ AI เข้ามาปรับใช้ เพื่อเป็นการเชื่อมโยงระหว่างแบรนด์และลูกค้า เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีร่วมกัน โดยสำหรับการนำ AI มาใช้ในการสร้างสรรค์งานศิลปะและการทำโฆษณา ได้มีเสียงวิพากย์วิจารณ์ในสังคมมาเป็นระยะ เกี่ยวกับการไม่เคารพศิลปินด้วยการใช้ AI สร้างแทน รวมไปถึงประเด็นในด้าน Emotional ที่ AI ไม่สามารถทำได้เทียบเท่ามนุษย์ ซึ่งทาง Coca-Cola เองก็ต้องมีการปรับปรุงแนวทางในใช้ AI มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อให้การปรับตัวตามเทรนด์ AI Marketing นี้ ได้รับการยอมรับและสามารถดำเนินต่อไปได้อย่างราบรื่น
ประโยชน์และข้อดีของเทคโนโลยี AI
AI ในอุตสาหกรรมเป็นเครื่องมือที่เข้ามามีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการดำเนินธุรกิจให้สอดคล้องกับความต้องการของยุคดิจิทัล ด้วยความสามารถในการประมวลผลข้อมูลที่ซับซ้อนอย่างรวดเร็ว AI ช่วยให้ธุรกิจสามารถปรับปรุงกระบวนการทำงานในหลากหลายมิติ เช่น การผลิตที่แม่นยำ การจัดการระบบโลจิสติกส์ การทำแคมเปญการตลาด รวมถึงการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน ทั้งนี้การนำ AI มาใช้ยังส่งผลต่อความสามารถในการแข่งขันขององค์กรในระดับโลก โดยช่วยเพิ่มความรวดเร็วในการตอบสนองต่อความเปลี่ยนแปลงของตลาดและลดต้นทุนในระยะยาว ด้วยเทคโนโลยีนี้อุตสาหกรรมไม่เพียงแต่จะสามารถรับมือกับความท้าทายในยุคดิจิทัลได้ แต่ยังสามารถสร้างโอกาสใหม่ ๆ ที่ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจในระยะยาวอย่างยั่งยืน