“สถาบัน กนอ.” ปั้นขุมพลังอัจฉริยะ ป้อนภาคอุตสาหกรรมไทย

“สถาบัน กนอ.” ปั้นขุมพลังอัจฉริยะ ป้อนภาคอุตสาหกรรมไทย

Date Post
27.03.2023
Post Views

กนอ. เปิดโมเดล “สถาบัน กนอ.” สร้างขุมพลังอัจฉริยะให้ภาคอุตสาหกรรมไทย หวังยกระดับนิคมอุตสาหกรรมอัจฉริยะ (Smart I.E.) เพิ่มทักษะฝีมือแรงงานให้ได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับระดับสากล พร้อมผลักดันผู้ประกอบการไทยเปลี่ยนผ่านสู่ธุรกิจแห่งอนาคต เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของนักลงทุนต่างชาติ

นายวีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เปิดเผยว่า กนอ.เล็งเห็นความสำคัญของการยกระดับประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการลงทุนภาคอุตสาหกรรมของภูมิภาค (ASEAN Hub) โดยการพัฒนานิคมอุตสาหกรรม สู่การเป็นนิคมอุตสาหกรรมอัจฉริยะ (Smart I.E.) เพิ่มความสามารถในการแข่งขันให้ผู้ประกอบการ ด้วยการผลิตแรงงานอัจฉริยะ (Smart workforce) ให้มีทักษะฝีมือ (Skills Labor) อย่างเชี่ยวชาญ รวมถึงการรับรองฝีมือแรงงานที่มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับในระดับสากล มีระบบการจัดเก็บข้อมูลและการบริหารจัดการคุณภาพแรงงานที่มีประสิทธิภาพ ตรงตามความต้องการของนักลงทุนต่างประเทศ (FDI: Foreign Direct Investment) ผ่านการดำเนินการของ “สถาบัน กนอ.” ซึ่งจัดตั้งโดย กนอ. ภายใต้ความร่วมมือกับหน่วยงานพันธมิตร

เปิดตัวรถแข่งบินได้ Mk4 ขุมพลังไฮโดรเจน รองรับนักบิน 1 ที่นั่ง | FactoryNews ep.47/5

“การสร้างกำลังคนในภาคอุตสาหกรรม ถือเป็นโจทย์สำคัญของการพัฒนาเพื่อรองรับการลงทุนของอุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-Curve) และดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ อีกทั้งแรงงานที่มีทักษะฝีมือ (Skills Labor) ก็เป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรม ที่จะต้องได้รับการ Upskill ให้เท่าทันเทคโนโลยีอุตสาหกรรมในปัจจุบัน ซึ่งสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของ “สถาบัน กนอ.” คือ การยกระดับบุคลากรภาคอุตสาหกรรมของประเทศ เพื่อส่งเสริมขีดความสามารถในการแข่งขันอย่างครบวงจร” นายวีริศ กล่าว

สำหรับขอบเขตของการดำเนินงาน ประกอบด้วย 1.การพัฒนาหลักสูตรอบรมสำหรับบุคคลที่เกี่ยวข้องกับ กนอ. ทั้งผู้พัฒนานิคมอุตสาหกรรมและท่าเรืออุตสาหกรรม โรงงานอุตสาหกรรม เจ้าหน้าที่ภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนบุคลากรของ กนอ. 2.พัฒนาศักยภาพบุคลากร ด้วยการยกระดับมาตรฐานและสมรรถนะวิชาชีพของบุคลากรในภาคอุตสาหกรรมให้อยู่แนวหน้าของอุตสาหกรรมโลก 3.ทดสอบฝีมือแรงงาน ระดับคุณภาพอุตสาหกรรม ผ่านการทดสอบวัดผลร่วมกับหน่วยงานเครือข่าย 4.รับรองฝีมือแรงงานสำหรับภาคอุตสาหกรรม ผ่านมาตรฐานอาชีพเฉพาะทางในนิคมอุตสาหกรรมที่มีทักษะความชำนาญสูง 5.ยกระดับนิคมอุตสาหกรรมให้อยู่ในระดับแนวหน้าในทุกด้านอย่างครบวงจร 

และ 6.การสร้างเครือข่าย โครงสร้างหลักสูตรจะแบ่งออกเป็น 4 ระดับ คือ Tier 1 เป็นระดับของผู้บริหารระดับสูง ผู้พัฒนานิคมอุตสาหกรรม และผู้บริหารของโรงงานอุตสาหกรรม Tier 2 เป็นระดับของนักพัฒนาและบริหารจัดการมืออาชีพ Tier 3 การบริหารจัดการสำหรับผู้ควบคุมงาน เช่น หัวหน้าแผนก วิศวกร เป็นต้น และ Tier 4 ความรู้พื้นฐานและความรู้เฉพาะทางสำหรับพนักงานและเจ้าหน้าที่ในนิคมอุตสาหกรรม ทั้งนี้ นำร่องหลักสูตรแรกของ “สถาบัน กนอ.” ด้วย “หลักสูตรนักพัฒนานิคมอุตสาหกรรมมืออาชีพ” 

สำหรับผู้พัฒนานิคมอุตสาหกรรมและผู้ที่สนใจลงทุนธุรกิจนิคมอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นหลักสูตรที่ กนอ. ดำเนินการต่อเนื่องมาเป็นรุ่นที่ 7 แต่ความพิเศษของครั้งนี้ คือ การเพิ่มองค์ความรู้ด้านการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมอัจฉริยะ (Smart I.E.) เพื่อเตรียมความพร้อมในการพัฒนาและบริหารจัดการนิคมอุตสาหกรรมให้ประสบความสำเร็จทางธุรกิจ และเพิ่มศักยภาพทางการแข่งขันในระดับสากล โดยหลักสูตรดังกล่าวกำหนดเปิดรับสมัครระหว่างวันที่ 1 – 30 เมษายน 2566 ผู้ที่สนใจสามารถติดตามการรับสมัครได้ทางเว็บไซต์ กนอ. : www.ieat.go.th/th

Logo-Company
Logo-Company
Logo-Company
logo-company
Nichaphan W.
การตลาดและประชาสัมพันธ์