Kosmo
กพร. เดินหน้า แก้ปัญหาปุ๋ยขาดแคลนและราคาแพง

กพร. เดินหน้า แก้ปัญหาปุ๋ยขาดแคลนและราคาแพง

Date Post
23.02.2023
Post Views

กพร. จัดสัมมนาการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการแร่โพแทช ภายใต้แผนแม่บทการบริหารจัดการแร่ ฉบับที่ 2 พุ่งเป้าผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตแร่โพแทชของอาเซียน และแก้ปัญหาการขาดแคลนปุ๋ยรวมถึงปุ๋ยราคาแพง

นายนิรันดร์ ยิ่งมหิศรานนท์ อธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ เปิดเผยภายหลัง เป็นประธานเปิดงานสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การพัฒนาประสิทธิภาพในการบริหารจัดการแร่โพแทช ภายใต้แผนแม่บทการบริหารจัดการแร่ ฉบับที่ 2” และปาฐกถาพิเศษ ว่า แผนแม่บทฯ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2566-2570) มีการปฏิรูปกลไกการบริหารจัดการแร่ให้สอดรับกับเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติยิ่งขึ้น และกำหนดนโยบายการบริหารจัดการแร่รายชนิด 4 ชนิด ที่มีความสำคัญและจำเป็นต่อการใช้ประโยชน์ภายในประเทศต่อเนื่องจากแผนแม่บทฯ ฉบับแรก ได้แก่ หินอุตสาหกรรม ทองคำ แร่ควอตซ์ และแร่โพแทช 

ก้าวแรกเพื่อการต่อยอดเทคโนโลยีอาหารและการเกษตร | FOOD TECH EXPO 2023

โดยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยมีพื้นที่ศักยภาพแร่โพแทชและแร่เกลือหินที่สำคัญเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก มีปริมาณสำรองแร่โพแทช 400,000 ล้านตัน และแร่เกลือหิน 18,000,000 ล้านตัน ปัจจุบันมีผู้ประกอบการที่ได้รับประทานบัตรเหมืองแร่โพแทช 3 ราย คือ บริษัท อาเซียนโปแตชชัยภูมิ จำกัด (มหาชน) บริษัท ไทยคาลิ จำกัด และบริษัท เอเซีย แปซิฟิค โปแตซ คอร์ปอเรชั่น จำกัด แต่ยังไม่มีการผลิตแร่โพแทชออกสู่ตลาด ประเทศไทยจึงยังต้องนำเข้าโพแทสเซียมคลอไรด์ (KCl) โพแทสเซียมซัลเฟต (K2SO4) และผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่มีส่วนประกอบของโพแทสเซียม (K) ประมาณ 900,000 ตันต่อปี คิดเป็นมูลค่าการนำเข้าประมาณ 25,000 ล้านบาท เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมผลิตปุ๋ยและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องอื่น ๆ

นายเชาวลิตร์  ทองประดับ ผู้อำนวยการสำนักงานอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ เขต 2 อุดรธานี (สรข.2) กล่าวว่า การขับเคลื่อนการบริหารจัดการแร่โพแทชจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายภาคส่วน การจัดงานสัมมนาเชิงปฏิบัติการฯ ครั้งนี้ เป็นการสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการแร่โพแทชให้กับเจ้าหน้าที่สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดในพื้นที่ความรับผิดชอบของ สรข.2 และภาคเอกชน เพื่อให้การบริหารจัดการแร่โพแทชเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด ภายใต้แผนแม่บทฯ ฉบับที่ 2 

“กพร. ให้ความสำคัญในการส่งเสริมและพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการแร่โพแทช เพื่อผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตแร่โพแทชของอาเซียนในอนาคตอันใกล้ ซึ่งหากเราสามารถผลิตแร่โพแทชออกสู่ตลาดได้เองก็จะสามารถสร้างความมั่นคงด้านวัตถุดิบ และคว้าโอกาสในการสร้างรายได้ให้กับประเทศ ตลอดจนสามารถช่วยลดต้นทุนในการผลิตให้กับภาคการเกษตรและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องอื่น ๆ ได้เป็นอย่างดี” นายนิรันดร์ กล่าวทิ้งท้าย

Logo-Company
Logo-Company
Logo-Company
logo-company
Nichaphan W.
การตลาดและประชาสัมพันธ์
Store Master - Kardex