iscar
ชัชชาติ - ส.อ.ท. ร่วมขับเคลื่อนกรุงเทพฯ ภายใต้แนวคิด BCG+ES
ชัชชาติ - ส.อ.ท. ร่วมขับเคลื่อนกรุงเทพฯ ภายใต้แนวคิด BCG+ES

ชัชชาติ – ส.อ.ท. ร่วมขับเคลื่อนกรุงเทพฯ ภายใต้แนวคิด BCG+ES

Date Post
22.06.2022
Post Views

ผู้ว่า กทม. ผนึก  – ส.อ.ท. ร่วมพัฒนาขับเคลื่อนกรุงเทพมหานคร ภายใต้แนวคิด BCG+ES ผ่านการส่งเสริมอุตสาหกรรมเกษตรอัจฉริยะ  โดยการนำพื้นที่เปล่าในกรุงเทพมหานครมาใช้ประโยชน์ และสร้างรายได้ให้แก่ชุมชน 

นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยภายหลังนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร นำคณะผู้บริหาร กทม. เข้าพบคณะกรรมการสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย โดยการหารือในครั้งนี้ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ได้นำเสนอยุทธศาสตร์ 4 ด้าน 1) Industry Collaboration การผนึกกำลังอุตสาหกรรมไทยให้เข้มแข็ง 2) First2Next-Gen Industry ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมสู่อนาคต 3) Smart SMEs ยกระดับ SMEs สู่สากล 4) Smart Service Platform พัฒนาการบริการเพื่อยกระดับอุตสาหกรรมไทย ผ่านวิสัยทัศน์ “Strengthen Thai Industries for Stronger Thailand” เสริมสร้างความแข็งแกร่งให้อุตสาหกรรมไทย เพื่อประเทศไทยที่เข้มแข็งกว่าเดิม 

อัปเดตเทรนด์อุตสาหกรรมทุกสัปดาห์ Weekly Report | FactoryNews ep.14

พร้อมทั้งนำเสนอแนวทางการขับเคลื่อนการพัฒนากรุงเทพมหานคร B C G + E S ขับเคลื่อนแนวคิด B : Bio Economy เศรษฐกิจชีวภาพ ผ่านการส่งเสริมอุตสาหกรรมเกษตรอัจฉริยะ (Smart Agriculture Industry : SAI) โดยการนำพื้นที่เปล่าในกรุงเทพมหานครมาใช้ประโยชน์ และสร้างรายได้ให้แก่ชุมชน 

แต่ทั้งนี้ ยังมีข้อจำกัดที่ไม่สามารถขอใบอนุญาตโรงงานได้ เนื่องจากติดผังเมือง รวมถึงขาดมาตรการจูงใจ  การผลักดัน C : Circular Economy โดยการนำขยะหรือของเหลือใช้มาเพิ่มคุณค่า (Upcycling) เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มจากขยะ และลดขยะโดยการนำของเหลือใช้หมุนวนนำกลับมาผลิตใหม่ แต่ปัญหาคือ ขยะยังขาดการคัดแยกที่ถูกวิธี ต้นทุนการผลิตก็ยังสูง และยังขาดการส่งเสริมอย่างเป็นระบบ ซึ่งจะสามารถจัดการกับขยะในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครได้อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพมากขึ้น การส่งเสริม G : Green โดยให้โรงงานในเขตกรุงเทพมหานคร รับรองมาตรฐานอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (Eco Factory) 

และการเพิ่มพื้นที่สีเขียว / การสร้าง Green belt / Buffer zone เพื่อยกระดับการจัดการสิ่งแวดล้อมโรงงาน เชื่อมโยงเศรษฐกิจให้กับชุมชน และส่งเสริม Symbiosis ระหว่างโรงงานหรือระหว่างโรงงานและชุมชน ซึ่งยังต้องขึ้นอยู่กับความพร้อมของแต่โรงงานด้วย ซึ่งจะสามารถช่วยลดปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 ไปได้ด้วย  ที่สำคัญการจัดการ E : Environment โดยเฉพาะการจัดการน้ำเสีย ปรับปรุงคลองต้นแบบในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ส่งเสริมการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ สร้างจิตสำนึกการมีส่วนร่วมในการจัดการสิ่งแวดล้อม และการนำเทคโนโลยีมาช่วยในการจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะสามารถยกระดับคุณภาพชีวิตของคน กทม. ให้ดีขึ้น ท้ายที่สุด การยกระดับ S : Safety & Clean Street food เรื่องการจัดการความปลอดภัยร้านอาหาร Street food, Local food ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เพื่อส่งเสริมความรู้ความเข้าใจเรื่องความปลอดภัยและสุขอนามัยในการประกอบอาหาร การสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้ใช้บริการ รวมถึงการสร้างความเป็นระเบียบของสังคมกรุงเทพมหานครให้ดีขึ้น

ด้านนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เปิดเผยว่า ภาคเอกชนมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเมือง สร้างรายได้และกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ดังนั้น เพื่อเป็นบูรณาการความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน จึงเห็นพ้องร่วมกันในการจัดตั้งคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ กทม. (กรอ. กทม.) เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาเมืองและสนับสนุนการพัฒนาในทุกมิติ เช่น การนำโมเดล BCG มาใช้ในขับเคลื่อนการพัฒนาเมือง การส่งเสริมโรงงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การเพิ่มพื้นที่สีเขียว ส่งเสริมให้เอกชนร่วมปลูกต้นไม้ การฟื้นฟูแม่น้ำลำคลอง การพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ผ่านโครงการ 12 เทศกาล 12 เดือน และการส่งเสริมเกษตรครบวงจรเพื่อสร้างรายได้ให้แต่ชุมชน นอกจากนี้ พร้อมที่จะพัฒนาระบบการให้บริการของ กทม. ให้มีประสิทธิภาพ ปรับปรุงการอนุมัติอนุญาตเป็นแบบ One Stop Service เพื่อความสะดวก รวดเร็ว และโปร่งใส ซึ่งประเด็นเหล่านี้จะถูกหยิบยกไปร่วมหารือกันในการประชุม กรอ. กทม. ต่อไป

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Logo-Company
Logo-Company
Logo-Company
logo-company
Nichaphan W.
การตลาดและประชาสัมพันธ์
Store Master - Kardex