Intelligent Asia Thailand 2025

สสว.เตรียมช่วยเหลือ SME ฝ่าวิกฤติ ต้นทุนการผลิตเพิ่มสูงขึ้น

Date Post
05.10.2022
Post Views

สสว. เผยแม้ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศของ SME 9 เดือน ปี 2565 ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนโดยคิดเป็นสัดส่วนต่อ GDP รวมร้อยละ 35.3 แต่ราคาต้นทุนการผลิตยังเพิ่มสูงขึ้น เตรียมช่วยเหลือ SME ฝ่าวิกฤติปัญหาต้นทุน 

นายวีระพงศ์ มาลัย ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม  (สสว.) เปิดเผยว่า ภาพรวมผลการดําเนินงานตามแผนงานยุทธศาสตร์พัฒนาผู้ประกอบการและวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ประจําปีงบประมาณ 2565 ณ ไตรมาส 3 (ระหว่างเดือนตุลาคม 2564 – มิถุนายน 2565)  ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศของ SME (GDP MSME) มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนโดยคิดเป็นสัดส่วนต่อ GDP รวมร้อยละ 35.3 เนื่องจากธุรกิจ SME มีแนวโน้มฟื้นตัวในเกือบทุกสาขาจากการเปิดประเทศต้อนรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ สอดคล้องกับจํานวนการจ้างงานที่มีแนวโน้มจะปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง 

Intelligent Asia Thailand 2025

ได้เวลาเปลี่ยน ! แนวทางใหม่กล่องพลาสติกรีไซเคิลเพื่อการขนส่ง | FactoryNews ep.22/1

โดยในภาพรวมตามแผนงานยุทธศาสตร์พัฒนาผู้ประกอบการและวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ณ ไตรมาส 3 ประจําปีงบประมาณ 2565 สัดส่วน NPL ของ SME ต่อสินเชื่อรวมของ SME เท่ากับร้อยละ 7.46 สินเชื่อ SME ต่อสินเชื่อรวม เท่ากับร้อยละ 19.19 มูลค่าการส่งออกของ SME ต่อการส่งออกรวมร้อยละ 13 โดยคาดว่ารายได้ของ SME และอัตราการลดลงของสินเชื่อด้อยคุณภาพของ SME จะอยู่ระดับเดียวกับปี 2562

ถึงแม้ปัจจัยต่างๆ จากข้อมูลเศรษฐกิจไทยยังคงเติบโตได้ดี การท่องเที่ยวฟื้นตัวอย่างเด่นชัด แต่ยังคงอยู่ในช่วงการเริ่มต้นของการเปิดประเทศเท่านั้น ยังไม่สามารถกลับไปสู่สภาพปกติเหมือนก่อนเกิดการแพร่ระบาดโควิด-19 ได้ แม้สถานการณ์จะคลี่คลายลงไปบ้าง แต่หลายธุรกิจที่ได้รับผลกระทบยังคงประสบปัญหาอยู่ สิ่งที่ต้องกังวลในภาพรวมเศรษฐกิจไทยในระยะต่อไป คือ ปัญหาราคาต้นทุนการผลิตที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง กระทบต่อต้นทุนการผลิตรวม อัตราแลกเปลี่ยนของค่าเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐอเมริกา ที่มีแนวโน้มอ่อนค่าลง จะส่งผลทางอ้อมต่อการนําเข้า ปัจจัยสินคาทุนและสินค้าพลังงาน แต่ปัจจัยบวกจากการส่งออกที่ขยายตัวได้ดีจากความต้องการในประเทศคู่ค้า เช่น สหรัฐอเมริกา จีน และอาเซียน รวมทั้งการจ้างงานในประเทศ ซึ่งในภาพรวมยังคงฟื้นตัวจากปีก่อนแต่เป็นการฟื้นตัวในบางกิจกรรมทางเศรษฐกิจเท่านั้น ในภาพรวมเศรษฐกิจไทยยังคงต้องจับตาอย่างใกล้ชิด เพื่อเตรียมความพร้อมในการช่วยเหลือต่อไป

ทางด้าน สสว. ดําเนินการโดยส่งเสริมให้มีแหล่งเงินทุนในระดับพื้นฐาน สําหรับ SME ในกลุ่มเศรษฐกิจฐานราก ส่งเสริมกองทุนภาครัฐเพื่อเป็นแหล่งเงินทุนสําหรับ SME กลุ่มที่ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนจากสถาบันการเงินได้ จัดให้มีกองทุนพิเศษให้สินเชื่อแก่ SME โดยกําหนดเงื่อนไขที่จูงใจให้ผู้ประกอบการดําเนินธุรกิจอย่างเป็นระบบ ลดหรือชะลอค่าใช้จ่ายต่างๆ ของ SME เช่น ลดค่าธรรมเนียมต่างๆ ที่หน่วยงานภาครัฐเรียกเก็บจากผู้ประกอบการ ค่าเช่าพื้นที่ ค่าสาธารณูปโภคที่เป็นต้นทุนในการทําธุรกิจ สนับสนุนค่าจางแรงงานให้กับ SME ที่ยังได้รับผลกระทบรุนแรงจากสถานการณ์โควิด-19 ขับเคลื่อนมาตรการส่งเสริม SME เข้าสู่การจัดซื้อจัดจางของภาครัฐ ให้เป็นรูปธรรม รวมถึงการยกระดับ SME ที่เป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่มูลค่าโลกช่วยเหลือ SME ให้สามารถขยายโอกาสทางการตลาดโดยเฉพาะตลาดออนไลน์ โดยมุ่งเน้น SME ที่อยู่ในภูมิภาค เพื่อสร้างโอกาสไปยังตลาดใหม่ทดแทนตลาดเดิม เสริมสร้างทัศนคติและยกระดับองค์ความรู้แก่ SME ให้สามารถนําไปใช้ในการปรับทิศทางการดําเนินธุรกิจได้ เกิดความยืดหยุ่นในการประกอบการมากยิ่งขึ้น เสริมสร้างทักษะเบื้องต้นในการประกอบธุรกิจ และส่งเสริมการฝึกอาชีพและเสริมทักษะใหม่แก่แรงงานที่ได้รับผลกระทบ ทั้งที่ถูกเลิกจ้างและลดระยะเวลาการทํางาน 

นอกจากนี้ ยังส่งเสริม SME ให้เข้าถึงข้อมูลด้านเทคโนโลยีและดิจิทัลเพื่อใช้ในการพัฒนา และบริหารจัดการองค์กรและธุรกิจ ส่งเสริม SME ให้เข้าถึงบริการในการพัฒนาสินค้าและบริการให้ได้คุณภาพมาตรฐานสากล ส่งเสริม SME ให้สามารถนําวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี นวัตกรรม และความคิดสร้างสรรค์มาใช้ในการสร้างมูลค่าแก่สินค้าและบริการ ส่งเสริม SME ให้ดําเนินธุรกิจอย่างมีธรรมาภิบาล พัฒนาทักษะแรงงานในสถานประกอบการ SME เตรียมความพร้อมให้นักศึกษาจบใหม่ และสร้างโอกาสให้นักศึกษาในการเรียนรู้ ฝึกทักษะ เพื่อเข้าสู่ตลาดแรงงานในอนาคต เร่งสร้างความรู้พื้นฐานทางการเงิน 

โดยเฉพาะในกลุ่ม SME ฐานราก สร้างความเข้าใจและความรู้ให้ SME ในเรื่องเกณฑ์ของสถาบันการเงิน รับรู้และใช้ประโยชน์จากช่องทางการเงินในรูปแบบต่างๆ ที่เป็นเครื่องมือในการเติมทุนให้ SME ในแต่ละกลุ่ม สนับสนุนให้ SME มีการขยายตลาดไปยังต่างประเทศ ส่งเสริมการใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้า ช่วยให้ SME เข้าถึงแหล่งเงินทุนและการป้องกันความเสี่ยงในการค้า และการลงทุนระหว่างประเทศ ปลูกฝังแนวคิดการเป็นผู้ประกอบการให้กับเยาวชน คนรุ่นใหม่ บ่มเพาะผู้ประกอบการใหม่ และเชื่อมโยงแหล่งเงินทุนที่เหมาะสมกับธุรกิจในระยะเริ่มต้น

ด้านการส่งออกของ MSME ครึ่งปีแรกของปี 2565 คิดเป็นมูลค่า 347,344.3 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 25.3 (ไตรมาส 2) โดยส่งออกไปสหรัฐอเมริกาขยายตัวสูงที่สุดถึงรอยละ 53.2 สินค้าเกษตรแปรรูป อัญมณีและเครื่องประดับเติบโตได้ดีอย่างต่อเนื่อง ซึ่งตลาดส่งออกหลักของ MSME ยังคงขยายตัวได้ทุกตลาดจากหลายปัจจัย ได้แก่ เศรษฐกิจประเทศคู่ค้าที่ฟื้นตัว ราคาสินค้าส่งออก ที่ปรับตัวสูงขึ้นจากราคาน้ำมัน รวมถึงค่าเงินบาทที่อ่อนค่าอย่างต่อเนื่อง

การนําเข้าของ MSME ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2565 คิดเป็นมูลค่า 350,454.1 ล้านบาท ขยายตัวเท่ากับ ร้อยละ 12.7 (ไตรมาส 2) ซึ่งแหล่งนําเข้าที่สําคัญที่สุดของ MSME ยังคงเป็นประเทศจีน และกลุ่มอาเซียน สําหรับปัจจัยที่ต้องติดตามอย่างต่อเนื่อง คือ ภาวะเงินเฟ้อทั่วโลกที่จะส่งผลกระทบต่อกําลังซื้อภายในประเทศและต่างประเทศ และในด้านค่าเงินบาทอ่อนค่าลงค่อนข้างมากหากเปรียบเทียบกับค่าสกุลอื่นๆ อาเซียน จีน ญี่ปุ่น ที่เป็นแหล่งนําเข้าสําคัญของ MSME พบว่า  ค่าเงินบาทยังคงอ่อนค่าน้อยกว่า โดยเปรียบเทียบ ผู้นําเข้า MSME จึงยังได้รับผลกระทบไม่มากนัก

Logo-Company
Logo-Company
Logo-Company
logo-company
Nichaphan W.
การตลาดและประชาสัมพันธ์
Automation Expo