ก.อุตสาหกรรม หนุนผู้ประกอบการ ยกระดับผ้าไหมไทยในระดับพรีเมี่ยม พร้อมเปิดคอลเลกชันใหม่ในแบบ “Minimal Style” ต่อยอดและสร้างมูลค่าเพิ่มไม่ต่ำกว่าร้อยละ 50 พร้อมเร่งเจรจาเชื่อมโยงการผลิต – การตลาดสู่ประเทศญี่ปุ่น เล็งเปิดตลาดใหม่จากผ้าไหมไทยในต่างประเทศ
นางวรวรรณ ชิตอรุณ รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า กระทรวงอุตสาหกรรม ได้ดำเนินการยกระดับพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอและผ้าพื้นเมือง โดยสนับสนุนให้สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรม สิ่งทอ หน่วยงานเครือข่ายกระทรวงอุตสาหกรรม ดำเนินโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์สิ่งทอด้วยการออกแบบเชิงอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมสู่อีสานแฟชั่น โดยตั้งแต่ปีงบประมาณ 2562 มีการดำเนินโครงการใน ระยะที่ 1 ด้วยการพัฒนาองค์ความรู้
Biomek NGeniuS เครื่องเตรียมน้ำยาสำหรับงาน NGS แบบอัตโนมัติ | Bio-Active [Super Source]
ด้านการออกแบบ และสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ผลิตภัณฑ์สิ่งทอและผ้าทอพื้นเมือง เพื่อทำให้ผู้ประกอบการสิ่งทอและเครื่องแต่งกายผลิตสินค้าให้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภค และสามารถเข้าสู่ตลาดใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สำหรับผลการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าไหมที่ผ่านมา ได้เกิดผ้าไหมมัดหมี่ลวดลายใหม่กว่า 119 ลาย รวมทั้งเสื้อผ้า กระเป๋า รองเท้า และเครื่องประดับ (Accessories) กว่า 108 ผลิตภัณฑ์ โดยผู้ประกอบการนำไปผลิตและจำหน่าย
ในเชิงพาณิชย์ได้จริง สร้างโอกาสทางการตลาดในผลิตภัณฑ์ผ้าไหมแบบใหม่ในกลุ่มตลาดใหม่ พัฒนาผู้ประกอบการผ้าไหมและผู้ที่เกี่ยวข้องธุรกิจผ้าพื้นเมืองในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กว่า 1,600 คน สร้างรายได้ สร้างงานให้ชุมชน
รวมทั้งสร้างโอกาสทางการตลาด และสร้างยอดขายในประเทศกว่า 6,500,000 บาท (เฉพาะผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาใหม่)โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์สิ่งทอด้วยการออกแบบเชิงอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมสู่อีสานแฟชั่น ระยะที่ 2 ในปีนี้ (2565) เน้นต่อยอดพัฒนาเทคนิคการผลิตผ้าไหมมัดหมี่ในรูปแบบใหม่ที่มีมูลค่าเพิ่มมากกว่าร้อยละ 50 โดยสร้างลวดลายที่ไม่ซ้ำในผืนผ้าในแบบมินิมอล สไตล์ (Minimal Style) ซึ่งก็คือแฟชั่นที่เน้นความธรรมดา เรียบง่ายและ
จะมีลายที่ไม่ซ้ำกัน ที่สามารถนำไปใช้ในการตัดเย็บได้ง่ายและหลากหลายกว่า มีความเป็นสากล และตรงกับความต้องการของผู้ซื้อต่างประเทศ เนื่องจากจะนำไปผลิตเสื้อผ้า และทำคอลเลคชั่น (Collection) ได้ง่ายมากกว่าผ้าไหมแบบดั้งเดิมที่เป็นลายไทย โดยตั้งเป้ายกระดับผลิตภัณฑ์ผ้าไหมไทยให้เป็นผ้าไหมระดับพรีเมี่ยม โดยจะเชื่อมโยง
- ก.อุตฯ ร้อง WTO อินเดียบล็อกนำเข้าเครื่องปรับอากาศไทย
- ก.อุตฯ เตรียมยกระดับ “ใบกระท่อม” แปรรูปเป็นสินค้า มอก.
- ก.อุตฯ จัด สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ ช่วยเหลือ SME เปิดรับคำขอ 17 ม.ค. นี้
- ก.อุตฯ ชงแผนพัฒนาอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ เข้า กอช.
ทั้งในส่วนของการผลิต และการตลาด สู่ประเทศญี่ปุ่นเป็นหลัก มุ่งเน้นสร้างตลาดใหม่จากผ้าไหมไทยในต่างประเทศ สำหรับตัวอย่างของ Success Case ที่ประสบความสำเร็จจากการต่อยอดการพัฒนาผลิตภัณฑ์ภายใต้โครงการของสำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม อาทิ แบรนด์ SHOES JAI กรุงเทพ ผลิตรองเท้าผ้าวัสดุจากธรรมชาติ และส่งออกยังตลาดต่างประเทศ , ร้านจิราพรผ้าคราม สกลนคร ผลิตภัณฑ์ชุดผ้าฝ้ายและเครื่องประดับจากผ้าฝ้าย มีการนำรูปแบบชุดเสื้อผ้าภายใต้โครงการไปผลิตและจำหน่ายในจังหวัด และทางตลาดออนไลน์
ในกลุ่มลูกค้าวัยรุ่น และกลุ่มผ้าไหมบ้านดู่ นครราชสีมา ผลิตผ้าไหมมัดหมี่ลวดลายใหม่โดยนำออกจำหน่ายในตลาดระดับพรีเมี่ยมในงาน ICON CARFT (สยามไอคอน) และตลาดต่างประเทศ
“แนวทางการพัฒนาในปี 2565 เราเน้นไปที่ 16 ผลิตภัณฑ์ ที่ตรงกับความต้องการของผู้ประกอบการ อาทิ ผ้าไหมผืน มินิมอลสไตล์ สีอ่อนแนวเอิรธโทน (EART TONE) และมีความเป็นไทย เป็นต้น โดยที่ยังคงมีเป้าหมายทางการตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศโดยเฉพาะตลาดญี่ปุ่น” รองปลัดฯวรวรรณ กล่าว