สสว. เผยความคืบหน้าในการผนึกหน่วยงานพันธมิตร ผลักดันสิทธิประโยชน์เพื่อการประกอบการ ปีงบประมาณ 2565 เสริมแกร่งผู้ประกอบการหลังประสบผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด-19
นายวีระพงศ์ มาลัย ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) กล่าวในงานแถลงข่าว กิจกรรมเผยแพร่สิทธิประโยชน์เพื่อการประกอบการ ปีงบประมาณ 2565 โดยมีผู้แทนหน่วยงานพันธมิตรภาครัฐและเอกชน และผู้ประกอบการร่วมงาน อาทิ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารออมสิน บริษัท เฟเวอร์ลี่ จำกัด และบริษัท เทลสกอร์ จำกัด ว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจทั่วโลก ในส่วนของประเทศไทยมีผู้ประกอบการได้รับผลกระทบเป็นจำนวนมาก ทำให้ผู้ประกอบการต้องปรับตัว และเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินธุรกิจ ทางด้านรัฐบาลตระหนักถึงความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเข้าไปช่วยเหลือให้ผู้ประกอบการสามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ ในยุค New Normal และ Next Normal สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ สสว. ซึ่งมีพันธกิจในการบูรณาการ และผลักดันการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม MSME ให้พลิกฟิ้น อยู่รอด และเติบโต
แม่เหล็กรีไซเคิล ทางเลือกใหม่ ไม่เปลืองทรัพยากร | FactoryNews ep.19/2
สสว. ตอบรับแนวทางของรัฐบาลด้วยการบูรณาการความร่วมมือและเชื่อมโยงเครือข่ายทั้งหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน ในการส่งเสริมและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับ MSME ในมิติต่างๆ นำมาสู่ “งานพัฒนาสิทธิประโยชน์และผลักดันให้เกิดขึ้นจริงเพื่อการประกอบการ” โดยมียุทธศาสตร์การดำเนินงาน 4 ด้าน คือ การยกระดับบูรณาการ MSME ของประเทศด้วย Big Data , การพัฒนากลไกการส่งเสริมให้เข้าถึง MSME และเศรษฐกิจชุมชน , การสร้างสังคมผู้ประกอบการให้เติบโตและก้าวสู่สากล , และการเพิ่มศักยภาพองค์กรให้มีสมรรถนะสูง โดย 1 ใน นโยบายสำคัญในปีงบประมาณ 2565 ที่ สสว. ได้ริเริ่มดำเนินการไปแล้วคือ การสนับสนุนให้ MSME เข้าถึงการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ ด้วยการพัฒนาระบบ SME-GP เป็นการขึ้นทะเบียนบัญชีรายการสินค้าและบริการ และบัญชีรายชื่อผู้ประกอบการเพื่อการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ
โดยรวบรวมข้อมูลผู้ประกอบการและรายการสินค้าและบริการของ SMEเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการในพื้นที่มีโอกาสได้รับการจัดซื้อจัดจ้างจากหน่วยงานภาครัฐในจังหวัดนั้นๆ เป็นการกระจายรายได้จากภาครัฐสู่ผู้ประกอบการที่มีมูลค่าไม่น้อยกว่า 1.3 ล้านบาทต่อปี และเสริมสร้างให้เกิดมูลค่าการซื้อขายระหว่างหน่วยงานภาครัฐและ SME ในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถแข่งขันด้านราคาได้มากขึ้น อีกทั้งผู้ประกอบการได้รับการพัฒนาจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และได้รับสิทธิประโยชน์ต่างๆจากภาครัฐ เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาธุรกิจในระยะยาว
- สสว. จับมือ สอวช. ยกระดับศักยภาพด้านนวัตกรรม SME
- สสว. เผยดัชนีความเชื่อมั่น SME เดือนพฤษภาคม 2565 ลดลง
- สสว. รุกพัฒนาดิจิทัลแพลตฟอร์มช่วย SME ทำธุรกิจยุคใหม่
- สสว.ขนทัพธุรกิจดิจิทัลร่วมงาน FTI Expo 2022 เจาะตลาดการค้าโลก
นอกจากนี้ ยังมีโครงการส่งเสริมผู้ประกอบการผ่านระบบ BDS ( Business Development Service ) เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนผู้ประกอบการ SME ให้ได้รับโอกาสในการเข้าถึงการบริการสนับสนุนด้านการพัฒนาธุรกิจในรูปแบบใหม่ ที่ผู้ประกอบการจะสามารถเลือกรับบริการหรือรับการพัฒนาจากผู้ให้บริการทางธุรกิจระดับชั้นนำของประเทศที่ตรงกับความต้องการของธุรกิจของผู้ประกอบการผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ โดย สสว.จะอุดหนุนค่าใช้จ่ายให้แก่ SME แบบรวมจ่ายในสัดส่วนร้อยละ 50-80
อย่างไรก็ตาม นอกจากโครงการขึ้นทะเบียน SME-GP และโครงการ BDS แล้ว สสว. ไม่หยุดยั้งที่จะคิดค้นโครงการหรือกิจกรรมอื่นๆ ที่จะสามารถช่วยให้ผู้ประกอบการให้รอดพ้นจากสถานการณ์วิกฤตเพียงเท่านั้น หากแต่ยังมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมผู้ประกอบการ SMEs ให้เติบโต แข็งแกร่ง ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ และสามารถแข่งขันได้ในระดับสากลได้ในอนาคต