Store Master - Kardex

Kick Off หยุดพัฒนาเครื่องยนต์ดีเซล ลดปัญหามลพิษ

Date Post
18.06.2018
Post Views

รองผู้ว่าฯ กทม.แจง เตรียมรับมือสังคมผู้สูงอายุ ชี้ชัดกทม.ประสบปัญหารถติด มลพิษสูง คาดทั่วโลกเตรียมหยุดพัฒนาเครื่องยนต์ดีเซล หวังลดมลพิษ เสริมทัพการบริหารจัดการด้วยเทคโนโลยีและดิจิทัล เพื่อยกระดับเป็นมหานครอัจฉริยะ และเป็นมหานครแห่งความปลอดภัย

คุณทวีศักดิ์ เลิศประพันธ์ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวปาฐกถาพิเศษ เรื่อง Smart Living เพื่อมหานครอัจฉริยะ ในงานซีเคียวเทค ไทยแลนด์ 2018 ว่า การพัฒนากรุงเทพมหานครให้เป็นมหานครอัจฉริยะหรือสมาร์ท เมโทร และเป็นมหานครแห่งความปลอดภัย หรือ เซฟ ซิตี้ (Safe City) โดยมุ่งเน้นการพัฒนา Smart Living หรือความเป็นอยู่ของประชาชนในด้านความปลอดภัย สุขภาพ และคุณภาพชีวิต โดยเฉพาะการเตรียมรับมือกับสังคมผู้สูงอายุในปี 2563 ซึ่งขณะนี้มีผู้สูงอายุที่ลงทะเบียนแล้ว 9.8 แสนคน คาดว่ากทม.มีผู้สูงอายุ 2 ล้านคน อีก 8 ปีข้างหน้าจะเพิ่มขึ้น 30% ดังนั้น การส่งเสริมให้มีการนำเทคโนโลยี Smart Health หรือการบริการด้านสุขภาพด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาใช้เพิ่มขึ้นก็เป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องทำไปพร้อมๆ กัน และการส่งเสริมให้มีการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในภาคประชาชนจะช่วยเติมเต็มช่องว่างสำหรับการดูแลผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยที่ขาดการดูแลอย่างใกล้ชิด

นอกจากนี้ คุณทวีศักดิ์ ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า กทม.ประสบปัญหารถติด เนื่องจากมีรถวิ่งอยู่บนท้องถนนประมาณ 9 ล้านคัน พบว่า ใน 1 ครอบครัวจะมีรถยนต์ 4 คัน จึงนำไปสู่ปัญหารถติดและมลพิษที่มาจากการสันดาปของเครื่องยนต์ ทั้งนี้ ต่างประเทศมีการพัฒนาเทคโนโลยีอย่างไม่หยุดนิ่ง เช่น สวีเดนได้มีการประกาศนโยบายออกมาว่าในปี 2025 รถทุกคันที่วิ่งบนท้องถนนต้องเป็น EV ขณะที่เยอรมนีได้ตั้งเป้าไว้เช่นกันว่ารถทุกคันต้องเป็น EV ในปี 2030 อย่างไรก็ตาม การที่จะพัฒนาเครื่องยนต์ได้นั้นต้องใช้เวลาประมาณ 7 ปี จึงจะคุ้มทุน คาดว่า 3-4 ปีข้างหน้าจะเริ่มมีการหยุดพัฒนาเครื่องยนต์ประเภทดีเซล เพราะต้องการลดการปล่อยมลพิษ

ทางด้าน ดร.ภาสกร ประถมบุตร รองผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA) กล่าวว่า การพัฒนาเมืองอัจฉริยะ (Smart City) มีเป้าหมายการพัฒนาเมืองเพื่อการอยู่อาศัยในอนาคต โดยใช้ดิจิทัลเข้ามาช่วยบริหารจัดการ และตรวจสอบให้เป็นเมืองมีประสิทธิภาพและเหมาะสมต่อการอยู่อาศัยในอนาคต DEPA ได้ตั้งเป้าหมายที่จะพัฒนา 77 พื้นที่ใน 77 จังหวัดเป็น Smart City ภายใน 5 ปี โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่มตามแผนแม่บทการพัฒนาอัจฉริยะ คือ เมืองน่าอยู่ หรือสมาร์ทซิตี้เมืองเดิม และเมืองใหม่อัจฉริยะ โดยใช้กลไกความร่วมมือจากการลงทุนของภาคเอกชนร่วมกับ BOI และการสนับสนุนของภาครัฐในการให้สิทธิประโยชน์สูงสุดเพื่อผลักดันสมาร์ทซิตี้ของประเทศไทยขึ้นสู่มาตรฐานสากล โดยจุดมุ่งหมายสำคัญ คือ ปี 2565 ประเทศไทยจะเป็นฮับของเมืองอัจฉริยะในภูมิภาค และมีเมืองได้รับรางวัลในระดับสากล

สำหรับงานซีเคียวเทค ไทยแลนด์ 2018 ภายใต้แนวคิด Smart City Safe City จัดโดยบริษัท เมสเซ่ แฟรงค์เฟิร์ต นิว เอร่า บิสิเนส มีเดีย จำกัด และบริษัท เวิลด์เด็กซ์ จี.อี.ซี. จำกัด ซึ่งจะระหว่างวันที่ 8-10 พฤศจิกายน 2561 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา

Logo-Company
Logo-Company
Logo-Company
logo-company
MMThailand
"This is example bio for author can be change at user profile in wordpress" --TEST