วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงอุตฯ SEA ผ่านมุมมอง Rockwell Automation

Date Post
26.03.2019
Post Views

เมื่อประเทศไทยพยายามผลักดันและปฏิรูปตัวเองด้วยนโยบาย 4.0 เพื่อตอบรับต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกและดึงดูดการลงทุนต่าง ๆ รวมถึงการขยายตัวของกิจการอุตสาหกรรมในกลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ประเทศสิงคโปร์ ด้วยเป้าหมายในการยกระดับอุตสาหกรรมและดึงดูดนักลงมุน แต่แท้จริงแล้วมุมมองของนักลงทุนและผู้ให้บริการด้านโซลูชันอัจฉริยะอย่าง Rockwell Automation ที่มีต่อภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้นเป็นอย่างไร

วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงอุตฯ SEA ผ่านมุมมอง Rockwell Automation

Rockwell Automation กับพื้นที่ SEA

Rockwell Automation มองว่าพื้นที่ SEA ถือว่ามีการเติบโตที่รวดเร็วที่สุดในปัจจุบัน รวมถึงการเติบโตทางเศรษฐกิจซึ่งเป็นผลมาจากลักษณะทางภูมิศาสตร์อีกด้วย สำหรับนโยบาย Thailand 4.0 ของประเทศไทยและ Smart City จากประเทศสิงคโปร์นั้น สามารถสร้างความสนใจให้กับนักลงทุนได้เป็นอย่างดี แม้ว่าเมืองไทยจะอยู่ท่ามกลางความไม่แน่นอนทางการเมือง นอกเหนือจากความได้เปรียบทางภูมิศาสตร์แล้ว ประเทศไทยยังมีแรงงานที่มีทักษะสำหรับการผลิตที่ดีเนื่องจากประสบการณ์ทำงานที่ยาวนาน

นอกจากนี้อีกปัจจัยหนึ่งซึ่งส่งผลต่อการลงทุนในภูมิภาค คือ ปัญหาด้านมาตรการสงครามภาษีระหว่างสหรัฐอเมริกากับประเทศจีน ซึ่งนักลงทุนในสหรัฐฯ เองไม่ต้องการที่จะลงทุนในประเทศอีกต่อไปเนื่องจากปัญหาด้านต้นทุน รวมถึงนโยบายด้านภาษีนำเข้าสินค้าจาสหรัฐฯ เช่น กลุ่มสหภาพยุโรป ในขณะที่การนำสินค้าจากประเทศจีนเข้าสู่สหรัฐฯ กลับเจอกำแพงภาษีจำนวนมากที่ทำให้เหล่านักลงทุนเลือกย้ายฐานการผลิตในกลุ่มประเทศอื่น ๆ เช่น ไทยหรือฟิลิปปินส์กลายเป็นทางเลือกที่ดูดีมีอนาคตมากกว่า

สำหรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากการมาถึงของเทคโนโลยีดิจิทัล ภาครัฐได้เดินเกมส์ด้วยนโยบายสนับสนุนต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการลดหย่นอนภาษี การสนับสนุนด้านเทคนิคและความรู้ รวมถึงความร่วมมือกับหน่วยงานเอกชนเพื่อต่อยอดสานฝันสำหรับโอกาสที่มาถึงให้เกิดขึ้นได้จริง โดยนโยบายที่เกิดขึ้นทำให้เกิดค่านิยมใหม่ขึ้น 3 ประการ ในการทำงานของธุรกิจ ได้แก่

  1. การทำแบรนด์ให้มีความเรียบง่ายมากขึ้น
  2. มีการใช้งาน IoT และการควบรวมระบบต่าง ๆ เข้าด้วยกัน
  3. การขยายตัวไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะ IoT แต่ยังรวมไปถึงการออกแบบและใช้งาน UI/UX ด้วย

แนวทางการทำงานใหม่นี้เป็นผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงจากการมาถึงของ Digitalization และนวัตกรรม 4.0 ซึ่งสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับการทำงานทั้งระบบ ไม่ว่าจะเป็นส่วนของการบริหารงาน การผลิต การฝึกอบรม การเก็บข้อมูลต่าง ๆ ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำงานและธุรกิจ แน่นอนว่าในส่วนของแรงงานนั้นได้รับผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จำเป็นต้องดำเนินการพัฒนานาศักยภาพแรงงานให้มีทักษะที่สอดคล้องกับรูปแบบการปฏิบัติงานที่เปลี่ยนไป การทำงานยุคใหม่นั้นมีความปลอดภัยในการทำงานมากขึ้นลดภาระการทำงานของร่างกายรวมถึงความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุการทำงานลง ขณะเดียวกันทักษะแรงงานเฉพาะด้านมีความต้องการมากขึ้นและรูปแบบทักษะพื้นฐานของแรงงานที่ต้องการมีเทคโนโลยี IT เพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน

ด้วยเหตุนี้การพัฒนาแรงงานสำหรับอุตสาหกรรมยุคใหม่จึงเป็นสิ่งสำคัญซึ่งในปัจจุบัน Rockwell Automation ได้จัดตั้งหน่วยงานที่เกี่ยวกับการพัฒนาศักยภาพแรงงานเพื่อหยิบยื่นโอกาสให้กับทั้งแรงงานและผู้ประกอบการ โดยมีการจัดตั้ง The Academy of Advanced Manufacturing ขึ้นร่วมกับ ManpowerGroup และสำหรับประเทศไทย Rockwell Automation กำลังดำเนินการด้านความร่วมมือกับสถาบันไทย-เยอรมัน (TGI)

โอกาสของผู้ประกอบการขึ้นอยู่กับแรงงาน

Modern Manufacturing มองเห็นความเปลี่ยนแปลงและโอกาสที่กำลังมาถึงในภูมิภาคจากมุมมองของ Rockwell Automation ที่สามารถไขว่คว้าเอาไว้ได้หากผู้ประกอบการมีความรู้และความเข้าใจสถานการณ์ที่เกิดขึ้น การพัฒนาแรงงานกลายเป็นกลไกสำคัญของการเปลี่ยนแปลง ในขณะที่ผู้บริหารสามารถลงทุนกับเทคโนโลยี เครื่องจักร ระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานที่ทันสมัยได้ แต่สำหรับแรงงานที่มีอยู่อย่างจำกัด และลดน้อยลงอย่างต่อเนื่องจากหลากหลายปัจจัย ทำให้มูลค่าของแรงงานที่มีทักษะพร้อมนั้นเพิ่มสูงขึ้นและกลายเป็นความต้องการที่ต้องแย่งชิงทรัพยากรบุคคลของธุรกิจ

การพัฒนาแรงงานกลายเป็นหัวข้อสำคัญสำหรับการแข่งขันในยุคใหม่ที่ต้องลงทุนทั้งเวลาและทรัพยากร แม้ว่าเครื่องจักรและระบบอัตโนมัติสามารถทำงานที่ต้องใช้แรงส่วนใหญ่ได้ แต่สำหรับการตัดสินใจ การออกแบบระบบ การซ่อมบำรุง มนุษย์ยังคงเป็นหัวใจสำคัญที่ไม่อาจทดแทนได้ โดยวิศวกรที่ได้รับการรับรองทั้งหมดจากสภาวิศวกรมีเพียง 164,569 คน ในขณะที่การศึกษาในระดับอุดมศึกษาผลิตแรงงานทั้งหมดประมาณ 2 ล้านคนต่อปี (รายงานสถิติการศึกษาประจำปี 2559) ซึ่งแรงงานที่มีทักษะเหล่านี้จำนวนหนึ่งเท่านั้นเลือกเข้ามาทำงานในสายงานด้านอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งสายงานเฉพาะอย่างการผลิต การบริหารจัดการทรัพยากร งานโลจิสติกส์ หากผู้ประกอบการคาดหวังกับแรงงานที่มีความพร้อมทั้งหมดอาจเป็นไปได้ยาก การนำแรงงานที่มีทักษะบางส่วน แรงงานที่มีทัศนคติที่ดี หรือแรงงานที่มีศักยภาพในการพัฒนาตัวเองมาต่อยอดทักษะถือเป็นทางออกที่มีความน่าสนใจสูง

แม้ว่าผู้ประกอบการ นักลงทุน รวมถึงผู้จัดจำหน่ายเทคโนโลยีการผลิตต่างให้ความสนใจในภูมิภาค แต่ศักยภาพในการรองรับการทำงานตามรูปแบบการผลิตสมัยใหม่ในภูมิภาค SEA ยังขาดแคลนความพร้อมยกเว้นประเทศสิงคโปร์ ในขณะที่ประเทศไทยที่มีข้อได้เปรียบทางด้านภูมิศาสตร์และจำนวนแรงงานกลับขาดแคลนทักษะสำหรับอุตสาหกรรมยุคใหม่ที่ต้องใช้ทั้ง OT และ IT ด้วยกัน ก่อนจะพูดคุยถึงการลงทุนด้านเครื่องจักร นวัตกรรม และเทคโนโลยี การพัฒนาทักษะและแนวคิดของแรงงานเป็นสิ่งที่ต้องดำเนินการก่อนอย่างเร่งด่วน

Logo-Company
Logo-Company
Logo-Company
logo-company
Thossathip Soonsarthorn
"Judge a man by his questions rather than his answers" Voltaire