ดีพร้อม เปิดนโยบาย “เกษตรอุตสาหกรรม’65” เสริมแกร่ง ผปก.
ดีพร้อม เปิดนโยบาย “เกษตรอุตสาหกรรม’65” เสริมแกร่ง ผปก.

ดีพร้อม เปิดนโยบาย “เกษตรอุตสาหกรรม’65” เสริมแกร่ง ผปก.

Date Post
28.03.2022
Post Views

ดีพร้อม เปิดนโยบาย “เกษตรอุตสาหกรรม’65” เสริมแกร่ง ผปก. คาดสร้างมูลค่ากว่า 1.2 พันลบ. ชี้ตลาดอาหารสุขภาพ ทางรอดสร้างรายได้ แปรรูปผลิตภัณฑ์เพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตร

นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า มาตรการส่งเสริมเกษตรอุตสาหกรรมในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ดีพร้อม ขับเคลื่อนด้วยนโยบาย “ดีพร้อมแคร์เกษตรอุตสาหกรรม” มุ่งเน้นพัฒนาผู้ประกอบการในทุกมิติ เสริมสร้างความแข็งแรงให้กับธุรกิจ พร้อมการยกระดับห่วงโซ่อุตสาหกรรม  ประกอบด้วย

สุทธิพงษ์แห่งวานิชกรุ๊ป ปั้นแบรนด์อุตสาหกรรมสู่ยอดพันล้าน | Vanich Group

  • C-Customization ปรับแนวทางการส่งเสริมผู้ประกอบการเกษตรอุตสาหกรรม โดยเพิ่มความหลากหลายของการดำเนินการสอดคล้องกับดีมานด์ของผู้ประกอบการ เช่น การส่งเสริมผู้ประกอบการรุ่นใหม่ที่สนใจเป็นนักธุรกิจเกษตร รวมทั้งพัฒนามาตรฐานให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด  ทั้งยังปรับการดำเนินงานให้สอดคล้องกับบริบทของแต่ละภูมิภาค ส่งเสริมการพัฒนาเครื่องจักรตามความต้องการของชุมชน ตัวอย่างเช่น เครื่องขอดเกล็ดปลา เครื่องเผาข้าวหลาม และเครื่องตัดอ้อยขนาดเล็ก เป็นต้น พร้อมปรับใช้องค์ความรู้ด้านการจัดการฐานข้อมูลขนาดใหญ่ หรือ BIG DATA โดยพัฒนาระบบวิเคราะห์ปัญหาการประกอบการ  (I-Business Check up)  เพิ่มความแม่นยำในการการกำหนดทิศทางและมาตรการพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรมที่สอดคล้องกับสถานการณ์และสภาพปัญหาของห่วงโซ่อุปทาน โดยเก็บข้อมูลจากผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการ จัดทำฐานข้อมูลคุณภาพ สำหรับใช้วิเคราะห์แผนพัฒนาที่ตรงจุด ผ่านหลากหลายเครื่องมือ อาทิ การวิเคราะห์สถานประกอบการ (SHINDAN), การวิเคราะห์ DNA ของธุรกิจ และการทำโมเดลวิเคราะห์ตัวแปรไปสู่เป้าหมายองค์กร หรือ Business Canvas เป็นต้น
  • A-Accessibility เพิ่มศักยภาพการให้บริการผ่านการดำเนินงานทั้งในส่วนกลางและภูมิภาคผ่านศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาค หรือ ดีพร้อมเซ็นเตอร์ (DIPROM CENTER) ทั้ง 11 แห่งทั่วประเทศ ยกระดับการส่งเสริมการใช้งานเครื่องจักรกลให้ครอบคลุมตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ อาทิ เครื่องปรับระดับหน้าดินด้วยเลเซอร์ เครื่องให้ปุ๋ยอัตโนมัติ รถเกี่ยวอ้อย และบริการ OEM แปรรูปผลผลิตจากข้าว พร้อมประสานความร่วมมือกับสภาอุตสาหกรรมเพิ่มประสิทธิภาพของดีพร้อมไอเอดแพลตฟอร์ม(DIPROM i-AID Platform) กระจายโอกาสในการใช้งานเครื่องจักร การให้บริการด้านการออกแบบและผลิตบรรจุภัณฑ์ (DIPROM PACK) และการให้คำปรึกษาเชิงลึกเพื่อการวางแผนปัจจัยทางธุรกิจ โดยเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการเข้าถึงของผู้ประกอบการเกษตรอุตสาหกรรมให้ครอบคลุมมากขึ้น การดำเนินงานในปีนี้จึงเพิ่มเป้าหมายการใช้เครื่องจักรกลขนาดเล็กที่มีความจำเป็นในการประกอบธุรกิจ เพื่อช่วยบรรเทาค่าใช้จ่ายผู้ประกอบการเกษตรอุตสาหกรรมในยุคที่ต้นทุนการผลิตสูง และขาดแคลนแรงงาน อีกทั้ง เป็นการขยายความช่วยเหลือสู่ผู้ประกอบการเกษตรฐานราก พร้อมขยายการให้คำแนะนำกับผู้ประกอบการผ่านช่องทางออนไลน์ที่สอดคล้องกับบริบทของความเป็นปกติใหม่ ทั้งยังเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการเข้าถึงบริการที่ทั่วถึง
  • R-Reformation ปฏิรูปโครงการพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรมตามนโยบาย BCG โดยได้ริเริ่มทดลองดำเนินงานโครงการ The Gifted DIPROM BCG เพื่อศึกษาและพัฒนาแนวทางการเพิ่มผลิตภาพแก่ธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมอย่างยังยื่น โดยการพัฒนาการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ หรือการใช้ทรัพยากรอย่างมีคุณค่า กระบวนการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมทั้งปฏิรูปการพัฒนาทักษะผู้ประกอบการให้มีอาวุธครบด้านในการเริ่มหรือปรับปรุงธุรกิจผ่านโครงการ DIPROM Agro Beyond Academy ปั้นผู้ประกอบการเกษตรอุตสาหกรรมมืออาชีพ ที่สามารถนำความรู้ไปปรับใช้ได้จริงในกิจการ และสามารถสร้างเครือข่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างธุรกิจ การปรับเปลี่ยนโครงการและเนื้อหาหลักสูตรให้มีความเหมาะสมกับสถานการณ์ในการประกอบธุรกิจที่แตกต่างกัน ผ่านกิจกรรมดีพร้อม จีเนียส อะคาเดมี (DIPROM Genius Academy) สร้างงาน สร้างอาชีพ ผ่านโครงการปลูกปั้น รวมถึงพัฒนาผู้ประกอบการเกษตรอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพให้เพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน ผ่านกิจกรรม DIPROM Hero
  • E-Engagement ขยายพันธมิตรเกษตรอุตสาหกรรม โดยการประสานความร่วมมือกับผู้ประกอบการรายใหญ่ ส่งเสริม สนับสนุนทุนเพื่อธุรกิจ เปิดช่องทางการตลาดเพื่อเพิ่มโอกาสการสร้างรายได้ ในช่องทางตลาดใหม่ หรือ Modern Trade รวมทั้งพัฒนาความร่วมมือกับสมาคมเครื่องจักรกลการเกษตร เพื่อชี้เป้าการพัฒนา และบูรณาการความร่วมมือเพื่อให้การพัฒนาเครื่องจักรและเทคโนโลยีสามารถตอบสนองผู้ประกอบการมากที่สุด ทั้งขยายความร่วมมือไปยังสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สมาพันธ์เอสเอ็มอี สภาหอการค้า และภาคเอกชน เช่น เครือSCG, ปตท., บากจาก และ เครือCP เป็นต้น เพื่อการต่อยอดและสร้างเครือข่ายการพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรมให้เข้มแข็งมากยิ่งขึ้น 

ดร.ณัฐพล ระบุว่า ดีพร้อม มุ่งหวังให้ปี 2565 เป็นปีแห่งการสร้างโอกาสทางธุรกิจให้กับผู้ประกอบการ เพื่อกระจายรายได้อย่างมีประสิทธิภาพไปสู่เศรษฐกิจฐานรากของประเทศ โดยได้พัฒนาเครื่องมือและกลไกต่าง ๆ ให้สามารถปรับใช้ได้กับทุกธุรกิจ เสริมขีดความสามารถในการแข่งขัน ยกระดับการพัฒนามาตรฐานผลิตภัณฑ์ เตรียมความพร้อมสำหรับการส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศ ซึ่งการดำเนินงานในส่วนนี้ ได้มอบหมายให้ กองพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรม รับหน้าที่สนับสนุนส่งเสริมผู้ประกอบการ ซึ่งคาดการณ์ว่าจะสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ภาคเกษตรอุตสาหกรรมไม่น้อยกว่า 1,200 ล้านบาท

โดยเพื่อเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการเข้าตลาดเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับผู้ประกอบการเกษตรอุตสาหกรรม ดีพร้อม ได้ส่งเสริมการใช้แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ช ตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นของสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ผ่านโครงการ ปั้น SMEs สู่ B2C ฝ่าวิกฤตโควิด-19 ซึ่งเป็นโครงการส่งเสริมผู้ประกอบการ สู่ตลาดอีคอมเมิร์ช (e-Commerce) ทำให้ผู้ประกอบการเกษตรอุตสาหกรรม และผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ก้าวผ่านวิกฤตและสร้างโอกาสในการดำเนินธุรกิจเพิ่มขึ้น พร้อมเสริมทักษะการวางแผนโลจิสติกส์ให้มีศักยภาพ และสนับสนุนการพัฒนาเครื่องจักรกลขนาดเล็กเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงของผู้ประกอบการ เสริมศักยภาพให้พร้อมแข่งขันอย่างสมบูรณ์

ดร.ณัฐพล กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับแนวโน้มการเติบโตของเกษตรอุตสาหกรรมเป็นที่น่าจับตา ด้วยปัจจัยจากสถาการณ์ต่างๆ ส่งผลให้อุตสาหกรรมอื่นๆ ยังอยู่ในภาวะชะลอตัว และด้วยศักยภาพความพร้อมของประเทศไทย ที่มีความพร้อมด้านการเกษตร ประกอบกับแนวโน้มพฤติกรรมผู้บริโภคที่หันใส่ใจสุขภาพมากขึ้น ส่งผลให้อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับอาหารสุขภาพเติบโตอย่างก้าวกระโดด โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินว่าในปีที่ผ่านมาตลาดอาหารสุขภาพของไทยเติบโตถึง 5,400 ล้านบาท ขณะที่มูลค่าตลาดทั่วโลกเติบโตจากการประเมินของยะฮูไฟแนนช์ (Yahoo Finance) สูงถึง 6 ล้านล้านบาท โดยอาหารสุขภาพได้แบ่งประเภทออกเป็นหลายกลุ่ม ขึ้นอยู่กับเป้าหมายของผู้บริโภค อาทิ อาหารคีโต สำหรับผู้ที่ต้องการลดปริมาณการรับประทานแป้ง อาหารแพลนต์เบส สำหรับผู้ที่ต้องการบริโภคโปรตีนที่ทำมาจากพืช ซึ่งจะเห็นได้ว่าตลาดในกลุ่มอาหารสุขภาพนี้ มีช่องทางสำหรับผู้ประกอบการที่มีความพร้อมในการเข้าถึงส่วนแบ่งชิ้นสำคัญ โดย Fresh&Friendly Farm ผู้ผลิตเห็ดออร์แกนิค ถือเป็นอีกหนึ่งตัวอย่างผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทยที่มีการทดลองพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์จากพืช (เห็ดสายพันธุ์ต่าง ๆ)  หรือ แพลนต์เบส ซึ่งได้นำองค์ความรู้ที่ได้รับการส่งเสริมและพัฒนาจาก ดีพร้อม ไปเป็นแรงบันดาลใจและต่อยอดการแปรรูปผลิตภัณฑ์ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มได้อย่างดี ดร.ณัฐพล กล่าวทิ้งท้าย

Logo-Company
Logo-Company
Logo-Company
logo-company
Nichaphan W.
การตลาดและประชาสัมพันธ์
Taiwan-Excellent