Intelligent Asia Thailand 2025
ดัชนีอุต ฯ ขยับขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4

ดัชนีอุตฯขยับขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4

Date Post
17.09.2020
Post Views

ดัชนีอุตฯ ขยับขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 หลังปลดล็อกเฟส 6 เอกชนวอนรัฐออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่ม ยืดชำระเงินกู้ SMEs ไปอีก 2 ปี

นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือนสิงหาคม 2563 อยู่ที่ระดับ 84.0 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 82.5 ในเดือนกรกฎาคม 2563 โดยค่าดัชนีฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 เนื่องจากหน่วยงานภาครัฐ เอกชนและประชาชน ได้ร่วมมือกัน ทำให้สามารถควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งการผ่อนคลายมาตรการควบคุมโรคทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจภายในประเทศสามารถดำเนินการตามปกติ ขณะที่ภาคการผลิตขยายตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าตามความต้องการสินค้าที่เพิ่มขึ้น

Automation Expo

สำหรับอุตสาหกรรมสำคัญที่ส่งผลดีต่อค่าดัชนีฯ ได้แก่ รถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องจักรกล อาหาร และสินค้าวัสดุก่อสร้าง เป็นต้น อย่างไรก็ตาม แม้ว่าดัชนีฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้น แต่ยังอยู่ในระดับต่ำกว่า 100 เนื่องจากผู้บริโภคมีความระมัดระวัง   ในการใช้จ่ายและมีกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจที่ยังเปราะบาง ขณะที่ผู้ประกอบการ SMEs ประสบปัญหา สภาพคล่องและการเข้าถึงสินเชื่อ รวมทั้งบางส่วนได้รับสินเชื่อไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้หมุนเวียนในกิจการ

จากการสำรวจผู้ประกอบการ 1,215 ราย ครอบคลุม 45 กลุ่มอุตสาหกรรมทั่วประเทศในเดือนสิงหาคม 2563 พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลให้ผู้ประกอบการมีความกังวลเพิ่มขึ้น ได้แก่ สภาวะเศรษฐกิจโลก ร้อยละ 69.2, สถานการณ์ทางการเมืองในประเทศ ร้อยละ 54.0, อัตราแลกเปลี่ยน (มุมมองผู้ส่งออก) โดยอัตราแลกเปลี่ยนอ้างอิงค่าเงินบาทเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ ร้อยละ 45.1 และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ร้อยละ 25.3 ตามลำดับ ส่วนปัจจัยที่ส่งผลให้ผู้ประกอบการมีความกังวลลดลง คือ ราคาน้ำมัน ร้อยละ 37.2

สำหรับดัชนีฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า อยู่ที่ระดับ 94.5 โดยเพิ่มขึ้นจาก 93.0 ในเดือนกรกฎาคม 2563 ทั้งนี้ ผู้ประกอบการคาดว่าภาคการผลิตจะมีสัญญาณการปรับตัวดีขึ้น อย่างไรก็ตามแม้ว่าค่าดัชนีฯ จะปรับตัวเพิ่มขึ้นแต่ยังอยู่ภายใต้ความกังวลต่อการระบาดของไวรัสโควิด-19 ระลอกที่ 2 ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลกระทบต่อภาคการผลิตและการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย ดังนั้น มาตรการกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศ รวมทั้งการเสริมสภาพคล่องให้กับผู้ประกอบการจึงเป็นปัจจัยสำคัญต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจในช่วงครึ่งหลังของปี 2563

ข้อเสนอแนะต่อภาครัฐ

1. ออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม รวมทั้งการเสริมสภาพคล่องให้กับผู้ประกอบการ

2. ขยายระยะเวลามาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19  โดยเฉพาะ SMEs เช่น ยืดการชำระเงินกู้ไปอีก 2 ปี (ปี 2564-2565)

3. ขอให้ผู้ประกอบการสามารถหักค่าใช้จ่ายภาษีนิติบุคคลได้ 2 เท่า สำหรับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการอบรมหรือกิจกรรม Outing ของบริษัทเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวในประเทศ

Logo-Company
Logo-Company
Logo-Company
logo-company
Nichaphan W.
การตลาดและประชาสัมพันธ์
Store Master - Kardex