iscar
นายก สั่งลุย เพิ่มศักยภาพพื้นที่อีอีซีมุ่งสู่ศูนย์กลางลงทุนในภูมิภาค

นายก สั่งลุย เพิ่มศักยภาพพื้นที่อีอีซีมุ่งสู่ศูนย์กลางลงทุนในภูมิภาค

Date Post
28.02.2022
Post Views

“นายกฯ” ลุยเพิ่มศักยภาพพื้นที่อีอีซีมุ่งสู่ศูนย์กลางลงทุนในภูมิภาค “สุริยะ” รับลูก ย้ำความพร้อมรับการขยายตัวอุตฯ ปิโตรเคมี ด้าน“วีริศ” ชี้ช่วยเสริมสร้างเศรษฐกิจของประเทศ สอดรับนโยบายของรัฐบาล

พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานกล่าวเปิด “โครงการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะที่ 3 (ช่วงที่ 1)” ผ่านระบบออนไลน์ จากห้อง PMOC ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาลว่า โครงการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะที่ 3 (ช่วงที่ 1) เป็นการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน ถือเป็นโครงสร้างพื้นฐานหลักที่สำคัญ 1 ใน 5 ของโครงการพัฒนาพื้นที่เขตเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) ซึ่งรัฐบาลให้ความสำคัญมาโดยตลอด มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้รองรับการขนถ่ายก๊าซธรรมชาติและวัตถุดิบเหลวสำหรับกลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมี 

Automation Expo

อัพเดทเทรนด์อุตสาหกรรมประจำสัปดาห์

ตลอดจนรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมเหล็กครบวงจร และอุตสาหกรรมปุ๋ยเคมีการดำเนินโครงการดังกล่าว ยังเป็นการยืนยันเจตจำนงของความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน ในการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ซึ่งจะก่อให้เกิดการลงทุนในด้านต่าง ๆ ที่ครอบคลุมทุกมิติ ส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายทั้ง S-Curve และ New S- Curve สู่พื้นที่ EEC ทำให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นให้กับคนไทยทุกคน ทั้งนี้ หากโครงการดังกล่าวสำเร็จลุล่วงจะก่อให้เกิดประโยชน์ในพื้นที่ ในการเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ทางน้ำ และเป็นประตูการค้าเชื่อมโยงกับประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคอาเซียนสู่เศรษฐกิจนานาชาติ ตลอดจนมีส่วนในการพัฒนาพื้นที่และท้องถิ่นให้เกิดการจ้างงาน สร้างเศรษฐกิจชุมชน เพิ่มรายได้แก่พี่น้องประชาชนในพื้นที่

“ผมขอเน้นย้ำให้ทุกภาคส่วนเตรียมความพร้อมและใช้โอกาสในการเป็นเจ้าภาพเอเปคของไทย ผลักดันและส่งเสริมผลประโยชน์ต่อภาคธุรกิจ ภาคอุตสาหกรรม และประชาชนคนไทยในทุกด้าน ทำให้ EEC และประเทศไทยเป็นจุดหมายสำหรับนักลงทุน และนักท่องเที่ยวทั่วโลก เป็นฟันเฟืองสำคัญสร้างความเข้มแข็งให้แก่เศรษฐกิจไทยอย่างยั่งยืน อย่างไรก็ตาม การดำเนินโครงการต่าง ๆ รวมทั้งโครงการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ต้องคำนึงถึงความเชื่อมโยงในทุกมิติ สร้างสมดุลในทุกด้าน ทั้งการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรม และสิ่งแวดล้อม ตามแนวคิดเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว หรือ BCG Economy ทั้งนี้ ผมมั่นใจอย่างยิ่งว่า ความสำเร็จที่เกิดขึ้นในวันนี้จะเป็นแรงผลักดันสำคัญต่อการพัฒนาประเทศให้เกิดความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืนต่อไป”นายกรัฐมนตรี กล่าว

ด้านนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า ท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด จัดตั้งขึ้นตามนโยบายภายใต้โครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก หรือ Eastern Seaboard Development Program (ESB) ในปี 2525 ภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2525-2529) เพื่อให้เป็นเขตอุตสาหกรรมที่ทันสมัยในระดับนานาชาติ ที่ผ่านมา กนอ.ได้พัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุดมาแล้วรวม 2 ระยะ ในปี 2535 และปี 2542 ตามลำดับ ซึ่งถือเป็นท่าเรือที่ใหญ่และทันสมัย นับเป็นปัจจัยพื้นฐานที่อำนวยต่อการพัฒนาเศรษฐกิจสำหรับประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

สำหรับโครงการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะที่ 3 บนพื้นที่ 1,000 ไร่ มีมูลค่าการลงทุน ประมาณ 55,400 ล้านบาท ประกอบด้วย ช่วงที่ 1 การลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน งานถมทะเลและขุดลอกร่องน้ำ ประมาณ 12,900 ล้านบาท และการลงทุนท่าเรือก๊าซ ประมาณ 35,000 ล้านบาท ส่วนช่วงที่ 2 การลงทุนท่าเทียบเรือสินค้าเหลว ประมาณ 4,300 ล้านบาท และ 4.คลังสินค้าหรือกิจการที่เกี่ยวข้อง ประมาณ 3,200 ล้านบาท  

ขณะที่ นายวีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการ กนอ. กล่าวเสริมว่า หากโครงการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะที่ 3 (ช่วงที่ 1) เสร็จสมบูรณ์ จะรองรับการเติบโตของผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีในอนาคต เพิ่มขีดความสามารถในการรองรับและขนถ่ายก๊าซธรรมชาติและสินค้าเหลว รวมถึงเป็นการสร้างความมั่นคงทางด้านพลังงานของประเทศ ที่มีความต้องการใช้บริการเพิ่มขึ้นในอนาคต ทั้งนี้ คาดว่าโครงการจะก่อสร้างแล้วเสร็จประมาณปี 2567 และสามารถเปิดให้บริการได้ประมาณปี 2569 ซึ่งจะก่อให้เกิดการจ้างงานเพิ่มขึ้น เกิดการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจและการลงทุนในพื้นที่

Logo-Company
Logo-Company
Logo-Company
logo-company
Nichaphan W.
การตลาดและประชาสัมพันธ์
Intelligent Asia Thailand 2025