Intelligent Asia Thailand 2025
ระบบอัตโนมัติขยายช่องว่างรายได้

รู้หรือไม่? ระบบอัตโนมัติขยายช่องว่างรายได้ของแรงงานทักษะต่ำ

Date Post
11.09.2020
Post Views

เทคโนโลยีการผลิตสมัยใหม่นั้นส่งผลกระทบในการทำงานหลากหลายมิติ ไม่ว่าจะเป็นพนักงานออฟฟิศ พนักงานระดับปฏิบัติการณ์ การบริหารจัดการต่าง ๆ ซึ่งเราอาจเคยชินกับภาพของเทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยในการทำงาน และในขณะเดียวกันก็สร้างความหวาดหวั่นจากการถูกแทนที่ แต่รู้กันหรือไม่ครับว่านอกจากปัญหาเหล่านี้ที่ถูกกล่าวถึงกันบ่อยครั้งแล้ว ระบบอัตโนมัติหรือเทคโนโลยีใหม่ ๆ เหล่านี้ยิ่งขยายช่องว่างของฐานรายได้สำหรับแรงงานทักษะต่ำหรือผู้ใช้แรงงานอีกด้วย

ระบบอัตโนมัติขยายช่องว่างรายได้

จากผลการศึกษาใหม่ของนักเศรษฐศาสตร์จาก MIT ชื่อ Daron Acemoglu และ Pascual Restrepo จากมหาวิทยาลัย Boston ให้ความเห็นว่าระบบอัตโนมัติสร้างผลกระทบที่มากกว่าที่เคยคิดไว้สำหรับตลาดแรงงาน ขยายความแตกต่างของรายได้ความไม่เท่าเทียมกันมากกว่างานวิจัยที่เคยตีพิมพ์ออกมาก่อนหน้านี้ โดยระบุว่าปี 1987 นั้นเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญในกระบวนการเหล่านี้ มันเป็นช่วงเวลาที่ตำแหน่งงานนั้นแพ้พ่ายให้กับระบบอัตโนมัติ ด้วยเหตุผลที่ว่าระบบอัตโนมัตินั้นไม่ได้แทนที่แรงงานด้วยจำนวนที่เท่ากันอีกต่อไป หรือว่ากันง่าย ๆ คือ ระบบอัตโนมัตินั้นตอบสนองต่อปริมาณงานที่เท่ากันด้วยจำนวนที่น้อยกว่าแรงงานนั่นเอง

ระบบอัตโนมัติกลายเป็นพลวัตรที่ไม่เท่าเทียมกันระหว่างแรงงานและเทคโนโลยีอีกต่อไป จากการศึกษาการประยุกต์ใช้ระบบอัตโนมัติพบว่าอัตราเฉลี่ยของการเลิกจ้าง (หรือการสูญเสียตำแหน่งงาน) จากปี 1947 – 1987 อยู่ที่ 17% และมีการจ้างกลับเข้าระบบ (ซึ่งเกิดจากโอกาสใหม่) อยู่ที่ 19% แต่ช่วงปี 1987 – 2016 เป็นต้นมา อัตราเลิกจ้างกลับอยู่ที่ 16% และการจ้างกลับเข้ามาอยู่เพียง 10% หากพิจารณาในระยะสั้นตำแหน่งในโรงงานที่หายไปหรือพนักงานตอบรับโทรศัพท์นั้นไม่กลับคืนมาสู่มนุษย์แน่นอน

เมื่อมองย้อนกลับไปในช่วงยุค 1960 – 1980 โอกาสใหม่ ๆ ที่มากับเทคโนโลยีนั้นถือว่าเป็นประโยชน์กับแรงงานที่มีทักษะในระดับต่ำ แต่ตั้งแต่ช่วง 1980 เป็นต้นมา โดยเฉพาะช่วง 1990 และ 2000 เทคโนโลยีกลายเป็นผลกระทบย้อนกลับอันแสนสาหัสด้วยการเลิกจ้างงาน ในส่วนของภาระหน้าที่ใหม่ที่กำลังเกิดขึ้นก็มาอย่างช้า ๆ กลับให้ประโยชน์กับแรงงานที่มีทักษะระดับสูงมากกว่า

แรงงานทักษะต่ำกำลังถอยหลังลงคลอง

งานวิจัยใหม่หลายชิ้นได้ตรวจสอบผลกระทบจากหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติในที่ทำงาน เช่น การตรวจสอบข้อมูลจากประเทศสหรัฐอเมริกาพบว่าตั้งแต่ปี 1993 – 2007 หุ่นยนต์หนึ่งตัวจะแทนที่งาน 3.3 ตำแหน่ง หรือการพบว่าโรงงานที่ปรับใช้หุ่นยนต์ได้อย่างรวดเร็วสร้างผลิตภาพและจ้างแรงงานได้มากขึ้น ในขณะที่คู่แข่งถูกทิ้งไว้เบื้องหลังและกระทบกับแรงงานที่เกี่ยวข้อง ในท้ายที่สุดภาพรวมของการจ้างงานก็ลดลง

ในงานวิจัยล่าสุดพบว่าการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีนี้เกิด Skill-Biased ขึ้น หมายความว่าเทคโนโลยีนั้นเลือกที่จะให้ประโยชน์กับแรงงานทักษะสูงมากกว่าแรงงานทักษะต่ำ ประเด็นนี้ทำให้ค่าตอบแทนของแรงงานทักษะสูงเพิ่มขึ้นในขณะที่คุณค่าของแรงงานอื่น ๆ กลับหยุดนิ่ง ลองคิดถึงวิศวกรที่ได้รับการฝึกฝนมาอย่างมากมายที่ใช้ซอฟต์แวร์รุ่นใหม่ในการปิดโครงการต่าง ๆ ลงได้รวดเร็วยิ่งกว่าที่เคยมี พวกเขามีผลิตภาพและคุณค่าที่ดีกว่าในขณะที่แรงงานขาดการเชื่อมต่อกับเทคโนโลยีใหม่ได้ถูกเปรียบเทียบว่ามีคุณค่าน้อยกว่า

ปัญหาไม่ใช่แค่ช่องว่างของฐานรายได้ที่เกิดขึ้น เมื่อแรงงานทักษะต่ำไม่ได้เพียงพลาดโอกาสในการหารายได้เพิ่มแต่ยังถูกผลักไปข้างหลังด้วยภาระด้านการเงินอื่น ๆ อีกด้วย แต่แนวคิดที่อยู่บนพื้นฐานการเปลี่ยนแปลงของ Skill Biased อาจไม่ได้หมายรวมถึงพลวัตรที่เกิดขึ้นทั้งหมด มันประมาณการให้เห็นว่าผลิตภาพที่เกิดขึ้นและรายได้จริง (ซึ่งสอดคล้องกับเงินเฟ้อ) ของแรงงานควรจะมีมากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

แม้ว่าจะมีการประเมินกันว่ารายได้ของแรงงานทักษะต่ำจะต้องมีการเติบโตอยู่ที่ประมาณ 1% ต่อปี แต่ทว่าในความเป็นจริงรายได้สำหรับแรงงานทักษะต่ำนั้นลดลงตั้งแต่ปี 1970

แล้วทำไมเทคโนโลยีที่ ‘งั้นๆ’ ถึงสุดแสนแย่

ระบบอัตโนมัตินั้นเป็นกรณีพิเศษที่เป็นกลุ่มเทคโนโลยีขนาดใหญ่ที่เข้ามาเปลี่ยนแปลงการทำงานแต่มันไม่ได้สร้างผลิตภาพได้มากมายอะไรให้กับเศรษฐกิจ ลองนึกถึงระบบคิดเงินด้วยตัวเองตามห้างสรรพสินค้าสมัยนี้จะเห็นได้ว่ามันลดต้นทุนค่าจ้างลงโดยทำให้กระบวนการมีประสิทธิภาพมากขึ้น ความแตกต่างก็คือ งานนั้นทำโดยตัวของผู้ซื้อเองไม่ใช่ลูกจ้างที่มีหน้าที่ดำเนินการให้ ระบบเหล่านี้ในสายตาของทีมวิจัยเรียกว่า So-So Technologies หรือเทคโนโลยีที่งั้น ๆ เพราะคุณค่าที่ได้มีน้อยนิด

เทคโนโลยีเหล่านี้เป็นอุปกรณ์ประหยัดต้นทุนสำหรับบริษัทที่ต้องการลดต้นทุนสักเล็กน้อยแต่ไม่ได้เพิ่มผลิตภาพจริงสักเท่าใดนัก สร้างผลกระทบจากการแทนที่แต่ไม่ได้มีประโยชน์อะไรกับแรงงานมากนัก โดยบริษัทไม่มีเหตุผลที่จะต้องจ้างคนหรือจ่ายเงินเพิ่มขึ้นอยู่แล้ว

ถ้ามองย้อนกลับไปในปี 1987 ระบบอัตโนมัติในการคิดเงินแบบนี้ยังไม่เกิดขึ้นอย่างแน่นอน ระบบอัตโนมัติที่มีใช้งานกันในยุคนั้นเกี่ยวข้องกับการพิมพ์บันทึกของสำนักงานที่ต้องถูกเปลี่ยนเป็นฐานข้อมูล หรือเครื่องจักรที่ต้องมีการแบ่งส่วนทำงาน เช่น อุตสาหกรรมสิ่งทอ หรือการผลิตเฟอร์นิเจอร์ หุ่นยนต์กลายเป็นเครื่องมือสามัญสำหรับอุตสาหกรรมหนักตั้งแต่ช่วงปี 1990 เป็นต้นมา ระบบอัตโนมัติกลายเป็นกลุ่มชุดเทคโนโลยีที่ปัจจุบันต่อยอดมาเป็นซอฟต์แวร์และปัญญาประดิษฐ์ซึ่งก็ยังคงส่งผลให้เกิดการเลิกจ้างดังเช่นเคย

“แม้ว่ามันจะไม่ใช่หมดสิ้นอับจนหนทางหรือเป็นข่าวดีที่ยิ่งใหญ่ มันไม่มีอะไรที่จะบ่งบอกได้เลยว่าเทคโนโลยีนั้นเป็นสิ่งที่เลวร้ายไปทั้งหมดสำหรับแรงงาน มันเป็นทางเลือกที่เราใช้กำหนดทิศทางในการพัฒนาเทคโนโลยีต่างหากที่เป็นสิ่งสำคัญ” Daron Acemoglu

ที่มา:
Scitechdaily.com

บทความที่เกี่ยวข้อง:
11 ทักษะ Soft Skills ที่ต้องมีสำหรับวิศวกรยุคดิจิทัล
Logo-Company
Logo-Company
Logo-Company
logo-company
Thossathip Soonsarthorn
"Judge a man by his questions rather than his answers" Voltaire
Store Master - Kardex