Intelligent Asia Thailand 2025
โซลาร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริดเขื่อนสิรินธร จ่ายไฟเชิงพาณิชย์แล้ว
โซลาร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริดเขื่อนสิรินธร จ่ายไฟเชิงพาณิชย์แล้ว

โซลาร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริดเขื่อนสิรินธร จ่ายไฟเชิงพาณิชย์แล้ว

Date Post
03.11.2021
Post Views

โซลาร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริดเขื่อนสิรินธร จ่ายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์แล้ว  กฟผ. เตรียมดันเป็นแหล่งท่องเที่ยวใหม่ของ จ.อุบลราชธานี รับนักท่องเที่ยวต้นปี 65 พร้อมลุยต่อโครงการใหม่อีก 15 แห่งทั่วประเทศ รวม 2,725 เมกะวัตต์ 

โซลาร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริดเขื่อนสิรินธร จ่ายไฟเชิงพาณิชย์แล้ว

นายบุญญนิตย์ วงศ์รักมิตร ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เปิดเผยว่า โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทุ่นลอยน้ำร่วมกับโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนสิรินธร จ.อุบลราชธานี (Hydro-floating Solar Hybrid) หรือ โรงไฟฟ้าโซลาร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริดเขื่อนสิรินธร ขนาดกำลังผลิต 45 เมกะวัตต์ เริ่มจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์แล้ว วันที่ 31 ตุลาคม 2564 ช่วยเสริมความมั่นคงทางพลังงานของประเทศ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ประมาณ 47,000 ตัน/ปี ตอบโจทย์พลังงานสะอาดช่วยลดภาวะโลกร้อน โดยจัดพิธีเปิดวันจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ (COD) มีนายสรา สุวรรณรัตน์ ผู้อำนวยการฝ่ายสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานประจำเขต 5 (อุบลราชธานี) นายธนกร สอนอาจ พลังงานจังหวัดอุบลราชธานี นายวันชัย โภชธิหรรษา ผู้จัดการโครงการฯ บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) บริษัทคู่สัญญา และผู้บริหาร กฟผ. ร่วมพิธี ณ ห้องประชุมอาคารช้างน้อย เขื่อนสิรินธร จ.อุบลราชธานี

Automation Expo

ยืดอายุการใช้งานให้มอเตอร์ในสายการผลิตของคุณด้วย Soft Starter | SIEMENS [Super Source]

พร้อมกันนี้ กฟผ. ยังให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับชุมชน โดยเตรียมเปิดตัวโรงไฟฟ้าแห่งนี้ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของ จ.อุบลราชธานี เปิดให้ประชาชนทั่วไปเข้าชมได้ตั้งแต่เดือนมกราคม 2565 เป็นต้นไป ซึ่งจะสามารถช่วยสร้างอาชีพ เสริมรายได้ ให้กับชุมชน ทำให้ชุมชนพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน และยังช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของจังหวัดในภาพรวมอีกด้วย

จากผลสำเร็จครั้งนี้ กฟผ. เตรียมเดินหน้าโครงการต่อไปที่เขื่อนอุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น ขนาดกำลังผลิต 24 เมกะวัตต์ และพื้นที่เขื่อนอื่น ๆ ของ กฟผ. อีก 15 โครงการทั่วประเทศ รวม 2,725 เมกะวัตต์ เพื่อเร่งผลักดันให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมายการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิเป็นศูนย์ ก้าวสู่สังคมคาร์บอนต่ำได้อย่างยั่งยืน

ทั้งนี้ โรงไฟฟ้าโซลาร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริดเขื่อนสิรินธรขนาดใหญ่ที่สุดในโลก มีจุดเด่นที่สามารถผลิตไฟฟ้าจากทั้งพลังงานแสงอาทิตย์ในเวลากลางวัน และพลังน้ำจากเขื่อนที่มีอยู่เดิม มาผลิตไฟฟ้าในช่วงที่ไม่มีแสง หรือเสริมความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุดในช่วงค่ำ โดยนำระบบ EMS (Energy Management System) ร่วมกับระบบพยากรณ์อากาศ (Weather Forecast System) มาควบคุมและบริหารจัดการ เพื่อช่วยเพิ่มเสถียรภาพให้กับระบบผลิตไฟฟ้า ทำให้สามารถผลิตไฟฟ้าได้ยาวนานขึ้น ลดข้อจำกัดของพลังงานหมุนเวียน ในอนาคต กฟผ. เตรียมสร้างศูนย์ควบคุมพลังงานหมุนเวียน (RE Control Center) โดยนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) เข้ามาเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าให้มากขึ้น

โรงไฟฟ้าฯ ติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์แบ่งออกเป็น 7 ชุด บนพื้นที่ผิวน้ำในเขื่อนไม่ถึงร้อยละ 1 ของพื้นที่อ่างเก็บน้ำทั้งหมด โดยเลือกใช้แผงโซลาร์เซลล์และทุ่นลอยน้ำที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมทั้งหมด ไม่ส่งผลกระทบกับระบบนิเวศใต้น้ำ นอกจากนี้ ยังใช้ระบบส่งไฟฟ้า อุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ รวมถึงพื้นที่ผิวน้ำในเขื่อนเขื่อนสิรินธรที่มีอยู่เดิมให้เกิดประโยชน์สูงสุดเต็มประสิทธิภาพ ช่วยลดต้นทุนและค่าใช้จ่ายลงได้ ทำให้ต้นทุนค่าไฟฟ้ามีราคาต่ำ โดยวางแผงโซลาร์เซลล์ให้มีมุมเอียง มีช่องว่างระหว่างแผงและทุ่นลอยน้ำ แสงแดดสามารถลอดผ่านลงในน้ำได้ จึงไม่กระทบกับระบบนิเวศใต้น้ำ และการนำแผงโซลาร์เซลล์วางบนผิวน้ำ จะช่วยลดความร้อนของแผงโซลาร์เซลล์ ทำให้มีประสิทธิภาพในการผลิตไฟฟ้าดีกว่าการติดตั้งบนบกถึงร้อยละ 10 – 15 ทั้งยังช่วยลดการระเหยของน้ำในเขื่อนได้ประมาณ 460,000 ลูกบาศก์เมตร/ปี

Logo-Company
Logo-Company
Logo-Company
logo-company
Nichaphan W.
การตลาดและประชาสัมพันธ์
Intelligent Asia Thailand 2025