iscar

หุ่นยนต์จะรับรู้ถึงมนุษย์ที่ทำงานด้วยได้ดีขึ้นหากรับรู้ ‘บริบท’

Date Post
20.04.2021
Post Views

นักวิจัยจาก KTH Royal Institute of Technology ได้พัฒนารูปแบบวิธีที่ทำให้หุ่นยนต์สามารถทำงานร่วมกับมนุษย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ด้วยการเพิ่มเงื่อนไขให้ระบบสามารถรับรู้ ‘บริบท (Context)’ ได้เพื่อช่วยในการพิจารณาเลือกเงื่อนไขต่าง ๆ

การทำงานที่ปลอดภัยนั้นไม่ใช่เพียงกระบวนการเท่านั้น แต่สิ่งที่เราเรียกกันว่า ‘บริบท’ ซึ่งเป็นความเข้าใจที่มีต่อสิ่งแวดล้อมและสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ทำให้สามารถคาดการณ์ได้ว่าคนอื่นนั้นจะดำเนินการต่อไปอย่างไร ด้วยระบบใหม่ที่ทำให้หุ่นยนต์สามารถรับรู้บริบทได้ทำให้สามารถทำงานเคียงข้างมนุษย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นโดยไม่ต้องกังวลกับการรบกวนที่ไม่จำเป็น

โดยทั่วไปหุ่นยนต์มักจะตัดสินระยะห่างระหว่างมนุษย์กับตัวเองเพื่อเว้นระยะความปลอดภัย ระบบการทำงานร่วมกันระหว่างหุ่นยนต์และมนุษย์นั้นสามารถระบุแรงงานแต่ละคนที่ทำงานด้วยกันได้ ด้วยการมีมุมมองที่เป็นโมเดลโครงกระดูกของมนุษย์ทดแทนภาพของทั้งร่างกาย ทำให้หุ่นยนต์สามารถจดจำท่าทางของมนุษย์และคาดเดาท่าทางที่จะเกิดขึ้นต่อไปได้ สิ่งนี้ทำให้หุ่นยนต์รับรู้ถึงบริบทเพื่อให้เกิดการปฏิสัมพันธ์กับมนุษย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ระบบที่ถูกพัฒนาขึ้นมานั้นเป็นการทำงานด้วย AI ที่ต้องการกำลังในการประมวลผลที่ต่ำกว่าและมีชุดข้อมูลจำนวนน้อยกว่า Machine Learning ที่ใช้กันโดยทั่วไป โดยรูปแบบที่ใช้นั้นเป็น Machine Learning ที่เรียกว่า Transfer Learning ซึ่งเป็นการพัฒนาต่อยอดความรู้จากสิ่งที่เคยฝึกฝนก่อนที่จะประยุกต์เข้าสู่โมเดลการปฏิบัติการณ์จริง

เทคโนโลยีนี้นั้นเรียกว่าเดินหน้าไปไกลกว่าความต้องการ ISO ของความปลอดภัยสำหรับ Cobot ในปัจจุบัน การบูรณาการเทคโนโลยีจึงจำเป็นต้องมีข้อมูลจากการทำงานจริงในอุตสาหกรรม บริบทของการรับรู้นั้นทำให้ประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่มีในการทำงานเพิ่มขึ้นสำหรับการปฏิสัมพันธ์ระหว่างหุ่นยนต์กับมนุษย์ที่มากกว่า 1 มิติ

ตามมาตรฐาน ISO และข้อมูลทางเทคนิคนั้นเมื่อมนุษย์เข้าใกล้หุ่นยนต์ หุ่นยนต์จะต้องลดความเร็วลงและหากเข้าใกล้ถึงระยะที่กำหนดจะต้องหยุดการเคลื่อนไหว เมื่อมนุษย์เดินห่างออกไปจะกลับมาทำงาน ซึ่งการตอบสนองดังกล่าวถือเป็นการตอบสนองในบริบทระดับต่ำ

นักวิจัยได้ยกตัวอย่างการรับรู้บรบทของหุ่นยนต์โดยเปรียบเทียบกับยานยนต์อัตโนมัติที่จดจำระยะเวลาของไฟแดง แทนที่จะเบรคหรือลดเกียร์ลงระบบจะเริ่มปรับความเร็วในทิศที่วิ่งเข้าหาทางแยกโดยใช้เบรคและระบบขับเคลื่อนอย่างจำกัดเพื่อลดการสึกหรอ

ผลการทดลองที่เกิดขึ้นเห็นได้ชัดว่าหุ่นยนต์สามารถทำงานได้อย่างปลอดภัยมากยิ่งขึ้น และมีประสิทธิภาพมากกว่าเดิมโดยไม่ต้องทำให้กระบวนการผลิตชะลอลง โดยหนึ่งในการทดสอบที่เกิดขึ้นพบว่าเมื่อแขนกลถูกขัดขวางด้วยแขนมนุษย์โดยไม่ได้ตั้งใจหุ่นยนต์ไม่ได้หยุดทำงาน แต่กลับปรับการทำงานและคาดการณ์การเคลื่อนไหวของมือและแขนเพื่อเคลื่อนไหวไปรอบ ๆ การกีดขวางนั้น

ที่มา:
Kth.se

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง:
เทคโนโลยีตรวจจับเงา ทางเลือกใหม่ให้หุ่นยนต์รับรู้สัมผัสมนุษย์
Logo-Company
Logo-Company
Logo-Company
logo-company
Thossathip Soonsarthorn
"Judge a man by his questions rather than his answers" Voltaire
Automation Expo