Kosmo

พิษโควิด-19 ฉุดส่งออกอาหารไทยปี 63 หดตัว 4.1%

Date Post
19.02.2021
Post Views

3 องค์กร เผยพิษโควิด-19 ฉุดส่งออกอาหารไทยปี 63 เหลือ 9.8 แสนล้านบาท หดตัว 4.1%  ลุ้นปี 64 ฝ่าปัจจัยเสี่ยงสู่เป้า 1.05 ล้านล้านบาท

นางอนงค์  ไพจิตรประภาภรณ์  ผู้อำนวยการสถาบันอาหาร หน่วยงานเครือข่ายกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า ในการประสาน ความร่วมมือของ 3 องค์กร  ในส่วนของสถาบันอาหารจะทำหน้าที่ รวบรวมข้อมูลจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องภายใต้การดำเนินงานของ ศูนย์อัจฉริยะเพื่ออุตสาหกรรมอาหาร โดยมีสภาหอการค้าฯ และสภาอุตสาหกรรมฯ  ร่วมบูรณาการข้อมูล  พบว่าในปี 2563 ภาคการผลิตอุตสาหกรรมอาหารของไทยหดตัวลงร้อยละ 6.5 เป็นผลมาจากการบริโภคภายในประเทศและการส่งออกที่ลดลง เนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 รวมถึงจากปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบ โดยเฉพาะในกลุ่มมันสำปะหลัง อ้อย(น้ำตาล) และสับปะรด 

Intelligent Asia Thailand 2025

ส่วนภาคการส่งออกสินค้าอาหารไทยในปี 2563 มีมูลค่า 980,703 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 4.1 หรือในรูปดอลลาร์คิดเป็นมูลค่าส่งออก  31,284  ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 5.1 ขณะที่ส่วนแบ่ง ตลาดโลกของไทยลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 2.32 จากร้อยละ  2.49  ในปี 2562 และอันดับประเทศผู้ส่งออกอาหารของไทยตกลงมาอยู่ ในอันดับที่ 13 ของโลก จากอันดับที่ 11 ในปีก่อน 

ทั้งนี้ตลาดส่งออกอาหารของไทยปี 2563 มีเพียงประเทศจีน สหรัฐฯ และโอเชียเนีย 3 ตลาดหลักเท่านั้นที่มีอัตราขยายตัว โดยการส่งออกไปยังประเทศจีนมีมูลค่า 179,761 ล้านบาท (+18.1%) สหรัฐฯมีมูลค่า 118,718 ล้านบาท (+12.2%) ภูมิภาค โอเชียเนียมีมูลค่า 33,056 ล้านบาท(+1.7%) ส่วนตลาดอื่นๆ หดตัวลง โดยเฉพาะตลาดกลุ่มประเทศแอฟริกาใต้สะฮารา(Sub-Saharan Africa)(-29.1%) อาเซียนเดิม (-17.7%) สหภาพยุโรป (-11.0%) กลุ่มประเทศตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ(MENA)(-11.3%) และ สหราชอาณาจักร(-12.1%)

 ปัจจุบันจีนเป็นตลาด ส่งออกอาหารอันดับที่ 1 ของไทย มีสัดส่วนส่งออกร้อยละ18.3 รองลงมา ได้แก่ CLMV ร้อยละ 13.9 และญี่ปุ่น ร้อยละ 12.7 ตามลำดับ พบว่าสินค้าอาหารไทยพึ่งพิงตลาด ส่งออกในกลุ่ม ประเทศกำลังพัฒนาในภูมิภาคอย่างจีนและ CLMV มากขึ้น โดยมีสัดส่วนส่งออกรวมกันสูงถึงร้อยละ 32.2 เพิ่มขึ้นจากสัดส่วน ร้อยละ 12.1 ในช่วง 10  ปีก่อน โดยไทยส่งออกสินค้าไปยังจีนและ CLMV เพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 19.6 และ 8.9 ต่อปี ตามลำดับ

ขณะที่มีการพึ่งพิงตลาดในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วอย่างญี่ปุ่น สหรัฐฯ สหภาพยุโรป และสหราชอาณาจักรลดลง ปัจจุบันไทย ส่งออกสินค้าอาหารไปยัง 4 ตลาดดังกล่าวคิดเป็นสัดส่วนรวม กันร้อยละ 32.4 ลดลงจากร้อยละ 42.4 ในช่วง 10 ปีก่อน โดยใน ช่วงดังกล่าวไทยส่งออกสินค้าไปยังสหภาพยุโรป และ สหราช อาณาจักร ลดลงเฉลี่ยร้อยละ -3.1 และ -0.9 ต่อปี ตามลำดับ ขณะที่ส่งออกไปญี่ปุ่นและสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย ในอัตรา เฉลี่ยร้อยละ 1.4 และ 0.5 ต่อปี ตามลำดับ

นางอนงค์ กล่าวต่อว่า นอกจากอุตสาหกรรมอาหารของไทยจะได้ รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19แล้ว ยังมีแรงกดดันจาก การแข็งค่าของเงินบาท ภาวะขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ และต้นทุน ขนส่งที่เพิ่มสูงขึ้น โดยในปี 2563 ที่ผ่านมา พบว่ากลุ่มสินค้าอาหาร แปรรูปมีมูลค่าส่งออก 581,533 ล้านบาท หดตัวลงร้อยละ 5.6 หรือมีสัดส่วนส่งออกร้อยละ 59.3 ของมูลค่าส่งออกอาหารโดยรวม ขณะที่กลุ่มสินค้าเกษตรวัตถุดิบมีมูลค่าส่งออก 399,170 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 2.0 หรือมีสัดส่วนร้อยละ 40.7 ของมูลค่าส่งออก อาหารโดยรวม ทั้งนี้กลุ่มสินค้าหลักที่การส่งออกขยายตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ปลาทูน่ากระป๋อง(+9.1%)  เครื่องปรุงรส(+8.1%) และอาหาร พร้อมรับประทาน(+12.6%) ซึ่งสอดรับกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การบริโภคอาหารที่บ้าน  ในขณะที่กลุ่มสินค้าหลักที่การส่งออก ลดลง ได้แก่ ข้าว(-11.6%) ไก่(-2.4%) น้ำตาลทราย(-40.6%)  แป้งมันสำปะหลัง(-4.4%) กุ้ง(-13.8%) ผลิตภัณฑ์มะพร้าว(-2.7%) และสับปะรด(-2.4%)

ด้านภาพรวมการค้าสินค้าเกษตรและอาหารโลกในปี 2563 มีมูลค่า 1.35 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 โดยกลุ่มสินค้า อาหารที่มีมูลค่าการค้าสูงสุด ได้แก่ ผักผลไม้ ธัญพืช และเนื้อสัตว์ และสหรัฐฯ ยังคงเป็นประเทศผู้ส่งออกอาหารอันดับที่ 1 ของโลก ในขณะที่บราซิลเลื่อนขึ้นมาเป็นอันดับที่ 3 ของโลก จากอันดับที่ 5 ในปีก่อน ส่วนอินโดนีเซีย อันดับโลกดีขึ้น 2 อันดับขยับขึ้นมาเป็น อันดับที่ 11  เพราะได้รับอานิสงส์จากราคาน้ำมันปาล์มที่ปรับตัวสูง ขึ้น และอาหารส่งออกในกลุ่มอื่นๆ ที่ขยายตัวดี อาทิ กุ้งแช่แข็ง ปลาทูน่ากระป๋อง กาแฟ และโกโก้ เป็นต้น

“แนวโน้มการส่งออกสินค้าอาหารไทยปี 2564 คาดว่าจะมีมูลค่า 1,050,000 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.1 โดยมีปัจจัย สนับสนุนหลักมาจาก 1) ความต้องการสินค้าในตลาดโลก มีแนวโน้ม เพิ่มสูงขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจหลังจากที่หลายประเทศเริ่มมีการให้วัคซีนป้องกันโควิด-19 แก่ประชาชน  2) ราคาสินค้าเกษตรและอาหาร ที่เพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มสินค้าไก่ น้ำตาล ผลิตภัณฑ์มันสำปะ หลัง และสับปะรด  3) การกำหนดมาตรการป้องกันการปนเปื้อนเชื้อ โควิด-19 ในกระบวนการผลิตอาหารส่งออก เพื่อสร้างความเชื่อมั่น ให้กับประเทศคู่ค้าที่นำเข้าสินค้าอาหารจากไทย”

อย่างไรก็ตาม คาดว่ายังมีอีกหลายปัจจัยที่จะทำให้การส่งออกไม่ เป็นไปตามเป้า ได้แก่ 1) การขาดแคลนวัตถุดิบของโรงงานแปรรูป อาหาร โดยเฉพาะอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารทะเลที่เน้นผลิตเพื่อ การส่งออก เช่น กุ้ง ปลาทะเล ปลาหมึก  2) ค่าเงินบาทมีแนวโน้ม แข็งค่าสวนทางดัชนีเงินดอลลาร์สหรัฐฯที่อ่อนค่าลง ซึ่งจะกระท บกับกลุ่มอาหารส่งออกที่มีการใช้ปัจจัยการผลิตภายในประเทศในสัดส่วนที่สูง เช่น กุ้งแช่แข็ง สับปะรดกระป๋อง ไก่ น้ำตาลทราย ข้าว และผักผลไม้สด เป็นต้น  3) ต้นทุนค่าขนส่งทางเรือเพิ่มสูงขึ้น จากปัญหาการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์และค่าระวางเรือที่เพิ่มสูงขึ้น รวมทั้งต้นทุนการผลิตและค่าขนส่งภายในประเทศที่มาจาก การเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันในตลาดโลก

สำหรับกลุ่มสินค้าที่คาดว่าการส่งออกจะปรับตัวสูงขึ้นทั้งปริมาณและมูลค่า ได้แก่ ไก่(+2.0%) ปลาทูน่ากระป๋อง(+3.6%)  แป้งมัน สำปะหลัง(+7.4%) เครื่องปรุงรส(+4.1%) มะพร้าว(+2.3%) อาหาร พร้อมรับประทาน(+4.6%)  และสับปะรด(+8.0%)  ส่วนสินค้าที่คาด ว่าการส่งออกจะใกล้เคียงกับปีก่อน คือ ข้าว (+5.7%) ส่วนน้ำตาล ทราย(+51.3%)จะมีปริมาณส่งออกทรงตัว แต่มูลค่าส่งออกจะเพิ่ม ขึ้นตามราคาน้ำตาลในตลาดโลก ขณะที่กุ้ง เป็นสินค้าหลักที่ คาดว่าการส่งออกจะลดลงทั้งปริมาณและมูลค่า(-2.2%)

Logo-Company
Logo-Company
Logo-Company
logo-company
Nichaphan W.
การตลาดและประชาสัมพันธ์
Store Master - Kardex